Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/480
Title: การพัฒนาดัชนีชี้วัดสุขภาพของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น
Other Titles: Development of health indicators for lower secondary school students
Authors: วราพรรณ วงษ์จันทร์, 2515-
Advisors: เอมอัชฌา วัฒนบุรานนท์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Aimutcha.W@Chula.ac.th
Subjects: เครื่องชี้ภาวะสุขภาพ
นักเรียนมัธยมศึกษา
เทคนิคเดลฟาย
Issue Date: 2547
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างดัชนีชี้วัดสุขภาพของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น โดยใช้เทคนิคเดลฟาย ผู้วิจัยได้รวบรวมความคิดเห็นจากผู้เชี่ยวชาญทางด้านสุขศึกษาหรือด้านสุขภาพ จำนวน 17 ท่าน โดยใช้แบบสอบถามที่สร้างขึ้นจำนวน 3 รอบ แล้วนำมาคำนวณหาค่ามัธยฐาน ฐานนิยม ค่าความแตกต่างระหว่างมัธยฐานกับฐานนิยม และค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ แล้วนำมาสรุปหาฉันทามติของกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ ผลการวิจัยที่สำคัญสรุปได้ดังนี้ 1. ดัชนีชี้วัดสุขภาพของนักเรียนในด้านสุขภาพกายที่ได้รับ ฉันทามติ มีจำนวน 16 ดัชนี ได้แก่ มีน้ำหนักตามเกณฑ์มาตรฐาน มีส่วนสูงตามเกณฑ์มาตรฐาน มีสุขภาพเหงือกและฟันที่ดี มีการมองเห็นเป็นปกติ มีการได้ยินเป็นปกติ ไม่ใช้สารเสพติด มีบุคลิกภาพที่ดีเหมาะสมกับเพศและวัย มีการเจริญเติบโต และพัฒนาการทางเพศตามวัย มีความสามารถในการปฏิบัติตนให้ปลอดภัยจากโรค มีความสนใจในการปฏิบัติตนให้มีสุขภาพดีอย่างสม่ำเสมอ มีการดูแลรักษาร่างกายให้สะอาดอยู่เสมอ มีการตรวจสุขภาพปีละ 1 ครั้ง ไม่เจ็บป่วยบ่อยๆ หรือเรื้อรัง มีการออกกำลังกายเป็นประจำ อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้ง มีระดับชีพจรปกติ ประมาณ 60-100 ครั้ง/นาที และมีระดับความดันโลหิตปกติ ประมาณ 80-120 มิลลิเมตรปรอท 2. ดัชนีชี้วัดสุขภาพของนักเรียนในด้านสุขภาพที่ได้รับฉันทามติ มีจำนวน 16 ดัชนี ได้แก่ มีอามรณ์ดี ยิ้มแย้มแจ่มใส มีการมองโลกในแง่ดี มีพัฒนาการทางอารมณ์ตามวัย มีความพอใจในสิ่งที่ตนมีอยู่ มีการตัดสินใจอย่างมีเหตุผล มีความภาคภูมิใจในตนเอง มีการแสดงออกได้อย่างเหมาะสม เมื่อมีปัญหาหรือความเครียด มีความเอื้ออาทรต่อผู้อื่น มีการยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น มีการปรึกษา พ่อ แม่ ครู เมื่อมีปัญหาไม่สบายใจ มีการให้อภัยในความผิดพลาดของผู้อื่น มีสติรอบคอบในการทำกิจกรรมต่างๆ มีสมาธิในการเรียนหรือทำกิจกรรม มีการควบคุมอารมณ์ตนเองได้อย่างเหมาะสม มีความสามารถในการเผชิญกับความจริงได้อย่างเหมาะสม และมีการยอมรับการเปลี่ยนแปลง และพัฒนาการทางร่างกายและจิตใจ 3. ดัชนีชี้วัดสุขภาพของนักเรียนในด้านสุขภาพทางสังคมที่ได้รับฉันทามติ มีจำนวน 13 ดัชนี ได้แก่ มีความเอื้อเฟื้อต่อผู้อื่น มีความสุภาพ อ่อนน้อม มีทักษะการสื่อสารทางบวกในเรื่องสุขภาพ มีการปรับตัวเข้ากับเพื่อนและสังคมได้ดี มีค่านิยมที่ดีในเรื่องสุขภาพ มีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพและสิ่งแวดล้อมในชุมชน มีทักษะการปฏิเสธในสิ่งที่ไม่ถูกต้องในเรื่องสุขภาพ มีการยอมรับจากเพื่อนและสังคม มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี มีความกล้าแสดงออกที่ถูกต้องและเหมาะสมในเรื่องสุขภาพ มีความรับผิดชอบต่อสุขภาพของตนเอง ครอบครัวและสังคม มีความสามารถในการเป็นทั้งผู้รับและผู้ให้ความรัก และมีการแสดงออกตามข้อกำหนดของสังคม
Other Abstract: The objective of this research was to create health indicators for lower secondary school students by using the Delphi technique. The 17 experts were purposively selected from all health education or health experts. The constructed questionnaire was used to gather data from the experts in 3 rounds. Median, modes and interquatile ranges were utilized for interpretation of the data. The major findings were as follows: 1. Sixteen physical health indicators were experts' consensus, those indictors were meeting body weight and height standards; good oral health ; normal vision and hearing ; not using illicit drugs ; having a good personality ; growth and development according to sex maturity ; good self health care ; regular health concern ; good body health care interest ; health check up once per year ; no chronic disease ; exercise three times per week at least ; pulse rate 60-100 times per minute and blood pressure 80-120 mmHg. 2. Sixteen mental health indicators were experts' consensus, those indicators were enjoyment ; optimisim ; normal emotional development according to maturity ; satisfaction ; making right decision ; being proud of one’s self ; positive expression when facing problems or in serious situations ; caring to others ; accepting other people’s opinions ; consulting parents or teachers when confronted with problems ; forgiveness ; concentration during activities and studies ; self emotional control ; ability to face the fact and acceptance of physical and mental changes. 3. Thirteen social health indicators were experts' consensus, those indicators were generosity to others ; being polite and modest ; positive health carte and environment in the community ; having life refusing skills to wrong health practices ; having friends and social acceptance ; good human relationships ; good expression ; having responsibility in one’s health, family and society ; ability in giving and taking oneself's feeling of love and expression according to social norms.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สุขศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/480
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2004.316
ISBN: 9745322342
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2004.316
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Waraphan.pdf1.2 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.