Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50774
Title: การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดการสืบสอบโดยใช้แบบจำลองเป็นฐานและแนวคิดการเรียนรู้โดยใช้บริบทเป็นฐานเพื่อส่งเสริมความสามารถในการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์และการถ่ายโยงการเรียนรู้ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น
Other Titles: Development of an instructional model based on model-based inquiry and context-based learning approaches to promote scientific reasoning and transfer of learning abilities of lower secondary school students
Authors: ณัฐมน สุชัยรัตน์
Advisors: วิชัย เสวกงาม
เอกรัตน์ ทานาค
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Wichai.S@Chula.ac.th,wichai.sw@hotmail.com
feduakr@ku.ac.th
Subjects: ระบบการเรียนการสอน -- การออกแบบ
การเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้
การอ้างเหตุผล
นักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น
Instructional systems -- Design
Inquiry-based learning
Reasoning
Junior high school students
Issue Date: 2558
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดการสืบสอบโดยใช้แบบจำลองเป็นฐานและแนวคิดการเรียนรู้โดยใช้บริบทเป็นฐานเพื่อส่งเสริมความสามารถในการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์และการถ่ายโยงการเรียนรู้ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น 2) ศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น การวิจัยประกอบด้วย 2 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนแรกเป็นการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน และขั้นตอนที่ 2 เป็นการประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 2 ห้องเรียน ห้องเรียนละ 50 คน โดยเป็นห้องทดลอง 1 ห้อง และห้องควบคุม 1 ห้อง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบวัดความสามารถในการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์ แบบวัดความสามารถในการถ่ายโยงการเรียนรู้ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบค่าที และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. รูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดการสืบสอบโดยใช้แบบจำลองเป็นฐานและแนวคิดการเรียนรู้โดยใช้บริบทเป็นฐานเพื่อส่งเสริมความสามารถในการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์และการถ่ายโยงการเรียนรู้ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ได้แก่ (1) ขั้นกำหนดสถานการณ์ (2) ขั้นสร้างและทดสอบแบบจำลอง (3) ขั้นโต้แย้งทางวิทยาศาสตร์ (4) ขั้นสรุปความรู้ (5) ขั้นนำไปใช้ในสถานการณ์ใหม่ 2. ประสิทธิผลของรูปแบบการสอนมีดังนี้ 2.1 นักเรียนกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความสามารถในการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์และการถ่ายโยงการเรียนรู้หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2.2 นักเรียนกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความสามารถในการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์และการถ่ายโยงการเรียนรู้สูงกว่านักเรียนกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2.3 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ พบว่า นักเรียนกลุ่มทดลองมีการพัฒนาความสามารถในการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์ และการถ่ายโยงการเรียนรู้อย่างชัดเจน โดยนักเรียนมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการเรียนรู้ดีขึ้นจากก่อนเรียน ระหว่างเรียน และหลังเรียน นักเรียนสามารถให้เหตุผลและนำความรู้ไปใช้ในสถานการณ์ในชีวิตประจำวันได้มากขึ้น
Other Abstract: This developmental research aims 1) to develop an instructional model using model-based inquiry and context-based learning approaches to promote scientific reasoning and transfer of learning abilities in lower secondary school students and 2) to study the effectiveness of the model. This project consisted of two stages: a developmental stage and an effectiveness evaluation stage. There were two groups of participants: a control group and experimental group both comprising of 50 students, grade 7 in the 2015 Academic Year. Research instruments were the lesson plans, a Scientific Reasoning Test, and a Transfer of Learning Abilities Test. The data were analyzed by arithmetic mean, standard deviation, t-test, and content analysis. The research result could be summarized as follows: 1. The instructional model developed with an aim to promote scientific reasoning and transfer of learning abilities in lower secondary students consisted of five stages: (1) Situation Setting (2) Model Development and Testing (3) Scientific Argument (4) Conclusion (5) Application. 2. The effectiveness of the instructional model after implementation, it was found that; 2.1 The experimental group had higher scores for both scientific reasoning and transfer of learning abilities than that before experiment at a .05 significance level. 2.2 The experimental group achieved higher scores for both scientific reasoning and transfer of learning abilities than the control group at the .05 significance level. 2.3 The qualitative data analysis showed that scientific reasoning and transfer of learning abilities of students in the experimental group were much more developed. The students gradually changed their learning better before, during and after learning. They could show their capacities of reasoning and applying knowledge to real life situations.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: หลักสูตรและการสอน
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50774
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2015.1127
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2015.1127
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5584241627.pdf4.21 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.