Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50168
Title: การพัฒนารูปแบบการออกแบบการเรียนการสอนเพื่อเสริมสร้างจิตสาธารณะของนิสิตนักศึกษาปริญญาตรีโดยใช้โครงงานบริการสังคมที่ใช้คอมพิวเตอร์สนับสนุนการเรียนร่วมกัน
Other Titles: DEVELOPMENT OF AN INSTRUCTIONAL DESIGN MODEL TO ENHANCE PUBLIC CONSCIOUSNESS OF UNDERGRADUATE STUDENTS BY USING SERVICE LEARNING PROJECTS WITH COMPUTER-SUPPORTED COLLABORATIVE LEARNING
Authors: สงคราม มีบุญญา
Advisors: จินตวีร์ คล้ายสังข์
อรจรีย์ ณ ตะกั่วทุ่ง
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: jinkhlaisang@gmail.com,jintavee.m@chula.ac.th
Onjaree.N@Chula.ac.th
Issue Date: 2558
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการออกแบบการเรียนการสอนเพื่อเสริมสร้างจิตสาธารณะของนิสิตนักศึกษาปริญญาตรีโดยใช้โครงงานบริการสังคมที่ใช้คอมพิวเตอร์สนับสนุนการเรียนร่วมกัน กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาความคิดเห็น ได้แก่ อาจารย์ผู้สอน จำนวน 40 คน นิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรี จำนวน 400 คน และผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 15 คน กลุ่มตัวอย่างที่ทดลองออกแบบการเรียนการสอนในรายวิชาของตนเองตามรูปแบบการออกแบบการเรียนการสอนที่ผู้วิจัยได้พัฒนาขึ้น เป็นอาจารย์ผู้สอนสาขาวิชาพัฒนาชุมชน จำนวน 3 คน ประเมินการออกแบบการเรียนการสอนโดยผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบการเรียนการสอน จำนวน 3 คน และคัดเลือกรายวิชาที่มีคะแนนการออกแบบการเรียนการสอนดีที่สุด คือ รายวิชาการพัฒนาองค์กรชุมชน ไปทดลองสอนกับนักศึกษาสาขาวิชาพัฒนาชุมชนในระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม จำนวน 30 คน โดยใช้ระยะเวลา 8 สัปดาห์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานด้วยการทดสอบค่าที และรับรองรูปแบบการออกแบบการเรียนการสอน โดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 7 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1. รูปแบบการออกแบบการเรียนการสอนเพื่อเสริมสร้างจิตสาธารณะของนิสิตนักศึกษาปริญญาตรีโดยใช้โครงงานบริการสังคมที่ใช้คอมพิวเตอร์สนับสนุนการเรียนร่วมกัน ประกอบด้วย 7 องค์ประกอบ คือ 1) วัตถุประสงค์การเรียนการสอน ที่กำหนดจากความต้องการและความสนใจร่วมกันของผู้เรียน ชุมชน และผู้ที่เกี่ยวข้อง 2) เนื้อหาวิชา ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องจิตสาธารณะ 3) บทบาทอาจารย์ผู้สอน บทบาทผู้เรียน 4) โครงงานบริการสังคม ที่บูรณาการระหว่างการเรียนรู้ทางด้านวิชาการและการปฏิบัติจริงเข้าไว้ด้วยกัน 5) สื่อการสอน ที่ส่งเสริมและสนับสนุนด้านเนื้อหาวิชา 6) คอมพิวเตอร์สนับสนุนการเรียนร่วมกัน ที่ใช้เป็นเครื่องมือสื่อสารและสนับสนุนการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างผู้เรียนกับผู้เรียนและระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน และ 7) เครื่องมือประเมินผล ได้แก่ เครื่องมือประเมินผลผู้เรียน เครื่องมือประเมินผลโครงงาน และ 6 ขั้นตอนหลัก 21 ขั้นตอนย่อย คือ 1) การวิเคราะห์ (Analysis) ประกอบด้วย 5 ขั้นตอนย่อย 2) การออกแบบ (Design) ประกอบด้วย 8 ขั้นตอนย่อย 3) การผลิตและพัฒนา (Development) ประกอบด้วย 3 ขั้นตอนย่อย 4) การจัดการเรียนการสอน (Implementation) ประกอบด้วย 1 ขั้นตอนย่อย 5) การประเมินผล (Evaluation) ประกอบด้วย 2 ขั้นตอนย่อย และ 6) การติดตามสานต่อ (Monitoring) ประกอบด้วย 2 ขั้นตอนย่อย 2. อาจารย์ผู้สอนสาขาวิชาพัฒนาชุมชนที่ออกแบบการเรียนการสอนในรายวิชาของตนเองตามรูปแบบการออกแบบการเรียนการสอนที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น มีคะแนนความสามารถในการออกแบบการเรียนการสอนทั้ง 3 รายวิชาอยู่ในระดับดีมาก 3. ผู้เรียนที่เรียนรายวิชาการพัฒนาองค์กรชุมชน มีคะแนนการทำแบบวัดจิตสาธารณะหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 มีคะแนนการทำแบบประเมินพฤติกรรมเชิงจิตสาธารณะหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีคะแนนประเมินผลโครงงานของทุกกลุ่มอยู่ในระดับดี 4. ผู้ทรงคุณวุฒิมีความคิดเห็นว่ารูปแบบการออกแบบการเรียนการสอนเพื่อเสริมสร้างจิตสาธารณะของนิสิตนักศึกษาปริญญาตรีโดยใช้โครงงานบริการสังคมที่ใช้คอมพิวเตอร์สนับสนุนการเรียนร่วมกันมีความเหมาะสมอยู่ในระดับดีมาก (ค่าเฉลี่ย= 3.57)
