Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50170
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ศิริเดช สุชีวะ | en_US |
dc.contributor.advisor | โชติกา ภาษีผล | en_US |
dc.contributor.author | บุญสม ศรีศักดา | en_US |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ | en_US |
dc.date.accessioned | 2016-12-01T08:01:24Z | |
dc.date.available | 2016-12-01T08:01:24Z | |
dc.date.issued | 2558 | en_US |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50170 | |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558 | en_US |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือประเมินสมรรถนะสำคัญของผู้เรียนตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น 2) เพื่อสร้างเกณฑ์การแปลผลของแบบวัดสมรรถนะสำคัญของผู้เรียนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน 3) เพื่อประเมินสมรรถนะที่สำคัญของผู้เรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น (มัธยมศึกษาปีที่ 1 – 3) ของโรงเรียน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 841 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบสามขั้นตอน (three-stage random sampling) ผลการวิจัยเป็นดังนี้ 1. แบบวัดความสามารถในการสื่อสาร แบบวัดความสามารถในการคิด แบบวัดความสามารถในการแก้ปัญหา ตามทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิม มีค่าความยากเฉลี่ย เท่ากับ 0.604 , 0.582 และ 0.535 ตามลำดับ มีค่าอำนาจจำแนกเฉลี่ย เท่ากับ 0.660, 0.607 และ 0.436 ตามลำดับ ตามทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบ มีค่าพารามิเตอร์อำนาจจำแนก (a) อยู่ระหว่าง 0.34 – 2.88, 0.20 – 3.46, 0.13 – 2.55 ตามลำดับ และค่าพารามิเตอร์ความยาก (b) อยู่ในช่วง -0.82 – 0.18, -3.33 – 0.36, 1.62 – 0.78 ตามลำดับ และมีค่าความเที่ยงเป็น 0.955, 0.890, 0.889 ตามลำดับ แบบวัดความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างคะแนนข้อคำถามแต่ละข้อกับคะแนนรวมของแบบทดสอบแต่ละฉบับ ค่าอยู่ในช่วง 0.22– 0.64 มีค่าความเที่ยง เท่ากับ 0.934 แบบวัดความสามารถในการใช้เทคโนโลยี มีค่าความยากอยู่ในช่วง 0.61– 0.65 ค่าอำนาจจำแนกอยู่ในช่วง 0.27 – 0.49 และค่าความเที่ยง เท่ากับ 0.543 แบบวัดทุกฉบับมีความตรงเชิงเนื้อหา (IOC) มีค่าอยู่ในช่วง 0.6 –1.0 และมีความตรงเชิงโครงสร้างทุกฉบับ 2. เกณฑ์การแปลผลของแบบวัดสมรรถนะสำคัญของผู้เรียนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น เป็นดังนี้ ความสามารถในการสื่อสาร มีคะแนนของระดับไม่ผ่านอยู่ในช่วง 0–24 คะแนน ระดับผ่านอยู่ในช่วง 25–39 คะแนน ระดับดีอยู่ในช่วง 40–44 คะแนน ระดับดีเยี่ยมอยู่ในช่วง 45–50 คะแนน ความสามารถในการคิด มีคะแนนของระดับไม่ผ่านอยู่ในช่วง 0–24 คะแนน ระดับผ่านอยู่ในช่วง 25–34 คะแนน ระดับดีอยู่ในช่วง 35–40 คะแนน ระดับดีเยี่ยมอยู่ในช่วง 41–50 คะแนน ความสามารถในการแก้ปัญหา มีคะแนนของระดับไม่ผ่าน อยู่ในช่วง 0–22 คะแนน มีคะแนนระดับผ่านอยู่ในช่วง 23–29 คะแนน ระดับดีอยู่ในช่วง 30–39 คะแนน และระดับดีเยี่ยมอยู่ในช่วง 40–50 คะแนน ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต มีคะแนนของระดับไม่ผ่านอยู่ในช่วง 0–132 คะแนน ระดับผ่านอยู่ในช่วง 133–159 คะแนน ระดับดีอยู่ในช่วง 160–179 คะแนน ระดับดีเยี่ยมอยู่ในช่วง 180–200 คะแนน ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี มีคะแนนของระดับไม่ผ่านอยู่ในช่วง 0–19 คะแนน ระดับผ่านอยู่ในช่วง 20–29 คะแนน ระดับดีอยู่ในช่วง 30–34 คะแนน และระดับดีเยี่ยมอยู่ในช่วง 35–40 คะแนน 3. ผลการประเมินระดับสมรรถนะที่สำคัญของผู้เรียน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น พบว่า นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยความสามารถในการสื่อสาร เท่ากับ 35.57 คะแนน (M= 35.57, S.D. = 7.77) คะแนนมีลักษณะเบ้ซ้าย (sk = -0.83) คะแนนมีความโด่งสูงกว่าโค้งปกติ (ku = 0.05) คะแนนเฉลี่ยความสามารถในการคิด เท่ากับ 31.45 คะแนน (M=31.45, S.D. = 5.10) คะแนนมีลักษณะเบ้ซ้าย (sk = -0.25) คะแนนมีความโด่งสูงกว่าโค้งปกติ (ku = 1.07) คะแนนเฉลี่ยความสามารถในการแก้ปัญหา เท่ากับ 29.97 คะแนน (M=29.97, S.D. = 6.75) คะแนนมีลักษณะเบ้ซ้าย (sk = -0.48) และคะแนนมีความโด่งสูงกว่าโค้งปกติ (ku = 0.19) คะแนนเฉลี่ยความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต เท่ากับ 160.63 คะแนน (M=160.63, S.D. = 19.16) คะแนนมีลักษณะเบ้ซ้าย (sk = - 0.20) คะแนนมีความโด่งต่ำกว่าโค้งปกติ (ku = -0.54) คะแนนเฉลี่ยความสามารถในการใช้เทคโนโลยี เท่ากับ 26.80 คะแนน (M=26.80, S.D. = 6.57) คะแนนมีลักษณะเบ้ซ้าย (sk = -0.05) คะแนนมีความโด่งต่ำกว่าโค้งปกติ (ku = -0.56) | en_US |
