Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48569
Title: ผลของการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแบบกลุ่มที่มีต่อการลดพฤติกรรมก่อกวน ในชั้นเรียนของนักเรียน
Other Titles: Effects of group counseling on decreasting the disruptive classroom behavior of students
Authors: รัชนี ตันติเสวี
Advisors: โสรีช์ โพธิแก้ว
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Psoree@chula.ac.th
Subjects: การให้คำปรึกษาแบบกลุ่ม -- ไทย
การก่อกวนชั้นเรียน
การปรับพฤติกรรม
Issue Date: 2533
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแบบกลุ่มที่มีต่อการลดพฤติกรรมก่อกวนในชั้นเรียนของนักเรียน โดยมีสมมติฐานว่า พฤติกรรมก่อกวนชั้นเรียนของนักเรียนที่ได้รับการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแบบกลุ่มจะลดลง และในระยะติดตามผล กลุ่มทดลองมีพฤติกรรมก่อกวนในชั้นเรียนลดน้อยลงกว่ากลุ่มควบคุม กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จากโรงเรียนอุดรพิทยานุกูล อ.เมือง จ.อุดรธานี ซึ่งสมัครใจและเต็มจเข้าร่วมการทดลอง จำนวน 12 คน สุ่มเป็นกลุ่มทดลอง 6 คน และ กลุ่มควบคุม 6 คน นักเรียนกลุ่มทดลองเข้าร่วมการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแบบกลุ่มเป็นระยะเวลา 10 วัน ติดต่อกันวันละประมาณ 1 ชั่วโมง โดยมีผู้วิจัยเป็นผู้นำกลุ่ม การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองแบบมีกลุ่มควบคุมซึ่งมีการทดสอบก่อนและหลังการทดลอง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ ใช้การบันทึกพฤติกรรมแบบช่วงเวลาในการวิเคราะห์ข้อมูล ทดสอบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยร้อยละของจำนวนครั้งของช่วงเวลาของพฤติกรรมก่อกวนในชั้นเรียนของนักเรียนกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม โดยการทดสอบค่าทีผลการวิจัยพบว่าในระยะติดตามผล พฤติกรรมก่อนกวนในชั้นเรียนของนักเรียนกลุ่มทดลองซึ่งได้รับบริการการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแบบกลุ่มลดต่ำลงกว่าในระยะเส้นฐาน และในระยะยติดตามผล พฤติกรรมก่อกวนในชั้นเรียนของนักเรียนกลุ่มทดลองลดต่ำลงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
Other Abstract: The purpose of this research was to study the effects of group counseling on decreasing the disruptive classroom behaviors of the students. The hypothesis tested was that disruptive classroom behavior of the students participating in group counseling would decrease significantly. And during the follow up period, the disruptive behavior of the experimental group would decreased significantly. The sample was 12 Mathayom Suksa 2 students from Udorapittayanukul School who volunteered to participate in the experiment and were randomly assigned to the control group and the experimental group of 6 students each. The experimental group participated in group counseling for a period of as hour per day for 10 days. The group leader was the researcher. The experimental research design was the pre-test post-test control group model. Data were collected through the time interval observation schedule of disruptive classroom behavior. The statistical method for data analysis was the t-test. Results of the research show that during the follow up period, disruptive behavior of the experimental group decreased significantly less than those during the baseline period and disruptive behavior of the experimental group decreased significantly less than those of the control group at .01.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2533
Degree Name: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48569
ISBN: 9745771961
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Rachanee_ta_front.pdf1.87 MBAdobe PDFView/Open
Rachanee_ta_ch1.pdf4.69 MBAdobe PDFView/Open
Rachanee_ta_ch2.pdf2.68 MBAdobe PDFView/Open
Rachanee_ta_ch3.pdf1.9 MBAdobe PDFView/Open
Rachanee_ta_ch4.pdf942.05 kBAdobe PDFView/Open
Rachanee_ta_ch5.pdf731.67 kBAdobe PDFView/Open
Rachanee_ta_back.pdf9.87 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.