Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48391
Title: | ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ลักษณะงาน ประสบกาณ์ในการทำงาน บทบาททางวิชาชีพกับความยึดมั่นผูกพันต่อองค์การ ของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลของรัฐ กรุงเทพมหานคร |
Other Titles: | Relationships between personal factors, job characteristics, work experiences, professional roles, and organizational commitment of professional nurses in governmental hospitals, Bangkok Metropolis |
Authors: | สอาด วงศ์อนันต์นนท์ |
Advisors: | พนิดา ดามาพงศ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Advisor's Email: | Panida.D@Chula.ac.th |
Subjects: | พยาบาล ความผูกพันต่อองค์การ การทำงาน -- แง่จิตวิทยา |
Issue Date: | 2538 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนั้นมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ลักษณะงานประสบการณ์ในการทำงาน และบทบาททางวิชาชีพ กับความยึดมั่นผูกพันต่อองค์การ ของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลของรัฐกรุงเทพมหานคร ศึกษาปัจจัยที่เป็นตัวทำนายความยึดมั่นผูกพันต่อองค์การของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลของรัฐ กรุงเทพมหานคร ตัวอย่างประชากรที่ศึกษาเป็นพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลของรัฐกรุงเทพมหานคร 8 แห่ง จำนวน 380 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามซึ่งผู้วิจัยพัฒนาจากวรรณคดีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์ถดถอยพหุคุณแบบเพิ่มหรือลดตัวแปรเป็นขั้น ๆ ผลการวิจัยพบว่า 1. อายุ ระยะเวลาที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาล ความมีอิสระในการทำงาน ความหลากหลายของงาน ความมีเอกลักษณ์ของงาน ความสำคัญของงาน ผลป้อนกลับของงาน ความรู้สึกว่าตนมีความสำคัญต่อองค์การ ความรู้สึกว่าองค์การเป็นที่พึ่งพิงได้ ความคาดหวังได้รับการตอบสนองจากองค์การ ทัศนคติต่อเพื่อนร่วมงานและองค์การ มีความสัมพันธ์ทางบวกกับความยึดมั่นผูกพันต่อองค์การ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ความขัดแย้งในบทบาท และความคลุมเครือในบทบาทมีความสัมพันธ์ทางลบกับความยึดมั่นผูกพันต่อองค์การ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 2. กลุ่มตัวแปรที่สามารถร่วมกันทำนายความยึดมั่นผูกพันต่อองค์การได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .001 มี 6 ตัวแปร คือ ความคาดหวังได้รับการตอบสนองจากองค์การ ความรู้สึกว่าองค์การเป็นที่พึ่งพิงได้ ความคลุมเครือในบทบาท อายุ ทัศนคติต่อเพื่อนร่วมงานและองค์การ และความมีอิสระในการทำงาน สามารถอธิบายความผันแปรของความยึดมั่นผูกพันต่อองค์การได้ร้อยละ 52.49 (R2 = .5249) ได้สมการทำนายดังต่อไปนี้ Y = 26.1982 + .6547 ความคาดหวังได้รับการตอบสนองจากองค์การ + .6988 ความรู้สึกว่าองค์การเป็นที่พึ่งพิงได้ - .3293 ความคลุมเครือในบทบาท + .3489 อายุ + .1172 ทัศคติต่อเพื่อนร่วมงานและองค์การ + .2291 ความมีอิสระในการทำงาน (สมการในรูปคะแนนดิบ) Z = .3144 ความคาดหวังได้รับการตอบสนองจากองค์การ + .2891 ความรู้สึกว่าองค์การเป็นที่พึ่งพึงได้ - .1834 ความคลุมเครือในบทบาท + .1380 อายุ + .1126 ทัศนคติต่อผู้ร่วมงานและองค์การ + .0986 ความมีอิสระในการทำงาน (สมการในรูปคะแนนมาตรฐาน) |
Other Abstract: | The purposes of this research were to study the relationships between Personal factors, Job characteristics, Work experiences, Professional roles, and Organizational commitment of professional nurses in governmental hospitals, Bangkok Metropolis and to search for the variables which can predict organizational commitment of professional nurses. The predictors were Personal factors, Job characteristics, Work experiences and Professional roles. The research subjects consisted of 380 professional nurses, randomly selected through multistage sampling technique. The instrument was developed by the investigator which has been tested for content validity and realiability. The data were analyzed by suing Stepwise multiple reqression analysis. The major findings were as follows : 1. Age, tenure, autonomy, skill variety, task identity, task significance, job feedback, personal importance, organizational dependability, met expectation, group attitudes were positively related to organizational commitment at significant of .05 level, while role conflict and role ambiguity were negatively related to organizational commitment, at significant of .05 level. 2. Factors significantly predicted organizational commitment as perceived by professional nurses in governmental hospitals were met expectations, organizational dependability, role ambiguity, age, group attitudes and autonomy at the .001 level. These predictors accounted for 52.49 (R2 = .5249) of the varience. The function derived from the analysis were as follows : Y = 26.1982 + .6547 Met expectations + .6988 Organizational dependability - .3293 Role ambiguity + .3489 Age + .1172 Group attitudes + .2291 Autonomy (Row Scores) Z = .3144 Met expectations + .2891 Organizational dependability - .1834 Role ambiguity + .1380 Age + .1126 Group attitudes + .0986 Autonomy (Standardized Scores) |
Description: | วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2538 |
Degree Name: | พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | การบริหารการพยาบาล |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48391 |
ISBN: | 9746315439 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Saard_wo_front.pdf | 7.3 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Saard_wo_ch1.pdf | 9.4 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Saard_wo_ch2.pdf | 4.75 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Saard_wo_ch3.pdf | 5.85 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Saard_wo_ch4.pdf | 8.91 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Saard_wo_ch5.pdf | 12.52 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Saard_wo_back.pdf | 4.52 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.