Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50286
Title: | กลยุทธ์การบริหารโรงเรียนเพื่อเสริมสร้างความรับผิดชอบที่ตรวจสอบได้ |
Other Titles: | SCHOOL MANAGEMENT STRATEGIES TO ENHANCE THE ACCOUNTABILITY |
Authors: | ชนะวัฒน์ โอกละคร |
Advisors: | นันทรัตน์ เจริญกุล พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Advisor's Email: | Nuntarat.C@Chula.ac.th,Nuntarat.c@chula.ac.th Pruet.S@Chula.ac.th |
Issue Date: | 2558 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | วัตถุประสงค์ของการวิจัยครั้งนี้เพื่อ 1) ศึกษากรอบแนวคิดของการบริหารโรงเรียนเพื่อเสริมสร้างความรับผิดชอบที่ตรวจสอบได้ 2) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารโรงเรียนเพื่อเสริมสร้างความรับผิดชอบที่ตรวจสอบได้ 3) วิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และภาวะคุกคามของการบริหารโรงเรียนเพื่อเสริมสร้างความรับผิดชอบที่ตรวจสอบได้ และ 4) พัฒนากลยุทธ์การบริหารโรงเรียนเพื่อเสริมสร้างความรับผิดชอบที่ตรวจสอบได้ โดยใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสาน กลุ่มตัวอย่างได้แก่ โรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 395 โรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถามและแบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของกลยุทธ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนี PNIModified และการวิเคราะห์เนื้อหาจากการสนทนากลุ่ม ผลการวิจัยพบว่า 1) กรอบแนวคิดของการบริหารโรงเรียนเพื่อเสริมสร้างความรับผิดชอบที่ตรวจสอบได้ ประกอบด้วย สุขภาวะที่ดีทางกายภาพและอารมณ์ของผู้เรียน ผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน ความเป็นธรรมในโอกาสการเรียนรู้ของผู้เรียน การยกระดับขีดความสามารถของครูและการบริหารโรงเรียน และการเสริมสร้างพลังอำนาจผู้ปกครองและชุมชน 2) สภาพปัจจุบันของการบริหารโรงเรียนเพื่อเสริมสร้างความรับผิดชอบที่ตรวจสอบได้ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ( = 3.224) เมื่อพิจารณารายด้านพบว่าด้านสุขภาวะที่ดีทางกายภาพและอารมณ์ของผู้เรียนมีค่าเฉลี่ยสภาพปัจจุบันสูงที่สุด ( = 3.352) สภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารโรงเรียนเพื่อเสริมสร้างความรับผิดชอบที่ตรวจสอบได้ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.567) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่าด้านความเป็นธรรมในโอกาสการเรียนรู้ มีค่าเฉลี่ยสภาพที่พึงประสงค์สูงที่สุด ( = 4.679) 3) จุดแข็งของการบริหารโรงเรียนเพื่อเสริมสร้างความรับผิดชอบที่ตรวจสอบได้ คือ ผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียนและสุขภาวะที่ดีทางกายภาพและอารมณ์ของผู้เรียน ส่วนจุดอ่อน คือ การยกระดับขีดความสามารถของครูและการบริหารโรงเรียน ความเป็นธรรมในโอกาสการเรียนรู้ของผู้เรียน และการเสริมสร้างพลังอำนาจผู้ปกครองและชุมชน โอกาสของการบริหารโรงเรียนเพื่อเสริมสร้างความรับผิดชอบที่ตรวจสอบได้คือ สภาพเทคโนโลยี ส่วนภาวะคุกคาม คือ นโยบายของรัฐ สภาพเศรษฐกิจ และสภาพสังคม 4) กลยุทธ์การบริหารโรงเรียนเพื่อเสริมสร้างความรับผิดชอบที่ตรวจสอบได้ ประกอบด้วย (1) ปฏิรูปการยกระดับขีดความสามารถของครูและการบริหารโรงเรียนเพื่อเสริมสร้างความรับผิดชอบที่ตรวจสอบได้ (2) มุ่งเน้นความเป็นธรรมในโอกาสการเรียนรู้ของผู้เรียนเพื่อเสริมสร้างความรับผิดชอบที่ตรวจสอบได้ (3) เสริมสร้างพลังอำนาจผู้ปกครองและชุมชนเพื่อเสริมสร้างความรับผิดชอบที่ตรวจสอบได้ (4) ยกระดับผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียนเพื่อเสริมสร้างความรับผิดชอบที่ตรวจสอบได้ (5) มุ่งพัฒนาสุขภาวะที่ดีทางกายภาพและอารมณ์ของผู้เรียนเพื่อเสริมสร้างความรับผิดชอบที่ตรวจสอบได้ |
Other Abstract: | The objectives of this research were 1) to study the framework of school management to enhance the accountability 2) to study the current and desirable states of school management to enhance the accountability 3) to analyze strengths, weaknesses, opportunities and threats of school management to enhance the accountability and 4) to develop school management strategies to enhance the accountability. The study applied a mixed method approach. The sample population were 395 schools under the office of the Basic Education Commission. The instruments used in this study were questionnaires and the strategic evaluation form to testify feasibility and appropriateness. The data were analyzed by frequency, percentage, standard deviation, PNI Modified and content analysis. The research results showed that : 1) the framework of school management to enhance the accountability consisted of five component : physical and emotional well-being of students, students Learning outcome, equity of opportunity to learn for students, Improving the capacity of teachers and school management and parents and community empowerment. 2) In general, the current state of school management to enhance the accountability performed at the middle level ( = 3.224). While considering each aspect, physical and emotional well-being of students had the highest average ( = 3.352). The desirable state of management to enhance the accountability was performed at the highest level, as a whole. While considering each aspect, equity of opportunity to learn for students had the highest average ( = 4.679). 3) The strengths of management to enhance the accountability were students learning outcome and physical and emotional well-being of students, while the weaknesses of management to enhance the accountability were improving capacity of teachers and school management, as well as parents and community empowerment. The opportunity for management to enhance the accountability was technology. While the threats for management to enhance the accountability were the government policy, economy and society. 4) The school management strategies to enhance the accountability were (1) Reforming for improving the capacity of teachers and school management to enhance the accountability ; (2) focusing on equity of opportunity to learn for students to enhance the accountability; (3) enhancing parents and community empowerment to improve the accountability; (4) upgrading students learning outcome to enhance the accountability; (5) focusing on developing physical and emotional well-being of students to enhance the accountability. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558 |
Degree Name: | ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาเอก |
Degree Discipline: | บริหารการศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50286 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5584236527.pdf | 13.97 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.