Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50750
Title: ผลฉับพลันของการนวดไทยที่มีต่อการตอบสนองของหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่เกิดจากการขาดเลือด
Other Titles: ACUTE EFFECTS OF THAI TRADITIONAL MASSAGE ON CEREBROVASCULAR REACTIVITY IN ISCHEMIC STROKE PATIENTS
Authors: ทัศนา จารุชาต
Advisors: ดรุณวรรณ สุขสม
นิจศรี ชาญณรงค์
ฮิโรฟุมิ ทานากะ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา
Advisor's Email: Daroonwan.S@Chula.ac.th,daroonwanc@hotmail.com
Nijasri.C@Chula.ac.th,nijasris@yahoo.com
htanaka@austin.utexas.edu
Subjects: การนวด -- ไทย
การบำบัดด้วยการนวด
โรคหลอดเลือดสมอง -- ผู้ป่วย
Massage -- Thailand
Massage therapy
Cerebrovascular disease -- Patients
Issue Date: 2558
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลฉับพลันของการนวดไทยที่มีต่อการตอบสนองของหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่เกิดจากการขาดเลือด อาสาสมัครเป็นผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง จำนวน 14 คน อายุระหว่าง 40-80 ปี ที่มีการตีบของหลอดเลือดสมองจากภาวะมีลิ่มเลือดอุดตัน มีอาการหลังเริ่มมีภาวะสมองขาดเลือดไม่เกิน 2 ปี และเป็นไม่มากกว่า 1 ครั้ง โดยถูกสุ่มเข้ารับการทดลอง 2 สภาวะ ได้แก่ สภาวะนอนพัก (n = 14) และสภาวะนวดไทย (n = 13) สำหรับการทดลองแบบไขว้กันครั้งนี้ ผู้ป่วยในสภาวะนอนพักได้รับการนอนในท่าสบายและไม่ได้รับการนวดไทย เป็นเวลา 60 นาที ในขณะที่ผู้ป่วยในสภาวะนวดไทยได้รับการนวดไทย เป็นเวลา 60 นาทีบริเวณร่างกาย ได้แก่ ศีรษะ คอ บ่า แขน หลัง และขา ด้วยวิธีการนวดไทยที่ประกอบด้วยการกด คลึง บีบ จับ และการยืดเหยียด ก่อนและหลังการทดลอง ทำการทดสอบตัวแปรการทำงานของหลอดเลือดสมอง การทำงานของระบบประสาทอัตโนวัติ และสารชีวเคมีในเลือด แล้วทำการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วยการทดสอบความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ และเปรียบเทียบความแตกต่างแบบรายคู่ โดยใช้วิธีการทดสอบของบอนเฟอโรนี่ ผลการวิจัย พบว่า ที่เวลา 60 นาทีหลังทดลอง ผู้ป่วยในสภาวะนวดไทยมีความเร็วเฉลี่ยของเลือดที่ไหลในหลอดเลือดสมองสูงกว่าสภาวะนอนพักอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 ดัชนีความสามารถในการไหลของเลือดในสมองภายหลังการนวดไทยที่เวลา 60 นาทีสูงขึ้นในสภาวะปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ปกติ แต่กลับคืนสู่สภาพปกติภายในนาทีที่ 120 การตอบสนองของหลอดเลือดสมองของผู้ป่วยในสภาวะนวดไทยสูงขึ้นในช่วงสภาวะปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ระดับปกติจนถึงระดับสูง ความแปรปรวนของอัตราการเต้นของหัวใจความถี่สูงสูงขึ้น แต่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงของความแปรปรวนของอัตราการเต้นของหัวใจความถี่ต่ำ สัดส่วนของค่าความแปรปรวนของอัตราการเต้นของหัวใจความถี่ต่ำต่อความถี่สูงลดลงขณะรับการนวดไทยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ระดับคอร์ติซอลในเลือดลดลงและระดับเบต้า-เอนโดฟินในเลือดเพิ่มขึ้นในสภาวะนวดไทยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สรุปได้ว่า การนวดไทยช่วยทำให้ความเร็วของเลือดที่ไหลในหลอดเลือดสมองและการตอบสนองของหลอดเลือดสมองดีขึ้นในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่เกิดจากการขาดเลือด การมีเลือดไปเลี้ยงสมองที่ดีขึ้นนี้ อาจเป็นผลจากการนวดไทยนั้นทำให้มีระดับความเครียดที่ลดลงอันเนื่องมาจากมีการทำงานของระบบประสาทพาราซิมพาเทติกที่สูงขึ้น
Other Abstract: The purpose of this study was to determine acute effects of Thai traditional massage on cerebrovascular reactivity in patients with ischemic stroke. Fourteen patients aged 40-80 years with a single episode of ischemic stroke due to thrombosis of cerebral arteries (onset ≤2 years) were randomly assigned into either the sham control (CON; n=14) or the Thai traditional massage (TTM; n=13) conditions. In this randomized crossover study trial, each participant of CON condition underwent 60 min of quiet rest (laying down on the supine position) while each participant of TTM condition underwent 60 min of TTM, which consisted of petrissage, friction, and passive stretching on the whole body. Before and after the treatment session, cerebrovascular function, autonomic nervous system function, and blood chemistry data were assessed and statistics analyzed using ANOVA with repeated measures followed by Bonferroni’s multiple comparisons. The results showed that at 60 min post test, cerebral blood flow velocity (CBFV) was greater (p<0.05) after the TTM than the CON. Cerebrovascular conductance index (CVCi) increased (p<0.05) at 60 min after TTM in normocapnic condition but returned to the baseline level within 120 min. A significant increase in cerebrovascular reactivity was observed only in the TTM at normocapnic to hypercapnic condition. High-frequency (HF) component of heart rate variability increased (p<0.05) but low-frequency (LF) did not change. Accordingly, the LF:HF ratio decreased during TTM (p<0.05). Blood cortisol level was reduced and beta-endorphin level was increased (p<0.05) only in the TTM condition. In conclusion, a single treatment of Thai traditional massage improves cerebral blood flow velocity and cerebrovascular reactivity in patients with ischemic stroke. The improved cerebral perfusion may be related to stress reduction as parasympathetic nervous activity was also increased.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558
Degree Name: วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์การกีฬา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50750
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2015.884
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2015.884
Type: Thesis
Appears in Collections:Spt - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5578605539.pdf12.46 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.