Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50679
Title: ย่านไชน่าทาวน์เยาวราช: พื้นที่การนำเสนออัตลักษณ์เชิงซ้อนของวัฒนธรรมความเป็นจีนในสังคมไทยร่วมสมัย
Other Titles: Bangkok's Chinatown : a space for presenting multiple identities of Chineseness in contemporary Thai society
Authors: นรุตม์ คุปต์ธนโรจน์
Advisors: ศิราพร ณ ถลาง
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์
Advisor's Email: Siraporn.N@Chula.ac.th,Siraporn.N@chula.ac.th
Subjects: ไชน่าทาวน์ -- ไทย
อัตลักษณ์
ชาวจีน -- ไทย -- ความเป็นอยู่และประเพณี
Chinatowns -- Thailand
Identity (Philosophical concept)
Chinese -- Thailand -- Manners and customs
Issue Date: 2558
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์เล่มนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิธีการนำเสนออัตลักษณ์วัฒนธรรมความเป็นจีนในย่านไชน่าทาวน์เยาวราชในบริบทสังคมไทยร่วมสมัย เพื่อวิเคราะห์ “อัตลักษณ์เชิงซ้อน” ที่มีลักษณะหลากหลายในพื้นที่ทางวัฒนธรรมในย่านเยาวราช รวมทั้งวิเคราะห์ปัจจัยและบริบททางสังคมที่มีผลต่อการนำเสนออัตลักษณ์ทางวัฒนธรรม ผู้วิจัยศึกษาอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมความเป็นจีนผ่านพื้นที่ทางวัฒนธรรมที่เกิดขึ้นในย่านได้แก่เทศกาลตามประเพณีจีนซึ่งจัดขึ้นอย่างมีนัยสำคัญจำนวน 4 เทศกาล คือ เทศกาลตรุษจีน เทศกาลบ๊ะจ่าง เทศกาลไหว้พระจันทร์ และเทศกาลกินเจ โดยเก็บข้อมูลตั้งแต่ช่วงปี พ.ศ. 2555 – พ.ศ. 2558 รวมถึงแหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรมในย่าน ได้แก่ ศูนย์ประวัติศาสตร์เยาวราช วัดไตรมิตรวิทยาราม พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นเขตสัมพันธวงศ์ และพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นบ้านเก่าเล่าเรื่องชุมชนเมืองเจริญไชย ผลการศึกษาพบว่า เทศกาลตามประเพณีจีนและแหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรมในย่านเยาวราชเป็นพื้นที่ทางวัฒนธรรมให้กลุ่มต่างๆ นำเสนออัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมความเป็นจีน ในพื้นที่เยาวราชมีกลุ่มที่จัดงานเทศกาลและแหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรมในบริบทต่างๆ อยู่ 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่หนึ่ง คือ สำนักงานเขตสัมพันธวงศ์ สภาวัฒนธรรมเขตสัมพันธวงศ์ นักการเมืองท้องถิ่นและบริษัทออร์กาไนเซอร์ และกลุ่มที่สอง คือ ผู้จัดระดับชุมชน มีทั้งสิ้น 3 ชุมชน คือ ชุมชนเวิ้งนาครเขษม ชุมชนตลาดน้อย และชุมชนเจริญไชย อัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมความเป็นจีนที่นำเสนอ คือ อัตลักษณ์ที่เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ อัตลักษณ์ที่เกี่ยวกับวิถีชีวิต เช่น อาหาร อาชีพ พิธีกรรมความเชื่อ และอัตลักษณ์การเป็นคนไทยเชื้อสายจีนใต้ร่มพระบรมโพธิสมภาร ทั้งนี้อัตลักษณ์ที่นำเสนอโดยกลุ่มคนทั้งสองกลุ่มนับว่าเป็น “อัตลักษณ์เชิงซ้อน” ที่ “หลากหลาย” และ “ซ้อนทับ” อีกทั้งยังมีความซับซ้อนของผู้สร้างและนำเสนออัตลักษณ์ รวมทั้งมีลักษณะเชิงซ้อนของกระบวนการสร้างสรรค์และวิธีนำเสนออัตลักษณ์ก็มีการผลิตซ้ำ ประดิษฐ์สร้าง และอ้างอิงวัฒนธรรมอื่น ซึ่งแปรไปตามปฏิสัมพันธ์ที่คนในพื้นที่ต้องเผชิญด้วย เช่น นักท่องเที่ยว กลุ่มทุน ผู้วิจัยพบว่า การนำเสนออัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมความเป็นจีนที่เกิดขึ้นในย่านเยาวราชดังที่กล่าวมา เกิดขึ้นท่ามกลางบริบทของการท่องเที่ยวและบริบทของโลกาภิวัตน์ทั้งในมิติของบุคคล เทคโนโลยี ทุน สื่อไร้พรมแดน และ อุดมการณ์ซึ่งเป็นบริบททางสังคมที่สำคัญที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้
Other Abstract: This thesis aimed to investigate the ways of presenting Chinese cultural identities in Bangkok’s Chinatown in contemporary Thai social context in order to analyze the diversified “multiple identity” in Bangkok’s Chinatown area as well as to analyze the globalization as the cause and the social context that affects the ways of presenting Chinese cultural identities in Bangkok’s Chinatown. The thesis studied the presentation of Chinese cultural identities through 4 significant Chinese cultural festivals held in Bangkok’s Chinatown area, namely, Chinese New Year Festival, Duan Wu Festival (เทศกาลบ๊ะจ่าง), Moon Festival, and Chinese vegetarian festival. Field data were collected from the year 2012 to 2015 in Bangkok’s Chinatown area and Yaowarat’s cultural learning resources i.e., Yaowarat Chinatown heritage center at Wat Trimitwitthayaram, Local museum of Samphanthawong district at Wat Trimitrawittayaram, and Local museum of Charoenchai community preservation project. The findings reveal that the Chinese cultural learning resources and the Chinese festivals held in Bangkok Chinatown allow parties of people to express their Chinese cultural identities. In Bangkok Chinatown, there are two main groups holding the Chinese cultural learning resources and festivals: the first group is the District Office, Samphanthawong Council of cultural Affairs, local politicians, event organizer companies, while Verng Nakorn Kasem community, Talad Noi community, and Chareonchai community is the second group. Chinese cultural identities found in the study are their historical area, their life style such as foods, rituals and beliefs, and the identity of being Chinese Thai under the royal benevolence. The identities presented by both groups are regarded as “multiple identity” which are “diversified” and “overlapping.” They are perceived to be complex due to the creators and the ways of presenting the identities. The complexity is also the result of the process and the ways of presenting identities which include the reproduction, the invention, the reference to other cultures which vary and depend upon the stakeholders such as the tourists and the funding parties. It is also found that the presentation of Chinese identities in Yaowarat, Bangkok Chinatown, arises in the significant and unavoidable social context of tourism and globalization, perceived in all dimensions: ethnoscapes, technoscapes, financescapes, mediascapes, and ideoscapes.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558
Degree Name: อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: ภาษาไทย
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50679
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2015.942
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2015.942
Type: Thesis
Appears in Collections:Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5480509022.pdf13.57 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.