Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50725
Title: การเปลี่ยนแปลงการบริหารทรัพยากรกายภาพท่าอากาศยาน ปี พ.ศ. 2549-2557กรณีศึกษา : ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
Other Titles: The development of facility management from 2549-2557 case study : Suvarnabhumi Airport
Authors: สิรวีร์ พราหมณ์สุวรรณ
Advisors: เสริชย์ โชติพานิช
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Sarich.C@Chula.ac.th,sarich.c@chula.ac.th
Subjects: ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
ท่าอากาศยาน -- การบริหาร
การบริหารทรัพยากรกายภาพ
การจัดการสิ่งอำนวยความสะดวก
Suvarnabhumi Airport
Airports -- Administration
Facility management
Issue Date: 2558
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เป็นท่าอากาศยานแห่งชาติ มีอาคารหลัก 2 อาคาร คือ อาคารผู้โดยสารและอาคารเทียบเครื่องบิน A-G พื้นที่รวม 563,000 ตร.ม. เปิดให้บริการตั้งแต่ปี 2549 จนถึงปัจจุบัน สามารถรองรับผู้โดยสาร 45 ล้านคนต่อปีและเปิดใช้อาคารตลอด 24 ชั่วโมง บริหารจัดการโดยบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาพรวมของการเปลี่ยนแปลงการบริหารทรัพยากรกายภาพในช่วงปี 2549-2557 ใช้วิธีการรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร สัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้อง จากนั้นนำข้อมูลที่ได้มาทำการวิเคราะห์และอภิปรายผล จากการศึกษาพบว่า การบริหารทรัพยากรกายภาพท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ แบ่งออกเป็น 2 สายงาน คือ สายปฏิบัติการและสายบำรุงรักษา โดยสายปฏิบัติการ ได้แก่ ฝ่ายรักษาความปลอดภัย ฝ่ายการท่าอากาศยาน ฝ่ายดับเพลิงและกู้ภัย ในสายบำรุงรักษา ได้แก่ ฝ่ายไฟฟ้าและเครื่องกล ฝ่ายสนามบินและอาคาร ในทางกายภาพอาคารพบว่ามีการเปลี่ยนแปลงของอาคารผู้โดยสารและอาคารเทียบเครื่องบินทั้งหมด 34,108 ตร.ม. โดยเป็นพื้นที่บริการผู้โดยสาร 14,844 ตร.ม. รองลงมาคือพื้นที่ส่วนกลางและทางสัญจร 14,373 ตร.ม. พื้นที่ห้องน้ำ 2,695 ตร.ม. พื้นที่หน่วยงานรัฐ 1,146 ตร.ม. พื้นที่เช่าสายการบิน 1,050 ตร.ม. พื้นที่ที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงคือ พื้นที่ร้านค้า และพื้นที่ระบบประกอบอาคาร ในด้านการเปลี่ยนแปลงการบริหารทรัพยากรกายภาพ มีการเปลี่ยนแปลง 3 ครั้ง ครั้งแรกในปี 2550 เป็นการเปลี่ยนแปลงในระดับโครงสร้างการบริหาร โดยนโยบายขององค์กรเป็นปัจจัยที่เชื่อมโยงกับการเปลี่ยนแปลง ครั้งที่สองในปี 2552 ครั้งที่สามในปี 2556 เป็นการเปลี่ยนแปลงในระดับขอบเขตงาน โดยนโยบายขององค์กรและการเปลี่ยนแปลงพื้นที่อาคารเป็นปัจจัยที่เชื่อมโยงการเปลี่ยนแปลง การศึกษานี้เสนอว่า ผู้บริหารท่าอากาศยานอื่นๆในประเทศไทย ควรคำนึงถึงปัจจัยที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงภายในท่าอากาศยาน แล้วนำมาจัดโครงสร้างการบริหาร หน่วยงาน และขอบเขตงานของการบริหารทรัพยากรกายภาพให้มีความเหมาะสม พร้อมทั้งปรับปรุงกายภาพอาคารให้มีความพร้อมในการให้บริการ เพื่อตอบสนองต่อผู้โดยสารและผู้ใช้บริการได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
Other Abstract: Suvarnabhumi Airport, Thailand’s national airport, was officially opened in 2006. There are two main buildings with 563,000 square meters; Passenger Terminal and Concourse Buildings A-G, which can accommodate 45 million passengers per year, are open 24/7 for service. Suvarnabhumi Airport is managed by Airports of Thailand Public Company Limited (AOT). The objective of this case study is to identify the development of the facility management from 2006-2014. This case study found that the facility management of Suvarnabhumi Airport has two key functions: operation and maintenance. The operation function includes the Security Department, Landside Operations Department, and the Rescue and Fire Fighting Department. The maintenance function involves, the Electrical and Mechanical Department, and the Airfield and Building Department. Also, this case study found that an area of 34,108 sq.m. in the terminal building and concourse buildings were developed during the studied period which resulted in the following: 14,844 sq.m. of passenger service areas, 14,373 sq.m. of shared areas, 2,695 sq.m. for restrooms, 1,146 sq.m. for government agencies, and 1,050 sq.m. for domestic and international departures. However, shops and the building’s system and control rooms remained unchanged. The development of facility management took place 3 times. Firstly, there was organization restructuring in 2007. This change also led to the following two changes in scope of work which happened in 2009 and 2013, related to organizational policies and developed usable areas of the building. This case study proposes the executive management of all airports in Thailand consider every factor creating changes within the airport and then reorganize the operating structure to fit with the scope of work of the facility management. Also, renovation of the buildings’ structure and functions to reach their fullest to best accommodate the passengers is also recommended.
Description: วิทยานิพนธ์ (สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558
Degree Name: สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สถาปัตยกรรม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50725
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2015.553
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2015.553
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5573573125.pdf6.79 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.