Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50318
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอิทธิ ตริสิริสัตยวงศ์en_US
dc.contributor.authorวนิดา เลิศวัฒนมงคลen_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2016-12-01T08:04:51Z
dc.date.available2016-12-01T08:04:51Z
dc.date.issued2558en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50318
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558en_US
dc.description.abstractงานวิจัยนี้สร้างแบบจำลองเหตุการณ์น้ำท่วมจากการเพิ่มขึ้นของน้ำทะเลบริเวณชายฝั่งกรุงเทพมหานคร จังหวัดสมุทรปราการ และบางส่วนของจังหวัดฉะเชิงเทรา โดยนำปัจจัยทางธรณีฟิสิกส์ 4 ปัจจัยมาวิเคราะห์ร่วมกัน ได้แก่ อัตราการเพิ่มขึ้นของระดับทะเล 5 มิลลิเมตรต่อปี การทรุดตัวของแผ่นดินที่มีค่าตั้งแต่ 0 ถึง 30 มิลลิเมตรต่อปี การเปลี่ยนแปลงค่าระดับของแผ่นเปลือกโลกซุนดาและวัฏจักรรายปีของระดับน้ำทะเลในอ่าวไทยที่มีค่าแอมพลิจูดประมาณ 20 เซนติเมตร จากนั้นจัดทำแผนที่น้ำท่วมเพื่อแสดงขอบเขตพื้นที่น้ำท่วมและระดับน้ำในแต่ละบริเวณ จากแบบจำลองแสดงให้เห็นว่าในปี 2007 พื้นที่ศึกษาเริ่มเกิดน้ำท่วมบริเวณชายฝั่งทางตะวันตกของกรุงเทพมหานคร ได้แก่ ตำบลนาเกลือ ตำบลบ้านคลองสวน และตำบลแหลมฟ้าผ่า อำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการและในปี 2060 พื้นที่ชายฝั่งมีน้ำท่วมมากถึง 135 ตารางกิโลเมตร เมื่อทดสอบเพิ่มความสูงของคันกั้นน้ำขึ้นจากปัจจุบัน 0.75 เมตรสามารถลดพื้นที่น้ำท่วมเหลือประมาณ 7.05 ตารางกิโลเมตร แสดงให้เห็นว่าการเพิ่มความสูงของคันกั้นน้ำสามารถป้องกันน้ำท่วมได้ในระยะยาว นอกจากนี้ปัจจัยเรื่องการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลกก็มีผลต่อระดับน้ำ จากแบบจำลองในปี 2010 และปี 2050 พบว่าเมื่อพิจารณาปัจจัยดังกล่าวในแบบจำลอง ขอบเขตของพื้นที่น้ำท่วมลดลง เนื่องจากช่วงเวลาดังกล่าวแผ่นเปลือกโลกมีการลดระดับลงประมาณ 28 และ 50 มิลลิเมตร ตามลำดับ เช่นเดียวกับปัจจัยด้านวัฎจักรของระดับน้ำทะเลในอ่าวไทยที่ทำให้ขอบเขตพื้นที่น้ำท่วมและระดับน้ำในแต่ละเดือนแตกต่างกัน จากแบบจำลองในเดือนมกราคมปี 2020 มีพื้นที่น้ำท่วมร้อยละ 1.43 ของพื้นที่ทั้งหมด ในขณะที่เดือนกรกฎาคมปีเดียวกันพื้นที่น้ำท่วมมีขนาดเพียงร้อยละ 0.48 อย่างไรก็ตามการทรุดตัวของแผ่นดินซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วทั้งในเชิงพื้นที่และเชิงเวลาเป็นตัวแปรสำคัญที่มีผลกระทบต่อความถูกต้องของผลลัพธ์จากแบบจำลอง ดังนั้นควรมีการติดตามการทรุดตัวของแผ่นดินอย่างสม่ำเสมอเพื่อนำข้อมูลมาปรับปรุงแบบจำลอง อีกทั้งระดับน้ำที่อยู่ในบริเวณบ่อประมงและนาเกลือทำให้ข้อมูลความสูงภูมิประเทศเชิงเลขบริเวณดังกล่าวสูงเกินจริงส่งผลให้ค่าความลึกน้ำท่วมต่ำกว่าความเป็นจริง จึงควรมีการศึกษาข้อมูลเพื่อประมาณความลึกของบ่อน้ำอันจะช่วยทำให้สามารถได้ความลึกของระดับน้ำท่วมที่ถูกต้องขึ้นได้en_US
dc.description.abstractalternativeThis research aims to provide a model of flooding area in the coast of Greater-Bangkok, taking into account the four geophysical factors of rising of sea level at 5 mm/yr, land subsidence of 0 – 30 mm/yr, variation of vertical plate motion in the seismic cycle of Sumatra-Andaman earthquake and annual cycle of sea level in the Gulf of Thailand with the amplitude of 20 cm. Then, flood maps are produced to display affected area and flood depth in different scenarios. According to January-2007 scenario, flooding occurs in Na-Klua, Ban Khlong Suan, and Laem Fah Pa in Phra Samut Chedi subdistrict, Samutprakarn. In 2060 scenario, there are about 135 square kilometers of sea flood in coastal area but, only 7.05 square kilometers are left over when applying 0.75 meters more to the dyke height. This helps reducing flood in long-term. Plate motion also affect the height of flood as demonstrated in 2010 and 2050 scenarios, the flood depth are lower when considering this factor in the model because the Sunda plate is subsiding about 28 and 50 millimeters respectively. In addition, annual cycle of sea level in the gulf of Thailand causes each month to have different water height. In 2020 scenario, there is 1.43 percent of flood in January while there is only 0.48 percent in July. However, land subsidence is a large scale phenomenon, which has rapid spatial and temporal change, appears to be the main factor that affects model accuracy. Thus, a continuous monitoring of land subsidence is essential for model developing. Underestimation of flood depth caused by the water in aqual-culture areas can be alleviated by estimating the actual depth of ponds which will help improve the accuracy of modelled flood depth.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2015.568-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectพยากรณ์น้ำท่วม
dc.subjectน้ำทะเล
dc.subjectการป้องกันชายฝั่ง
dc.subjectพยากรณ์ธรณีฟิสิกส์
dc.subjectFlood forecasting
dc.subjectSeawater
dc.subjectCoast defense
dc.subjectGeophysical prediction
dc.titleการจำลองภาพเหตุการณ์น้ำทะเลท่วมบริเวณชายฝั่งกรุงเทพมหานครและปริมณฑลจากปัจจัยทางธรณีฟิสิกส์en_US
dc.title.alternativeScenario simulation of sea flood in Coastal Greater-Bangkok by geophysical factorsen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineวิศวกรรมสำรวจen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorItthi.T@Chula.ac.th,Itthi.t@gmail.comen_US
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2015.568-
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5670358121.pdf11.88 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.