Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/49717
Title: ประสิทธิภาพของร่มเงาต้นไม้ที่มีผลต่อผนังอาคารพักอาศัย
Other Titles: Efficiency of tree shades on house’s exterior walls
Authors: ศุภณัฐ กาญจนวงศ์
Advisors: นวนัฐ โอศิริ
อรรจน์ เศรษฐบุตร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Advisor's Email: onavanat@chula.ac.th
Atch.S@chula.ac.th
Subjects: ต้นไม้
ผนังภายนอก
Trees
Exterior walls
Issue Date: 2556
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ในการปลูกอาคารในปัจจุบันได้คำนึงถึงความร้อนจากแสงแดดที่เกิดขึ้นบริเวณเปลือกอาคาร ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการใช้พลังงานภายในบ้านพักอาศัย พลังงานที่เสียไปเกิดจากการใช้เครื่องปรับอากาศในการทำความเย็นภายในอาคาร วิธีแก้ไขปัญหาที่ง่ายและประหยัดค่าใช้จ่าย คือการปลูกต้นไม้ใหญ่เพื่อให้ต้นไม้เป็นเหมือนเกราะป้องกันแสงแดดสู่เปลือกอาคาร โดยต้นไม้ใหญ่แต่ละชนิดมีรูปแบบของทรงพุ่มที่ต่างกันให้ร่มเงาจะต่างกันไปตามทิศที่ปลูก วิทยานิพนธ์ชิ้นนี้จึงมุ่งเน้นเพื่อค้นหาประสิทธิภาพของต้นไม้ใหญ่ในแต่ละรูปแบบและทิศทางเพื่อให้เป็นแนวทางในการเลือกใช้ในการลดพลังงาน วัตถุประสงค์ของการศึกษาครั้งนี้คือ เพื่อหาประสิทธิภาพของต้นไม้ใหญ่ในแต่ละรูปแบบ โดยการทดลองในพื้นที่ที่มีสภาพภูมิอากาศแบบร้อนชื้นสลับแล้งซึ่งเป็นตัวแทนภูมิอากาศส่วนมากของประเทศไทย การศึกษารูปแบบของต้นไม้ใหญ่ทั้ง 14 รูปทรง ซึ่งการศึกษาของต้นไม้ในอุตสาหกรรมภูมิทัศน์ ด้วยการปลูก 8 ทิศ รอบอาคาร โดยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่สามารถใช้จำลองแสงแดดตลอดทั้งวัน เป็นเวลา 1 ปี กับเปลือกอาคารในแต่ละด้าน เพื่อหาร้อยละของพื้นที่ของเงาที่จะเกิดขึ้น และจัดอันดับความสามารถในการให้เงาของต้นไม้ในแต่ละรูปแบบทั้ง 8 ทิศ โดยแบบจำลองของบ้านพักอาศัย ผู้วิจัยได้เลือกใช้บ้านพักอาศัยแบบบ้านประหยัดพลังงานของกระทรวงพลังงาน ในแบบบ้านเดี่ยวชั้นเดียวและ บ้านเดี่ยวสองชั้นเป็นต้นแบบเพื่อหาความแตกต่างและหลากหลายในการทดลอง จากผลการทดลองสรุปว่า ทิศที่เหมาะแก่การปลูกต้นไม้ใหญ่เพื่อลดการใช้พลังงานภายในอาคารบ้านชั้นเดียวและบ้านเดี่ยวสองชั้น ได้แก่ ทิศตะวันออก ทิศตะวันตก ทิศใต้ ทิศตะวันออกเฉียงใต้ ทิศตะวันตกเฉียงใต้ ตามลำดับ รูปทรงของต้นไม้ที่ให้ประสิทธิภาพของพื้นที่เงาสูง จะขึ้นอยู่กับพื้นที่และความกว้างและความทึบของทรงพุ่ม ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับว่าในการใช้ผู้ที่นำไปใช้มีจุดประสงค์ในการวางต้นไม้ในแต่ละทิศเพื่อจุดประสงค์อะไรต่อไป
Other Abstract: One of the main considerations in today’s modern buildings is the heat from sun light on building envelopes, which is an important factor that affects domestic energy consumption. Air conditioners with large BTU units consume large amounts of energy. The simply and safe solution for this problem can be found through tree. tree will act as an outer shield, filtering sunlight over the building envelopes. The main purpose of this research is to analyze shapes and shades of tree in different form. This study was conducted in Chiang Mai, which represents the weather of Thailand. The weather is generally hot and humid alternate with cool and dry. The investigation of tree in 14 form in 8 directions surrounding the buildings. This computer calculated daily sunlight in duration of one year that affected each side of the building walls. This has been done to calculate percentage of shade areas and then ranked the order of shade generator in each tree. The experimental houses are energy saving and have been chosen from the pattern offer by Ministry of Energy; eg. 1 tier and 2 tiers houses. The study concludes that the best direction for tree to reduce the heat for the 1tier and 2 tier houses are the east side, the south east side, the south side, and the south west side respectively. The effectiveness of the shadows from the trees depends on the width and height of the tree shapes. However, it also depends on the purpose of the tree placement.
Description: วิทยานิพนธ์ (ภ.สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556
Degree Name: ภูมิสถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ภูมิสถาปัตยกรรม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/49717
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.1575
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2013.1575
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
supanut_ka.pdf2.63 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.