Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50321
Title: อิทธิพลของความกว้างช่องทางเดินและปัจจัยพื้นฐานของมนุษย์ต่ออัตราหน่วงในการเดินผ่าน
Other Titles: Effects of passageway width and basic human factors on deceleration rate of walking through
Authors: สิวลี เจตธำรง
Advisors: ไพโรจน์ ลดาวิจิตรกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Phairoat.L@Chula.ac.th,phairoat@hotmail.com
Subjects: ทางเท้า
การออกแบบพื้นที่คนเดินเท้า
Sidewalks
Pedestrian facilities design
Issue Date: 2558
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ความกว้างของทางสัญจร เป็นปัจจัยหลักอันหนึ่งที่ควรคำนึงถึงในการออกแบบแผนผังอาคารสถานที่สาธารณะต่างๆ เนื่องจากส่งผลกระทบต่อเวลาที่ใช้ในการสัญจร วิธีที่นิยมใช้ประเมินความกว้างของทางสัญจรในปัจจุบัน ได้แก่ การจำลองสถานการณ์ด้วยคอมพิวเตอร์ ที่กำหนดให้ความเร็วการเดินของมนุษย์จำลองนั้นไม่มีการเปลี่ยนแปลงเมื่อเข้าสู่บริเวณที่แคบลง งานวิจัยนี้จึงศึกษาอิทธิพลของความกว้างช่องทางเดินที่มีต่ออัตราเร็วการเดินของมนุษย์เป็นรายบุคคล โดยมีผู้เข้าร่วมการทดลองจำนวน 60 คน เดินผ่านช่องทางเดินที่มีความกว้างตั้งแต่ 40 ถึง 100 เซนติเมตร บันทึกอัตราเร็วการเดินด้วยระบบบันทึกการเคลื่อนไหวด้วยภาพ ผลการวิจัยพบว่า ผู้เข้าร่วมการทดลองทั้งหมดมีพฤติกรรมเป็นไปตามทฤษฎีการแลกเปลี่ยนความเร็วและความแม่นยำ โดยผู้เข้าร่วมการทดลองลดอัตราเร็วการเดินเมื่อช่องทางเดินแคบลง รูปแบบการลดอัตราเร็วมีความหลากหลายซึ่งสามารถแบ่งพฤติกรรมเหล่านี้ออกได้เป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ 1 ลดอัตราเร็วตามความกว้างช่องทางเดินตั้งแต่เริ่มต้นจนเดินผ่านช่องทางเดินไป, กลุ่มที่ 2 ลดอัตราเร็วตามความกว้างช่องทางเดินเมื่อเดินเข้าใกล้ช่องทางเดิน, กลุ่มที่ 3 ลดอัตราเร็วตามความกว้างช่องทางเดินตั้งแต่เริ่ม แต่ลดอัตราเร็วเท่ากันในทุกความกว้างช่องทางเดินเมื่อเข้าใกล้ช่องทางเดิน และกลุ่มที่ 4 ลดอัตราเร็วโดยไม่มีความสัมพันธ์กับความกว้างช่องทางเดิน ซึ่งสามารถใช้การวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้นตรงพหุคูณ เพื่อพยากรณ์พฤติกรรมการใช้อัตราเร็วในการเดินของแต่ละกลุ่ม
Other Abstract: Passageway width is one of key factors to concern in layout design of public place because it affects directly to overall traffic time. Nowadays, common assessment method is computer simulation which specifies the constant walking speed of human model while approaching the narrow passageway. This research aims to study an effect of passageway width on individual walking speed. Sixty participants walked through the passageway that was set the width from 40 to 100 centimeters. Walking speed was recorded by an optical motion capture system. The results showed that all participants had their behavior following the speed and accuracy trade-off theory. Their walking speed reduced along with the decreasing width of passageway. The variation of walking speed behaviors can be classified into 4 groups; the first group had reduced speed along the narrower passageway at the initial point until passed through the passageway, the second group had reduced speed along the narrower passageway when got close to the passageway, the third group had reduced speed along the narrower passageway at the initial point but had reduced speed equally in all passageway widths when got close to the passageway and the fourth group had reduced speed but did not relate to passageway width. Multiple linear regression analysis was used to predict the walking speed behavior of each group.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมอุตสาหการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50321
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2015.572
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2015.572
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5670429021.pdf7.59 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.