Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/49575
Title: ผลของขนาดเศษยางบดผสมในมวลรวม ที่มีต่อคุณสมบัติความต้านทานการยุบตัวของแอสฟัลต์คอนกรีตผสมร้อน
Other Titles: Influences of crumb rubber size in aggregate blend on deformation resistance properties of hot mix asphalt
Authors: ศิวารักษ์ อุ่นศิวิไลย์
Advisors: บุญชัย แสงเพชรงาม
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: แอสฟัลต์คอนกรีต
ยาง
Asphalt concrete
Rubber
Issue Date: 2556
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การผสมเศษยางบดลงในวัสดุแอสฟัลต์คอนกรีต มีการใช้งานในต่างประเทศมากว่า 30 ปี โดยการผสมเข้ากับแอสฟัลต์ซีเมนต์ เรียกว่า Crumb Rubber Modified Binder (CRMB) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเชื่อมประสานของแอสฟัลต์ ลดการเกิดความเสียหายต่อผิวทางได้ดี แต่ข้อจำกัดของ CRMB คือความยุ่งยากในขั้นตอนการผสมเศษยางกับแอสฟัลต์ซึ่งต้องใช้อุปกรณ์เฉพาะทางเท่านั้น งานวิจัยนี้จึงให้ความสนใจในการนำเศษยางบดที่มีขนาดอยู่ในระดับหินย่อยมาผสมและแทนที่ส่วนหนึ่งของหินย่อยในมวลรวม โดยศึกษาศักยภาพในการปรับปรุงคุณสมบัติด้านการต้านทานการยุบตัวถาวรของวัสดุแอสฟัลต์คอนกรีตที่ผสมยางบด ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดความเสียหายแบบยุบตัวในแนวร่องล้อที่เป็นรูปแบบความเสียหายหลักของถนนในประเทศไทย โดยงานวิจัยนี้ออกแบบส่วนผสมแอสฟัลต์คอนกรีตด้วยวิธี Marshall Mix Design โดยเป็นส่วนผสมที่มีขนาดคละแบบแน่น (Dense Graded) และแบบช่องว่าง (Gap Graded) ตามข้อกำหนดสำหรับการก่อสร้างชั้นผิวทาง ส่วนผสมแต่ละรูปแบบขนาดคละสนใจปัจจัยด้านขนาดยางบด 3 ขนาด คือ ค้างบนตะแกรงเบอร์ 16 เบอร์ 30 และผ่านตะแกรงเบอร์ 30 โดยแต่ละขนาดมีปัจจัยด้านปริมาณยางบดที่แทนที่หินย่อยในสัดส่วน 1% และ 2% ของปริมาตรมวลรวมทั้งหมด และพิจารณาประสิทธิภาพความต้านทานการยุบตัวถาวรของแอสฟัลต์คอนกรีตโดยการทดสอบ Dynamic Creep ด้วยเครื่อง Asphalt Mixture Performance Tester (AMPT) และการทดสอบการยุบตัวด้วยเครื่อง Wheel Tracking ผลการทดสอบ Dynamic Creep พบว่าการผสมเศษยางบดในแอสฟัลต์คอนกรีตทั้ง 2 รูปแบบขนาดคละ ไม่ได้ส่งผลให้มีความแตกต่างของผลการทดสอบ Dynamic Creep อย่างมีนัยสำคัญ จึงไม่สามารถบ่งบอกการเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติการต้านทานการยุบตัวได้จากการทดสอบ Dynamic Creep ตามเงื่อนไขที่ใช้สำหรับงานวิจัยนี้ ด้านผลการทดสอบการยุบตัวด้วยเครื่อง Wheel Tracking จากการพิจารณาค่า Wheel Tracking Slope (WTS) แอสฟัลต์คอนกรีตทั้ง 2 รูปแบบขนาดคละมีแนวโน้มเดียวกัน คือ ขนาดยางบดที่เล็กลงจะเพิ่มประสิทธิภาพการต้านทานการยุบตัวถาวรที่ดีขึ้น โดยยางบดขนาดผ่านตะแกรงเบอร์ 30 จะส่งผลต่อการเพิ่มประสิทธิภาพมากที่สุด และปริมาณของยางบดที่เพิ่มขึ้นจะเพิ่มประสิทธิภาพให้ดีขึ้นเช่นกัน โดยการผสมยางบดในสัดส่วน 2% โดยปริมาตรมวลรวมจะส่งผลต่อการเพิ่มประสิทธิภาพมากที่สุด สำหรับส่วนผสมแอสฟัลต์คอนกรีตขนาดคละแบบ Dene Graded ส่วนผสมที่มีเศษยางบดขนาดผ่านตะแกรงเบอร์ 30 ปริมาณ 2% โดยปริมาตรมวลรวมมีความต้านทานการยุบตัวดีที่สุด โดยมีค่า WTS เท่ากับ 0.04 มิลลิเมตรต่อ1000 รอบ ซึ่งมีประสิทธิภาพดีกว่าคิดเป็น 2.10 เท่า ของส่วนผสมที่ใช้อ้างอิง(ไม่ผสมยางบด) ที่มีค่า WTS เท่ากับ 0.09 มิลลิเมตรต่อ1000 รอบ และสำหรับส่วนผสมแอสฟัลต์คอนกรีตขนาดคละแบบ Gap Graded ส่วนผสมที่มีเศษยางบดขนาดผ่านตะแกรงเบอร์ 30 ด้วยสัดส่วน 2% โดยปริมาตรมวลรวมมีความต้านทานการยุบตัวได้ดีที่สุด โดยมีค่า WTS เท่ากับ 0.12 มิลลิเมตรต่อ1000 รอบ โดยมีประสิทธิภาพดีกว่าคิดเป็น 3.95 เท่า ของส่วนผสมที่ใช้อ้างอิง (ไม่ผสมยางบด)
