Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/49707
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอังคณาวดี ปิ่นแก้ว-
dc.contributor.authorฟารีดา หมัดเหล็ม-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์-
dc.date.accessioned2016-10-31T09:44:17Z-
dc.date.available2016-10-31T09:44:17Z-
dc.date.issued2556-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/49707-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556en_US
dc.description.abstractการประกอบกิจการโฮมสเตย์ที่มีลักษณะตามกฎกระทรวงกำหนดประเภทและหลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจโรงแรม พ.ศ. 2551 ไม่เป็นโรงแรมตามพระราชบัญญัติโรงแรม พ.ศ. 2547 จึงไม่นำบทบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจโรงแรมมาบังคับใช้กับการประกอบกิจการโฮมสเตย์ โดยปัจจุบันยังไม่มีมาตรการทางกฎหมายโดยเฉพาะในการคุ้มครองผู้เข้าพัก ตลอดจนการกำกับดูแลการประกอบกิจการโฮมสเตย์จากการศึกษาพบว่าการประกอบกิจการโฮมสเตย์มีเอกลักษณ์พิเศษแตกต่างจากการประกอบธุรกิจสถานที่พักอื่น กล่าวคือ นอกจากผู้เข้าพักจะเข้าพักในบ้านหรือบริเวณบ้านของเจ้าของบ้านแล้ว ผู้เข้าพักยังได้เรียนรู้วิถีชีวิต วัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่นจากการเข้าพักในโฮมสเตย์ด้วย และการประกอบกิจการโฮมสเตย์เป็นเพียงการประกอบกิจการเพื่อหารายได้เสริมของชาวบ้านเท่านั้น การกำหนดความรับผิดของผู้ประกอบการเพื่อคุ้มครองผู้เข้าพักโดยเฉพาะ จะสร้างภาระแก่ผู้ประกอบการและไม่สอดคล้องกับลักษณะการประกอบกิจการ ในกรณีที่เกิดความเสียหายต่อชีวิต ร่างกายอนามัยหรือทรัพย์สินของผู้เข้าพัก บทบัญญัติเรื่องละเมิดอันเป็นบทบัญญัติทั่วไปในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์สามารถนำมาปรับใช้เพื่อเยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้นได้ อย่างไรก็ตามหากเป็นความเสียหายต่อชีวิต ร่างกายอนามัย ซึ่งเป็นความเสียหายที่ผู้เข้าพักจำต้องได้รับการเยียวยาอย่างทันท่วงที เห็นควรนำมาตรการประกันภัยเข้ามาคุ้มครองผู้เข้าพักในเบื้องต้น โดยกำหนดให้ผู้ประกอบการมีหน้าที่ในการจัดหาประกันภัยความรับผิด และเพื่อเป็นการลดภาระแก่ผู้ประกอบการในการจัดหาประกันภัย ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเข้ามาอำนวยความสะดวกในการติดต่อประสานงานระหว่างผู้ประกอบการและบริษัทประกันภัย ในส่วนการกำกับดูแลการประกอบกิจการ ไม่ปรากฏกฎหมายใดที่เกี่ยวข้องโดยตรง ทำให้กิจการโฮมสเตย์ขาดการจัดการอย่างเป็นระบบ สถานที่พักและการบริการไม่ได้รับมาตรฐาน ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้เข้าพัก ด้วยเหตุนี้จึงควรมีมาตรการทางกฎหมายในการกำกับดูแลการประกอบกิจการโฮมสเตย์ซึ่งกำหนดร่วมกันระหว่างกระทรวงมหาดไทยและกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เพื่อบังคับให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน โดยให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นออกข้อบัญญัติท้องถิ่นเพื่อกำหนดรายละเอียดให้สอดคล้องและเหมาะสมกับลักษณะการประกอบกิจการโฮมสเตย์ในแต่ละพื้นที่ อันเป็นการคุ้มครองผู้เข้าพักและส่งเสริมการประกอบกิจการโฮมสเตย์อย่างยั่งยืนen_US
dc.description.abstractalternativeThe operation of homestay described in the Ministerial Regulation Determining Categories and Rules of Hotel Business Conduct B.E. 2551 is not a hotel under the Hotel Act B.E. 2547. Thus, the provisions concerning the operation of hotel do not apply to the operation of homestay. At present, there are no specific legal measures protecting the homestays’ clients as well as there are no measures controlling the operation of homestay.According to the study, it is found that the operation of homestay has its distinctive characteristic which differs from other hospitality operations. That is, apart from staying at the owners’ houses and the neighborhood, the clients will also learn the way of life, cultures, and traditions of the locals. Besides, as the operation of homestay is merely an extra income for local people, stipulating liability of the operators only to protect the clients will increase burden on them and will not conform to the nature of business. In case of the damage to life, body, health, or property of clients, law on the wrongful acts, which is under the general provisions of the Civil and Commercial Code, will apply to remedy such damage. However, if the damage to life, body, or health requires an immediate compensation, an insurance measure should be primarily applied by requiring the operators to provide liability insurance. In order to relieve the operators’ burden of providing such insurance, local administration organizations should facilitate the collaboration between the operators and the insurance companies.As there is no specific law controlling the operation of homestay, it results in lacking of systematic management, substandard accommodation and service. This situation causes damage to clients. Therefore, there should be legal measures controlling the operation of homestay, jointly regulated by the Ministry of the Interior and the Ministry of Tourism and Sports, enforced harmoniously. The local administration organizations should be granted power to issue local regulations determining particular provisions in accordance with and appropriate to the nature of the operation of homestay in each area. It is to protect the clients and support the sustainable operation of homestay.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2013.1569-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectการท่องเที่ยวโดยชุมชนen_US
dc.subjectโรงแรม -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับen_US
dc.subjectที่พักนักท่องเที่ยวen_US
dc.subjectHotels -- Law and legislationen_US
dc.subjectTourist camps, hostels, etc.en_US
dc.titleมาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการประกอบการโฮมสเตย์en_US
dc.title.alternativelegal measures regarding the operation of homestayen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineนิติศาสตร์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorAngkanawadee.S@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2013.1569-
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
fareeda_mu.pdf2.42 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.