Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48790
Title: การวิเคราะห์หลักสูตรการฝึกหัดครูประกาศนียบัตรวิชาการศึกษาชั้นสูง สายการประถมศึกษา พุทธศักราช 2524
Other Titles: An analysis of the teacher education curriculum B.E. 2524 : the program of higher certificate in elementary education
Authors: สงวนศักดิ์ เดชคง
Advisors: สวัสดิ์ จงกล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: การฝึกหัดครู -- หลักสูตร
Issue Date: 2529
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อศึกษาความสอดคล้องระหว่างองค์ประกอบต่าง ๆ ที่กำหนดในหลักสูตรการฝึกหัดครู ป.กศ. ชั้นสูง สายการประถมศึกษา พ.ศ. 2524 2. เพื่อหาสมรรถภาพที่คาดหวังจากผู้สำเร็จการศึกษาจากหลักสูตรการฝึกหัดครู ป.กศ. ชั้นสูง สายการประถมศึกษา พ.ศ. 2524 วิธีดำเนินการวิจัย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นผู้บริหารที่เกี่ยวข้องกับการใช้หลักสูตร จำนวน 124 คน ได้แก่ หัวหน้าคณะวิชาครุศาสตร์ จำนวน 31 คน หัวหน้าคณะวิชาวิทยาศาสตร์ จำนวน 31 คน หัวหน้าคณะ วิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ จำนวน 31 คน และหัวหน้าภาควิชาหลักสูตรและการสอน จำนวน 31 คน และผู้ใช้หลักสูตร ซึ่งเป็นอาจารย์ผู้สอนหน่วยประสบการณ์ต่าง ๆ จำนวน 1,085 คน รวมเป็นกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 1,209 คน ผู้วิจัยรวบรวมข้อมูลโดยการให้กลุ่มตัวอย่างตอบแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ซึ่งมีทั้งคำถาม แบบสำรวจรายการ แบบมาตราส่วนประมาณค่า และคำถามปลายเปิด แล้ววิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน สรุปผลการวิจัย องค์ประกอบต่าง ๆที่กำหนดในหลักสูตรการฝึกหัดครู ป.กศ. ชั้นสูง สายการประถมศึกษา พ.ศ. 2524 มีความสอดคล้องภายใน โดยผู้บริหารเกี่ยวข้องกับการใช้หลักสูตรมีความเห็นว่าหลักการของหลักสูตรมีความเหมาะสมในระดับมาก วัตถุประสงค์ของหลักสูตรมีความเหมาะสมในระดับมากงานต่าง ๆ ในโครงสร้างของหลักสูตรมีความเหมาะสมในระดับมาก โดยงานสอน งานกิจการนักเรียน งานแนะแนว และงานพัฒนาตน สอดคล้องกับหลักการของหลักสูตรในระดับมากตามลำดับ ส่วนงานธุรการ และงานพัฒนาสังคม สอดคล้องกับหลักการของหลักสูตรในระดับปานกลางตามลำดับ ส่วนงานธุรการ และงานพัฒนาสังคม สอดคล้องกับหลักการของหลักสูตรสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของหลักสูตรเป็นส่วนใหญ่ ยกเว้นวัตถุประสงค์ของหลักสูตรที่กล่าวว่า “เพื่อให้เป็นผู้ที่มีความสามารถในการทำงานธุรการเกี่ยวกับการเรียนการสอน” ซึ่งไม่มีหน่วยประสบการณ์ใดสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของหลักสูตรในส่วนนี้ ส่วนผลการวิเคราะห์สมรรถภาพที่คาดหวังจากผู้สำเร็จการศึกษาจากหลักสูตร ป.กศ.ชั้นสูง สายการประถมศึกษา พ.ศ. 2524 นั้น ผู้ใช้หลักสูตรคาดหวังว่าผู้สำเร็จการศึกษาจะได้รับสมรรถภาพโดยส่วนรวมในด้านความรู้ ด้านคุณลักษณะ และด้านเทคนิควิธี ในระดับมาก โดยมีคะแนนเฉลี่ย 3.78, 3.73 และ 3.61 ตามลำดับ
Other Abstract: Purpose The purposes of this study were first, to study the relation of the various of the 1981 curriculum of the higher certificate of teacher education in elementary education; and second, to investigate the expected competence of graductes from the program of higher certificate in elementary education. Procedure The samples in this study were totally 1,209 persons. There were two kinds of the sample, the first one were 124 administrators who concerned curriculum implementation, which consisted of 31 heads of the Faculty of Education, 31 heads of the Faculty of Science, 31 heads of the Faculty of Humanities and Social Sciences and 31 heads of the Department of Curriculum and Instruction, the second one were 1,085 instructors of various courses. The questionnaire was constructed and consisted of a check list, a rating scale and open-ended questions. Then frequency, percent, mean and standard deviation were used to analyse the data. Findings The various components of the 1981 Curriculum of Higher Certificate of Teacher Education in Elementary Education were interrelated. According to the administraters who concerned the curriculum implementation, the principles and the objectives of the curriculum were highly suitable; the various tasks in the curriculum were highly suitable. That is, the tasks of instruction, student administration and self-development were highly suitable. But the tasks of guidance, administrative routines and social development were moderately suitable. The various tasks in the curriculum highly related to its principles. That is, the tasks of instruction, student administration, guidance and self-development highly related to the principles of the curriculum in succession; but the tasks of administrative routines and social development moderately related to the principles of the curriculum in succession. According to the curriculum implementator, who were instructors, most contents of the curriculum related to the objectives, and the only objective that lacked of contents to support was “to enable learners to work on management of learning and teaching.” On the analysis of the expected competence of higher certificate graduates in elementary education, the curriculum implementators expected that the graduates would have acquired high competence in knowledge, attitude and skill in succession.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2529
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: บริหารการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48790
ISBN: 97456699016
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sanguansak_de_front.pdf1.42 MBAdobe PDFView/Open
Sanguansak_de_ch1.pdf1.17 MBAdobe PDFView/Open
Sanguansak_de_ch2.pdf5.72 MBAdobe PDFView/Open
Sanguansak_de_ch3.pdf1.43 MBAdobe PDFView/Open
Sanguansak_de_ch4.pdf29.31 MBAdobe PDFView/Open
Sanguansak_de_ch5.pdf4.24 MBAdobe PDFView/Open
Sanguansak_de_back.pdf5.64 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.