Other Abstract: The purpose of this research is to develop an instructional design model to enhance public consciousness of undergraduate students using service learning projects with Computer-Supported Collaborative Learning (CSCL). The study groups were 40 higher education instructors, 400 undergraduate students, and 15 experts. The group designed their own teaching model in their main subject under the model developed and provided by this research. Samples from the research were 3 instructors in community development field. Then, the model was designed and evaluated by 3 experts in the field of teaching model. The research study then selected the subject which received most teaching design score, which were subjects in community organization development, to experiment with 30 Nakhon Pathom Rajabhat University’s community development students for the period of 8 weeks. The hypothesis was tested by t-test dependent. The data were analyzed using means and standard deviation. Finally, the teaching model was approved by 7 experts. The research findings were as follows: 1. The instructional design model to enhance public consciousness of undergraduate students by using service learning projects with CSCL consisted of 7 components which were: (1) the purpose of learning determined by the common needs and interests of the learners, community, and stake holders, (2) the subject content related to public consciousness, (3) the role of the teachers and learners, (4) service learning projects integrating academic knowledge with practical application, (5) the instruction media that supports the subject content, (6) CSCL used as communication tools and support learning together between learners to learners and learners to teachers, and (7) evaluation tools which are learners evaluation tools and project evaluation tools. The model consisted of 6 main steps and 21 sub-steps: (1) Analysis -- 5 sub-steps, (2) Design -- 8 sub-steps, (3) Development -- 3 sub-steps, (4) Implementation --1 sub-step, (5) Evaluation -- 2 sub-steps, and (6) Monitoring -- 2 sub-steps. 2. The instructors that design their own class according to their main field used the model developed by this research results receiving a very high score for designs in all 3 subjects. 3. The learners in community organization development had a higher score in post-program public consciousness survey comparing to pre-program with statistical significant at 0.05. The learners’ post-program behavior evaluation score was higher than pre-program with statistical significant at 0.05, and all the projects score of every group is in good level. 4. The expert shared opinions that the instructional design model to enhance public consciousness of undergraduate students by using service learning projects with CSCL scores at a very good level (means=3.57).
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50168
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5384261027.pdf8.67 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.