Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48807
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุวรรณา สถาอานันท์-
dc.contributor.advisorวิจิตร เกิดวิสิษฐ์-
dc.contributor.authorสุวรรณี ดาวสดใส-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2016-06-10T07:51:57Z-
dc.date.available2016-06-10T07:51:57Z-
dc.date.issued2530-
dc.identifier.isbn9745674737-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48807-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2530en_US
dc.description.abstractงานวิจัยนี้เป็นความพยายามที่จะแสดงให้เห็นว่า แนวความคิดทางปรัชญาและศาสนาอันโดดเด่นอยู่ในสมัยราชวงศ์ซ่ง ได้มีอิทธิพลในการกำหนดลักษณะของภาพทิวทัศน์ และภาพธรรมชาติในสมัยนั้น ลักษณะเด่นของภาพคือ การยืนยันในอุดมคติและมโนทรรศน์ทางปรัชญาและศาสนาของจีนเป็นส่วนใหญ่ ทั้งนี้เกี่ยวเนื่องกับแนวความคิดทางจักรวาลวิทยา ภววิทยา ญาณวิทยา อภิปรัชญาและจริยธรรม ปัญหาที่ตามมาคือ อุดมคติและมโนทรรศน์เหล่านี้คืออะไรบ้าง และปราฏเป็นนัยยะในภาพอย่างไร จากการวิเคราะห์พบว่า จิตกรรมประเภทนี้สื่ออุดมคติและมโนทรรศน์ทางปรัชญาและศาสนาเป็น 2 แนวทางด้วยกันคือ 1. สื่อด้วยระบบสัญลักษณ์ 2. สื่อด้วยการแสดงออก ในแง่ของระบบสัญลักษณ์นั้นเกี่ยวข้องกับความคิดทางจักรวาลวิทยาและอุดมคติในชีวิตโดยทั่วไปของชาวจีน การเข้าใจความหมายเหล่านี้ขึ้นอยู่กับการมองภาพและการเข้าใจระบบสัญลักษณ์ของจีน ส่วนแง่การแสดงออกนั้นถือว่าทฤษฎีทางสุนทรียศาสตร์ของจิตรกรรมจีนประเภทนี้เรียกว่า ทฤษฎีการแสดงออก ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่ชี้ให้เห็นว่าจิตรกรรมจีนประเภทนี้อยู่ในฐานะที่เป็นวิถีแห่งการแสวงหาสัจจะ รวมทั้งการเข้าถึงและการแสดงออกถึงสภาวะจิตขณะเข้าถึงสัจจะของผู้วาดด้วยญาณหยั่งรู้ทางอัชณัตติญาณ เนื้อหาสำคัญของงานวิจัยนี้คือ การวิเคราะห์และทำความเข้าใจในทฤษฎีดังกล่าว ทั้งในแง่ของวิธีการและเนื้อหาที่แสดงออก พร้อมทั้งยืนยันความมีอยู่จริงของทฤษฎีนี้ โดยรวบรวมคำกล่าวยืนยันของจิตรกรและนักวิจารณ์งานจิตรกรรมในสมัยนั้นมาประกอบกับข้อความสนับสนุนของนักวิจารณ์ศิลปะโดยทั่วไปทั้งในอดีตและในปัจจุบัน ผลที่ได้จากการวิเคราะห์คือวิธีการและเนื้อหาของทฤษฎีการแสดงออกของจิตกรรมประเภทนี้ชี้ให้เห็นว่า ความสำคัญทางภาพมิได้อยู่ที่ตัวภาพ ตรงกันข้ามกลับอยู่ที่ความสัมพันธ์ระหว่างจิตรกรและภาพเขียน หรือประการณ์ทางศิลปะอันเป็นสิ่งเดียวกันกับประสบการณ์ทางศาสนา นอกจากนี้ การศึกษาความหมายของภาพแทนที่จะศึกษาจากคุณสมบัติของภาพแต่เพียงอย่างเดียว กลับต้องศึกษาเกี่ยวกับแรงจูงใจหรือแรงบันดาลใจ และสภาวะจิตของผู้วาดในการสร้างสรรค์ผลงานด้วย ข้อเท็จจริงดังกล่าวมานี้ ได้สร้างเงื่อนไขและข้อจำกัดในการเข้าใจในการเข้าใจความหมายอขงจิตรกรรมประเภทนี้ โดยเฉพาะที่เกี่ยวเนื่องกับธรรมชาติของความรู้ทางอัชฌัตติกญาณหรือความรู้ในรู้ความจริงซึ่งเป็นอัตวิสัยและเป็นปัจเจกภาพ ที่สำคัญคือ ธรรมชาติของการสื่อความหมายด้วยภาพเขียนนั้น ไม่อาจอธิบายรายละเอียดเกี่ยวกับความหมายของอุดมคติ มโนทรรศน์และประสบการณ์ทางปรัชญาและศาสนาได้อย่างต่อเนื่องเป็นระบบเหมือนกับการอธิบายด้วยภาษา อย่างไรก็ตาม ข้อดีของการสื่อความหมายโดยภาพเขียนก็มีเช่นกัน กล่าวคือ ภาพทิวทัศน์และภาพธรรมชาติในสมัยราชวงศ์ซ่งสามารถแสดงออกถึงความรู้สึก อารมณ์ในการเข้าถึงญาณหยั่งรู้ทางอัชฌัตติกญาณได้ดีกว่าการอธิบายด้วยภาษาen_US
dc.description.abstractalternativeThis research is an attempt to show that the philosophical and religious ideas prevalent in the Sung dynasty (A.D. 960-1279) had inftuenced and determined the character of the landscape and natural paintings in that important period of Chinese cultural history. The dominant characters of the paintings mainly affirm the ideals of philosophy and religion which center around concepts in Cosmology, Ontology, Epistemology, Metaphysics and Ethics. This research investigates the nature of these ideals and concepts and examines how they are implicitly