Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50777
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุวิมล ว่องวาณิชen_US
dc.contributor.advisorชยุตม์ ภิรมย์สมบัติen_US
dc.contributor.authorศุภฤกษ์ รักชาติen_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2016-12-02T02:03:50Z-
dc.date.available2016-12-02T02:03:50Z-
dc.date.issued2558en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50777-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558en_US
dc.description.abstractเครือข่ายการวิจัย คือเครือข่ายทางสังคมที่เกิดจากความร่วมมือในการวิจัยของอาจารย์มหาวิทยาลัย การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันของเครือข่ายการวิจัยในประเทศไทย 2) วิเคราะห์สภาพที่พึงประสงค์ของเครือข่ายการวิจัย 3) วิเคราะห์โครงสร้างของปัญหาในการสร้างเครือข่ายการวิจัยของประเทศไทย 4) พัฒนากลยุทธ์ในการส่งเสริมความสำเร็จของเครือข่ายการวิจัยทางการศึกษา และ 5) ตรวจสอบความเหมาะสมของกลยุทธ์ที่พัฒนาขึ้น โดยเปรียบเทียบกับเครือข่ายการวิจัยที่ประสบความสำเร็จในบริบทของประเทศไทย ใช้วิธีวิจัยแบบผสมระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ ข้อมูลที่นำมาใช้วิเคราะห์เชิงปริมาณเป็นข้อมูลนักวิจัยในประเทศไทย จำนวน 130,455 คน จากฐานข้อมูลฐานข้อมูลระบบคลังข้อมูลงานวิจัยไทยและฐานข้อมูลการประกันคุณภาพภายนอกของสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา โดยใช้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับนักวิจัยในช่วงปี 2545 - 2555 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เครือข่ายทางสังคม โมเดลการเปลี่ยนกลุ่มแฝง และโมเดลเชิงสาเหตุ การเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพใช้วิธีการสัมภาษณ์อาจารย์มหาวิทยาลัยในประเทศไทยและต่างประเทศ เกี่ยวกับสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของเครือข่ายการวิจัยในประเทศไทย ข้อมูลที่ได้นำมาวิเคราะห์ประเมินความต้องการจำเป็นและสังเคราะห์เป็นกลยุทธ์ในการพัฒนาเครือข่ายการวิจัยในประเทศไทย จากนั้นนำกลยุทธ์ที่สังเคราะห์ได้ไปตรวจสอบกับเครือข่ายการวิจัยในประเทศไทยที่ประสบความสำเร็จ ผลการวิจัยพบว่าสภาพเครือข่ายที่พึงประสงค์ควรมีสมาชิกเครือข่ายเป็นนักวิจัยที่มีเครือข่ายของตนเอง มีการผูกโยงเครือข่ายระหว่างกันระหว่างศาสตร์ต่าง ๆ อย่างหนาแน่น แต่การวิเคราะห์สภาพปัจจุบันพบว่านักวิจัยส่วนใหญ่ในประเทศไทยมีเครือข่ายในระดับน้อยจนถึงปานกลาง มีนักวิจัยเพียงกลุ่มเล็ก ๆ เท่านั้นที่ประสบความสำเร็จในการสร้างเครือข่ายการวิจัยในระดับสูง ผลการวิเคราะห์การเปลี่ยนกลุ่มแฝงชี้ให้เห็นว่าในช่วงปี 2545 – 2555 มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในเครือข่ายการวิจัยเพียงเล็กน้อย แม้ว่าจะมีนโยบายสนับสนุนเครือข่ายในช่วงเวลาดังกล่าวก็ตาม กลยุทธ์การส่งเสริมเครือข่ายการวิจัยที่พัฒนาขึ้น พบว่าควรส่งเสริมทรัพยากรในการวิจัย ความรู้ความสามารถในการวิจัย และสร้างโอกาสในการร่วมมือวิจัย เพื่อให้นักวิจัยมีความพร้อมที่จะสร้างเครือข่าย นอกจากนั้น กลยุทธ์ที่พัฒนาขึ้นยังสามารถนำไปใช้ได้อย่างเหมาะสมจากผลการตรวจสอบด้วยเครือข่ายกรณีศึกษาen_US
dc.description.abstractalternativeResearch network is a social network that emerges from the collaboration of university faculties. The objectives of this study were; 1) to study the current state of research network in Thailand 2) to analyze the expected states of research network 3) to analyze the problem structure of research network formation in Thailand 4) to develop strategies for enhancing research network in Thailand and 5) to verify the developed strategy by comparing with successful research network in Thailand. Mixed methodology between quantitative and qualitative was used in this study. Data for quantitative analysis was 130,455 researchers in Thailand from Thai National Research Repository database and external quality assurance database from Office of the Higher Education Commission. The data related to researcher who had published papers during 2002 – 2012 were selected. Data were analyzed by using social network analysis, latent transition analysis and causal model. Qualitative Data collected by interviewing faculties in Thai and foreign universities were about the current and expected state of Thai research network. The data were analyzed using needs assessment and were used for synthesis the strategies for enhancing research network in Thailand. The strategies were compared to a case study which is a successful research network in Thailand. The result showed that in the expected state of research network, researchers should have adequate network and densely connected to others field of study. However, most current Thai researchers have small number of connections and only a few researchers had successfully created a network. The Latent transition analysis showed that there is no significant change in the network during 2002 – 2012, even there were research collaboration policies supported. The strategies developed in this study showed that resource professional development and opportunity to collaborate should be supported in order to get researcher ready for collaboration. In addition, the developed strategies are well consistent with the successful research network in Thailand used as a case study.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.titleการพัฒนากลยุทธ์เพื่อส่งเสริมเครือข่ายการวิจัยทางการศึกษาของสถาบันอุดมศึกษาen_US
dc.title.alternativeDevelopment of Strategies for Enhancing Educational Research Network in Higher Education Institutionsen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameครุศาสตรดุษฎีบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาเอกen_US
dc.degree.disciplineวิธีวิทยาการวิจัยการศึกษาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorSuwimon.W@Chula.ac.th,wsuwimon@gmail.com,suwimon.w@chula.ac.then_US
dc.email.advisorChayut.P@chula.ac.then_US
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5584273727.pdf6.04 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.