Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48238
Title: การเปรียบเทียบการตัดสินความดึงดูดใจจากรูปลักษณะภายนอก และคุณลักษณะภายในของบุคคลระหว่างผู้ที่มีการกำกับการแสดงออก ของคนสูงและต่ำ
Other Titles: A comparison of the judgement of the attractiveness from exterior and interior personal attributes between high and low self-monitoring persons
Authors: ศิริณี ลิขิตวนิชกุล
Advisors: โยธิน ศันสนยุทธ
จรุงกุล บูรพวงศ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Jarungkul.B@chula.ac.th
Issue Date: 2536
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความแตกต่างของการตัดสินความดึงดูดใจจากรูปลักษณะภายนอกและคุณลักษณะภายในของบุคคลระหว่างผู้ที่มีการกำกับการแสดงออกของตนสูงและต่ำเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสำรวจการกำกับการแสดงออกของตน (SMS) ที่นิตยา รัตนพิชิต (2533) พัฒนาตามแนวทฤษฎีการกำกับการแสดงออกของตนของ Mark Snyder และภาพบุคคลประกอบกับข้อมูลบุคคลซึ่งผู้วิจัยพัฒนาตามแนวงานวิจัยของ Snyder, Bercheid, and Glick (1985) การวิจัยจำแนกเป็น 2 การทดลอง คือ การทดลองที่1 เป็นการเปรียบเทียบการใช้เวลาในการพิจารณาความดึงดูดใจและการตัดสินความดึงดูดใจจากรูปลักษณะภายนอกและคุณลักษณะภายในของบุคคล การทดลองที่ 2 เป็นการเปรียบเทียบการตัดสินความดึงดูดใจจากรูปลักษณะภายนอกและคุณลักษณะภายในของบุคคลเมื่อมีลักษณะไม่น่าพึงปรารถนาบางประการ ผลการวิจัยพบว่าผู้ที่มีการกำกับการแสดงออกของตนสูงและต่ำตัดสินความดึงดูดใจจากรูปลักษณะภายนอกและคุณลักษณะภายในของบุคคลแตกต่างกันดังนี้ การทดลองที่ 1 1. ผู้ที่มีการกำกับการแสดงออกของตนสูงใช้เวลาในการพิจารณาความดึงดูดใจจากรูปลักษณะภายนอกของบุคคลนานกว่าผู้ที่มีการกำกับการแสดงออกของตนต่ำอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<.001) 2. ผู้ที่มีการกำกับการแสดงออกของตนต่ำใช้เวลาในการพิจารณาความดึงดูดใจจากคุณลักษณะภายในของบุคคลนานกว่าผู้ที่มีการกำกับการแสดงออกของตนสูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<.001) 3. ผู้ที่มีการกำกับการแสดงออกของตนสูงตัดสินความดึงดูดใจจากรูปลักษณะภายนอกของบุคคลมากกว่าผู้ที่มีการกำกับการแสดงออกของตนต่ำและผู้ที่มีการกำกับการแสดงออกของตนต่ำตัดสินความดึงดูดใจจากคุณลักษณะภายในของบุคคลมากกว่าผู้ที่มีการกำกับการแสดงออกของตนสูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<.01) การทดลองที่ 2 1. ผู้ที่มีการกำกับการแสดงออกของตนสูงตัดสินความดึงดูดใจจากรูปลักษณะภายนอกของบุคคลแม้จะมีคุณลักษณะภายในไม่น่าพึงปรารถนามากกว่าผู้ที่มีการกำกับการแสดงออกของตนต่ำและผู้ที่มีการกำกับการแสดงออกของตนต่ำตัดสินความดึงดูดใจจากคุณลักษณะภายในของบุคคลแม้จะมีรูปลักษณะภายนอกไม่ดึงดูดใจมากกว่าผู้ที่มีการกำกับการแสดงออกของตนสูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(P<.01)
Other Abstract: The purpose of this research was to compare the judgement of the attractiveness from exterior and interior personal attributes between high and low self-monitoring persons (HSM and LSM persons). The instrument was composed of a) Self-Monitoring Scale developed by Nittaya Rattanapichit (1990) based on Mark Snyder’s theory. b) Stimulus material consisted of personal photographs together with personal informations based on Snyder, Berscheid, and Glick (1985). In the first experiment, the amount of time HSM and LSM persons spent judging the attractiveness of the stimulus material were compared. The subjects’ judgement of attractiveness from either exterior or interior personal attributes were also recorded. In the second experiment, comparisons were made of the judgement of the attractiveness HSM and LSM persons made when presented with desirable or undesirable exterior and interior personal attributes. The results are as follows:- Experiment 1: 1. HSM persons spend significantly more time looking at exterior personal attributes than LSM persons. (P<.001) 2. LSM persons, however, spend significantly more time looking at interior personal attributes than HSM persons. (P<.001) 3. HSM persons also make judegment based on exterior personal attributes significantly more often than LSM persons while LSM persons based it significantly more often on interior personal attributes than HSM persons. (P<.01) Experiment 2: 1. HSM persons base their judgement of the attractiveness on desirable exterior despite undesirable interior personal attributes significantly more often than LSM persons while LSM persons base their judgement on desirable interior despite undesirable exterior personal attributes significantly more often than HSM persons. (P<.01)
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2536
Degree Name: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: จิตวิทยาสังคม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48238
ISBN: 9745828033
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sirinee_li_front.pdf1.55 MBAdobe PDFView/Open
Sirinee_li_ch1.pdf3.43 MBAdobe PDFView/Open
Sirinee_li_ch2.pdf2.93 MBAdobe PDFView/Open
Sirinee_li_ch3.pdf3.25 MBAdobe PDFView/Open
Sirinee_li_ch4.pdf1.77 MBAdobe PDFView/Open
Sirinee_li_ch5.pdf977.12 kBAdobe PDFView/Open
Sirinee_li_back.pdf4.64 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.