Other Abstract: Hot mix asphalt with crumb rubber has been widely used in many countries for more than 30 years by blending scraped-tire rubber with asphalt binder, called “Crumb Rubber Modified Binder (CRMB)”. The performance of Hot Mix Asphalt using CRMB as binder is improved such that pavement distresses such as cracking, rutting are less than the conventional hot mix. But CRMB has a limitation in production process since it requires a special blending machine. This study focuses on an alternative of using crumb rubber by replacing some aggregate particles by small sized crumb rubber chips in the asphalt-aggregate mixture. This is to test whether the crumb rubber particles acting like fine-grained aggregate can improve the permanent deformation resistance of the mixture. In this study, the mixture is designed by Marshall Mix Design method for dense graded and gap graded surface layer. The mixture is blended with crumb rubber in 3 different sizes: retained on sieve #16, retained on sieve #30 and passing sieve #30. The x-sized crumb rubber is added to the mix in substitution of the same x-sized aggregate particles at the amount of 1% and 2% by the whole aggregate volume in the mixture. Permanent deformation resistance of mixture is verified by 2 testing methods; Dynamic creep test using Asphalt Mixture Performance Tester (AMPT) and Deformation test using Wheel Tracking Device. Results from Dynamic Creep test of the two gradations show that the mixture with crumb rubber is insignificantly differ from the conventional mix (no crumb rubber added). In other words, the Dynamic Creep test conducted in this study cannot evaluate permanent deformation resistance performance of the prepared samples. For Wheel Tracking test, permanent deformation resistance is representative by Wheel Tracking Slope (WTS). The mixture samples of both gradations show similar trends. First, an effect of crumb rubber size show that mixture with smaller sized crumb rubber performs better than mixture with larger sized one. The mixture with passing#30 crumb rubber has the best performance in the group of three sizes. Second, an effect of crumb rubber content shows that mixture with higher amount of crumb rubber has better performance than mixture with lower amount of crumb rubber. The mixture with 2% crumb rubber by aggregate volume has the best performance in the group of two crumb rubber contents. For Dense Graded mixture, conventional mixture shows WTS value = 0.09 mm/1000 cycles and mixture with 2% passing#30 crumb rubber is the best in deformation resistance performance. It shows 0.04 mm/1000 cycles in WTS term, it is 2.10 times better than conventional mix. For Gap Graded mixture, the conventional mixture shows WTS value = 0.46 mm/1000 cycles and mixture with 2% passing#30 crumb rubber has the best performance in deformation resistance. That shows 0.12 mm/1000 cycles in WTS term, it is 3.95 times better than conventional mix.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมโยธา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/49575
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.1534
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2013.1534
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
siwarak_un.pdf4.2 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.