Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48550
Title: การศึกษาสภาพและปัญหาการใช้หลักสูตรประถมศึกษา พุทธศักราช 2521 ในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดกระบี่
Other Titles: A study of states and problems of implementation of the national elementary school curriculm B.E. 2521 in primary schools under the jurisdiction of the Office of Krabi Provincial Primary Education
Authors: วาสนา ณ นคร
Advisors: บุญมี เณรยอด
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Boonmee.n@chula.ac.th
Subjects: หลักสูตร
การศึกษาขั้นประถม -- หลักสูตร
กิจกรรมการเรียนการสอน
หลักสูตร -- การวางแผน
กิจกรรมเสริมหลักสูตร
การสอน
Issue Date: 2533
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาการใช้หลักสูตรประถมศึกษา พุทธศักราช 2521 ในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษา จังหวัดกระบี่ ผู้วิจัยได้ส่งแบบสอบถามไปยังผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอน จำนวนทั้งสิ้น 572 ฉบับ ได้รับกลับคืนมา 546 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 95.45 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ผลการวิจัยครั้งนี้พบว่า 1. ด้านการแปลงหลักสูตรไปสู่การสอน โรงเรียนประถมศึกษาส่วนใหญ่มีการวางแผนการใช้หลักสูตรโดยการประชุมชี้แจงให้ครูเข้าในใจเรื่องของหลักสูตร ผู้บริหารโรงเรียนและครูร่วมกันจัดทำแผนงานโครงการของโรงเรียน มีการสำรวจความต้องการของครูเกี่ยวกับเอกสารหลักสูตรและสื่อ มีการจัดทำบันทึกการสอนโดยครูผู้สอน ส่วนปัญหาที่ประสบได้แก่ ขาดงบประมาณสนับสนุนเอกสารหลักสูตรและสื่อไม่เพียงพอกับความต้องการ ครูขาดความรู้และทักษะในการสร้างสื่อ 2. ด้านการจัดปัจจัยและสภาพแวดล้อมต่างๆ เพื่อการใช้หลักสูตร โรงเรียนประถมศึกษา ส่วนใหญ่มีการเตรียมการก่อนจัดครูเข้าสอน โดยการสำรวจความสมัครใจของครู มีการจัดสรรงบประมาณเพื่อการใช้หลักสูตรตามลักษณะแผนงาน โครงการและกิจกรรม มีการประชุมปฏิบัติการเพื่อผลิตเอกสารและสื่อ โดยใช้วัสดุในท้องถิ่น วิธีการนิเทศที่ใช้คือ การเยี่ยมชั้นเรียน มีการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตร โดยพิจารณาจากความพร้อมของโรงเรียน ประชาสัมพันธ์การใช้หลักสูตรโดยการเชิญผู้ปกครอง เข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมของโรงเรียน ในส่วนที่เป็นปัญหาคือ ครูไม่มีเวลาเตรียมตัวเนื่องจากมีงานอื่นต้องรับผิดชอบมาก ไม่ได้รับการนิเทศจากศึกษานิเทศก์อำเภออย่างต่อเนื่อง และประชาชนไม่ให้ความร่วมมือ 3. ด้านการจัดการเรียนการสอน พบว่า โรงเรียนส่วนใหญ่มีการวางแผนการสอนโดยการประชุมครู พัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนโดยการนิเทศภายใน และการสอนซ่อมเสริม สิ่งที่ครูใช้พิจารณาเลือกเทคนิคและวิธีสอนคือ จุดประสงค์การเรียนรู้ โรงเรียนนำผลของการประเมินไปใช้ในการปรับปรุงมาตรฐานการจัดการเรียนการสอน และการจัดสอนซ่อมเสริม สำหรับปัญหาที่พบคือ ครูต้องสอนวิชาที่ตนไม่ถนัด ครูขาดแหล่งข้อมูลเกี่ยวกับเทคนิคและวิธีสอน ครูไม่มีเวลาพอสำหรับการสร้างเครื่องมือวัดจุดประสงค์ และครูขาดความชำนาญในการวัดผลการปฏิบัติ
Other Abstract: The purposes of this research were to study the states and problems of implementation of the National Elementary School Curriculum B.E. 2521 in primary schools under the jurisdiction of the Office of Krabi Provincial Primary Education. Five hundred and seventy-two questionnaires were distributed to the school administrators and teachers bywhich 546 , or 95.45 percent were completed and returned. Data were analyzed by using percentage. Research findings were as follows: With regards to curriculum management the results showed that most primary schools had their curriculum organizing planned through teachers meetings by which school administrators and teachers planned together. Teacher's need assessment concerning curriculum documents and medias were conducted also lesson plans were developed among teachers. However, lack of budget, insufficient amount of curriculum documents and medias, and in appropriated knowledge and skills related to instructional medias producing among teachers were reported to be problems. Concerning curriculum facilities providing they were reported that most primary schools surveyed teachers' preferences prior to assigning them to teach, budget was distributed according to school curriculum implementation plans. Workshops on curriculum documents and medias by using local materials were promoted while supervisory technique used was a classroom visiting whereas an extra-curriculum was organized according to school readiness. Parents participations in school activities were conducted as means of public informing. Problems found were teachers had insufficient time due to other responsibilities, irregular supervised by educational district supervisors, and public unco-operated. Regarding to instructional organization the findings revealed that most schools had their instructional planned through teachers meetings. Instructional activities were developed through organizational supervision and remedial teaching. Teaching techniques were choosen according to learning objectives while the results were used for instructional development and remedial teaching organization. However, inappropriated teaching assignment, lack of information concerning teaching techniques, also insufficient time for tests construction and lack of skill in administering tests related to practiced subjects among teachers were among problems reported.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2533
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: บริหารการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48550
ISBN: 9745772461
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Wasna_na_front.pdf1.66 MBAdobe PDFView/Open
Wasna_na_ch1.pdf1.47 MBAdobe PDFView/Open
Wasna_na_ch2.pdf6.6 MBAdobe PDFView/Open
Wasna_na_ch3.pdf719.08 kBAdobe PDFView/Open
Wasna_na_ch4.pdf7 MBAdobe PDFView/Open
Wasna_na_ch5.pdf3.15 MBAdobe PDFView/Open
Wasna_na_back.pdf4.97 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.