dc.description.abstractalternative | The purposes of this research were 1) to develop evaluation instruments of learner’s key competencies based on the Basic Education Core Curriculum B.E.2551 for lower secondary school students. 2) to construct the criteria to evaluate an assessment of learner’s key competencies based on the Basic Education Core Curriculum B.E.2551 for lower secondary school students. 3) to evaluate these students’ level of key competencies. Using the three-stage random sampling, the samples included 841 lower secondary school students (Muthayomsuksa 1 - 3) in schools under the Office of the Basic Education Commission. Research results revealed that: 1. The communication capability scale, thinking capability scale, and problem-solving capability scale, based on the Classical Test Theory, an average of difficulty level was 0.604, 0.582 and 0.535 respectively; an average of a discrimination power was 0.660, 0.607 and 0.436 respectively; based on the Item Response Theory (IRT), discrimination power parameter (a) ranged 0.34 – 2.88, 0.20 – 3.46 and 0.13 – 2.55 respectively; difficulty parameter (b) ranged -0.82 –0.18, -3.33–0.36 and 1.62– 0.78 respectively; and reliability was 0.955, 0.890 and 0.889 respectively. The capability in applying life skills scale showed item-total correlation coefficient for each scale ranged 0.22 -0.64, reliability was 0.934.The capability in technological application scale showed level of difficulty ranged 0.61–0.65, discrimination power ranged 0.27–0.49, and reliability was 0.543.The content validity was checked by IOC of each item ranged from 0.6-1.0, and it has construct validity. 2. The criteria for evaluating the assessment of learner’s key competencies based on the Basic Education Core Curriculum B.E.2551 for lower secondary school students was listed as follows: an ability to communicate which was ranked in “failed” level was between 0-24 points. The“passed” level was ranked between 25-39 points.The “good” level was ranked between 40-44 points. The “exellent” level was ranked between 45-50 points. An ability to think which was ranked in “failed” level was between 0-24 points.The “passed” level was ranked between 25-34 points. The “good” level was ranked between 35-40 points.The “exellent” level was ranked between 41-50 points. An ability to solve problems which was ranked in “failed” level was between 0-22 points.The “passed” level was ranked between 23-29 points.The “good” level was ranked between 30-39 points.The “exellent” level was ranked between 40-50 points. An ablility to apply life skills which was ranked in “failed” level was between 0-132 points. The “passed” level was ranked between 133–159 points. The “good” level was ranked between 160-179 points. The “exellent” level was ranked between 180-200 points. An ability to use technology which was ranked in “failed” level was between 0-19 points. The “passed” level was ranked between 20-29 points. The “good” level was ranked between 30-34 points. The “exellent” level was ranked between 35-40 points. 3. The result of the assessment of learner’s key competencies in lower secondary school students reveals that the average score of communication capability was 35.57 (M=35.57, S.D.=7.77). The score’s graph was negatively skewed (sk=-0.83) and the score’s curve was leptokurtic (ku=0.05). The average score of thinking capability was 31.45 (M=31.45, S.D.=5.10). The score’s graph was negatively skewed (sk=-0.25) and the score’s curve was leptokurtic (ku=1.07).The average score of problem-solving capability was 29.97 (M=29.97, S.D.=6.75). The score’s graph was negatively skewed (sk = -0.48) and the score’s curve was leptokurtic ku=0.19). The average score of capability in applying life skill was 160.63 (M=160.63, S.D.=19.16). The score’s graph was negatively skewed (sk = -0.20) and the score’s curve was platykurtic (ku= -0.54). The average score of capability in technological application was 26.80 (M=26.80, S.D.=6.57). The score’s graph was negatively skewed (sk=-0.05) and the score’s curve was platykurtic (ku=-0.56) | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2015.1228 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | นักเรียน -- การประเมิน | |
dc.subject | ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน -- การวัด | |
dc.subject | นักเรียนมัธยมศึกษา | |
dc.subject | Students -- Rating of | |
dc.subject | Academic achievement -- Measurement | |
dc.subject | High school students | |
dc.title | การพัฒนาเครื่องมือประเมินสมรรถนะสำคัญของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 | en_US |
dc.title.alternative | Development of evaluation instruments of lower secondary school students’ key competencies as identified in the basic education core curriculum B.E. 2551 | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาเอก | en_US |
dc.degree.discipline | การวัดและประเมินผลการศึกษา | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | Siridej.S@Chula.ac.th,sujiva.siridej@gmail.com,Siridej.S@Chula.ac.th | en_US |
dc.email.advisor | Aimorn.J@chula.ac.th | en_US |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2015.1228 | - |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5384459027.pdf | 10.45 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.