manifested. It is found that these paintings communicate the ideals and concepts from two aspects, namely, by means of symbolism, and by means of expression. The first aspect concerns the concept of Cosmology and the Chinese ideal of everyday life. The understanding of these massages depend on the apprehending of the picture and the understanding of certain Chinese symbols. The second aspect centers around an aesthetic theory, called “the Expression Theory” which is an important factor suggesting that this type of Chinese paintings is ameans of searching for truth and is an expression of the artist’s state of mind while he is in touch with reality through intuitive insight. The important theme of this research is to analyse and understand both the method and the content of the above theory. Evidence is gathered from the Sung artists’ writings, the critics’ statements on aesthetics and the aesthetic experience as well as other scholars’ comments on this issue. The result of this research indicate that the method and the content of expression theory demonstrate that the subjects are not the only crucial point of understanding a painting; on the contrary, it depends on the relation between the artist and the painting or the artistic which is identical with religious experience. Besides, the study of the paintings is, in fact, a study of the artists’ motives and inspiration and the artist’s state of mind which is the condition of his creativity rather than a study of the characteristics of the paintings as such. The findings mentioned above, however, create a condition for and some limitations to the understanding of this kind of paintings especially those which concern the nature of intuitive knowledge of subjective and individualistic truth. It is important to note that, unlike communition through ordinary discourse and written language, painting, as a means of communition, cannot give a detailed and systematic explanation of those philosophical ideals which the artist wishes to convey. However, the strength of this way of communication is that certain philosophic and religious ideals, intuitive knowledge, feelings and emotions can be suggested and conveyed immediately in ways perhaps more effective than the use of discourse and written language.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectจิตรกรรมจีน -- สมัยราชวงศ์ซ่ง, ค.ศ.960-1368en_US
dc.subjectจิตรกรรมภาพทิวทัศน์จีน -- สมัยราชวงศ์ซ่ง, ค.ศ.960-1368en_US
dc.subjectปรัชญาขงจื๊อ -- จีนen_US
dc.subjectศิลปะกับศาสนา -- จีนen_US
dc.subjectนิกายเซน -- จีนen_US
dc.subjectลัทธเต๋า -- จีนen_US
dc.subjectปรัชญาจีนen_US
dc.subjectสัญลักษณ์ในศิลปะ -- จีนen_US
dc.titleการวิเคราะห์จิตรกรรมจีนสมัยราชวงศ์ซ่งเชิงปรัชญาen_US
dc.title.alternativeA philosophical analysis of the Chinese paintings in the sung dynastyen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameอักษรศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineปรัชญาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorSuwanna.Sat@Chula.ac.th-
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Suwannee_da_front.pdf2.44 MBAdobe PDFView/Open
Suwannee_da_ch1.pdf699.05 kBAdobe PDFView/Open
Suwannee_da_ch2.pdf2.36 MBAdobe PDFView/Open
Suwannee_da_ch3.pdf7.4 MBAdobe PDFView/Open
Suwannee_da_ch4.pdf4.43 MBAdobe PDFView/Open
Suwannee_da_ch5.pdf4.83 MBAdobe PDFView/Open
Suwannee_da_ch6.pdf6.49 MBAdobe PDFView/Open
Suwannee_da_ch7.pdf1.04 MBAdobe PDFView/Open
Suwannee_da_back.pdf1.22 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.