Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50201
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorธเรศ ศรีสถิตย์en_US
dc.contributor.advisorสมบูรณ์ กีรติประยูรen_US
dc.contributor.authorอนัญญา โพธิ์ประดิษฐ์en_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัยen_US
dc.date.accessioned2016-12-01T08:02:24Z-
dc.date.available2016-12-01T08:02:24Z-
dc.date.issued2558en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50201-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558en_US
dc.description.abstractอุทยานแห่งชาติภูเก้า-ภูพานคำ จังหวัดหนองบัวลำภูเป็นพื้นที่ที่ประสบปัญหาการบุกรุกทำลายทรัพยากรป่าไม้และการขยายตัวของชุมชนอย่างต่อเนื่องตลอดระยะเวลายี่สิบปีที่ผ่านมา แม้จะเป็นพื้นที่อนุรักษ์แต่ผลกระทบจากกิจกรรมของมนุษย์ที่ขยายตัวอย่างรวดเร็วในชุมชน เช่น การเก็บเกี่ยวพืชสมุนไพร การเลี้ยงสัตว์ และไฟป่าก่อให้เกิดเกิดการเปลี่ยนแปลงสมดุลของสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะอย่างยิ่งทรัพยากรป่าไม้และทรัพยากรน้ำ การศึกษานี้ได้ทำการประเมินผลกระทบจากกิจกรรมของมนุษย์ที่ตั้งถิ่นฐานในเขตพื้นที่ป่าอนุรักษ์ โดยการศึกษาการเปลี่ยนแปลงของป่าไม้ขนาด 2,500 ตารางเมตร จำนวน 12 แปลง ตามระยะทางในแนวราบจากแนวเขตกันออกระหว่างพื้นที่ชุมชนและป่าอนุรักษ์ การศึกษาพบว่าพื้นทีศึกษามีความหลากหลายของพรรณไม้สูง ค่าความเด่นของพรรณไม้มีความแตกต่างอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ อย่างไรก็ตาม ความหลากหลายของพรรณไม้มีค่าเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติตามระยะห่างจากชุมชน และพบว่าจำนวนไม้หนุ่มขนาดเล็กมีน้อยกว่าจำนวนไม้ใหญ่ในบริเวณใกล้แนวเขตชุมชน และมีจำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตามระยะทางห่างออกไป แม้ภาพรวมในปัจจุบันของป่าในพื้นที่ศึกษาจะแสดงถึงสภาพที่สมบูรณ์ของพรรณไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ แต่สถานภาพของการสืบต่อพันธุ์ตามธรรมชาติในพื้นที่บริเวณใกล้ชุมชนมีแนวโน้มลดลง เนื่องจากการสูญเสียไม้หนุ่มขนาดเล็กและกล้าไม้ จากการศึกษาเชื่อมโยงระหว่างกิจกรรมของสมาชิกในชุมชนและคุณภาพน้ำพบว่า ปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพน้ำ ได้แก่ (1) ผลจากกิจกรรมการเกษตร เช่น การไถเปิดหน้าดิน สารกำจัดศัตรูพืช ปุ๋ยเคมี (2) ของเสียจากกิจกรรมของชุมชน เช่น การชะล้างสิ่งปฏิกูลและมูลสัตว์เลี้ยงในฟาร์ม (3) การขาดแคลนระบบสาธารณูปโภคที่เหมาะสม โดยพบว่า 100% ของครัวเรือนมีการกำจัดสิ่งปฏิกูลจากในครัวเรือนโดยขาดกระบวนการที่ถูกต้องen_US
dc.description.abstractalternativePhu Kao-Phu Phan Kham national park is experiencing encroachment of forest resources and the rapid urbanization that has occurred over the last 20 years. Even in protected forests, the anthropogenic effects from newly expanding villages such as harvesting of medicinal plants, pasturing cattle and forest fires can induce environmental modifications, especially on the forest and water resource. We evaluated the anthropogenic effects of the daily activities of neighboring residents on natural forests in 12 plots with a 50 m × 50 m quadrat extending from the village boundary into a natural forest. The study site exhibits a high biodiversity of woody plants but the basal area per unit land area did not present a significant trend; however, the species diversity of woody plants decreased linearly towards the village boundary, which caused a loss of individual density because of severe declines in small saplings compared with adult trees and large saplings in proximity to the village. An analysis of tree-size categories indicates a lack of small samplings near the village boundary. The current forest appears to be well protected based on the adult tree canopy, but regeneration of the present-day forests is unlikely because of the loss of seedlings. From the study of water qualities shown that three factors come into play when considering agriculture activity and human wastes: (1) Pesticides, fertilizers (2) the waste produced by farm animals, and (3) non-existent sewage disposal systems. Human impact on water quality is from density and treatment of domestic sewage. 100% of household have disposed household waste near their resident without treatment.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectอุทยานแห่งชาติภูเก้า-ภูพานคำ-
dc.subjectชุมชน-
dc.subjectป่าไม้และการป่าไม้-
dc.subjectการอนุรักษ์ป่าไม้-
dc.subjectPhu Kao-Phu Phan Kham National Park-
dc.subjectCommunities-
dc.subjectForests and forestry-
dc.subjectForest conservation-
dc.titleผลกระทบจากการคงอยู่ของชุมชนต่อพื้นที่ป่าอนุรักษ์โดยรอบ : กรณีศึกษาอุทยานแห่งชาติภูเก้า-ภูพานคำen_US
dc.title.alternativeImpact of community existance on surrounding protected area : a case study of Phu Kao-Phu Phan Kham National Parken_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาเอกen_US
dc.degree.disciplineวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorThares.S@Chula.ac.th,srisatit.thares@gmail.comen_US
dc.email.advisorSxk4539@yohoo.comen_US
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5487830720.pdf18.95 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.