Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50813
Title: | การผลิตแท่งเชื้อเพลิงจากกากตะกอนน้ำเสียชุมชนร่วมกับแกลบด้วยวิธีการอัดแบบเอ็กทรูชัน |
Other Titles: | Fabrication of briquettes from sewage sludge and rice husk using extrusion method |
Authors: | สุพัฒตรา ส่งเสริม |
Advisors: | ธเรศ ศรีสถิตย์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Advisor's Email: | Thares.S@Chula.ac.th,srisatit.thares@gmail.com |
Subjects: | กากตะกอนน้ำเสีย กากตะกอนน้ำเสีย -- การอัดผ่านขึ้นรูป เชื้อเพลิงกากตะกอนน้ำเสีย Sewage sludge Sewage sludge -- Extrusion Sewage sludge fuel |
Issue Date: | 2558 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาการผลิตแท่งเชื้อเพลิงจากกากตะกอนน้ำเสียชุมชนร่วมกับแกลบโดยมีแป้งมันสำปะหลังเป็นตัวประสานด้วยวิธีการอัดแบบเอ็กทรูชัน (Extrusion) โดยใช้เทคนิคพื้นผิวตอบสนอง (RSM) ในการหาสภาวะที่เหมาะสม เนื่องจากในปัจจุบันประเทศไทยมีระบบบำบัดน้ำเสียชุมชน รวมถึงระบบที่กำลังก่อสร้างเป็นจำนวนมากทำให้เกิดของเสียจากระบบบำบัดเหล่านี้ หรือ กากตะกอนน้ำเสียในปริมาณมาก อีกทั้งประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรมที่มีการปลูกข้าวเป็นส่วนใหญ่ จึงทำให้เกิดวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรหลังการเก็บเกี่ยวในปริมาณมาก เช่น แกลบ งานวิจัยนี้จึงได้เลือกเอาแกลบมาผสมกับกากตะกอนน้ำเสียชุมชนเพื่อผลิตเป็นแท่งเชื้อเพลิง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ประโยชน์จากกากตะกอนน้ำเสียชุมชน และลดอัตราการบำบัดกากตะกอนที่ออกจากระบบบำบัด รวมทั้งเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับเศษวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร โดยแบ่งการทดลองเป็น 2 ส่วนหลัก ๆ คือ ส่วนแรกเป็นการศึกษาหาสัดส่วนที่เหมาะสมสำหรับการขึ้นรูปแท่งเชื้อเพลิงจากกากตะกอนน้ำเสียชุมชน แกลบ และตัวประสานเพื่อหาสัดส่วนที่ทำให้แท่งเชื้อเพลิงมีค่าความทนแรงอัดสูงสุด ในส่วนที่สองเป็นการหาอุณหภูมิและเวลาในการคาร์บอไนซ์ที่ทำให้แท่งเชื้อเพลิงมีค่าพลังงานความร้อน และค่าร้อยละของผลิตภัณฑ์ของแท่งเชื้อเพลิงสูง โดยใช้อุณหภูมิและเวลาให้น้อยที่สุดเพื่อเป็นการลดพลังงานและเวลาในการผลิตแท่งเชื้อเพลิง จากงานวิจัยพบว่าสัดส่วนระหว่างกากตะกอนน้ำเสียชุมชน แกลบ และตัวประสานที่ทำให้ค่าความทนแรงอัดสูงสุด คือ สัดส่วน 5 : 4 : 1 ตามลำดับ ทำให้แท่งเชื้อเพลิงมีค่าความทนแรงอัดสูงสุดที่ 0.8337 เมกะปาสคาล โดยมีอุณหภูมิและเวลาที่เหมาะสมในการคาร์บอไนซ์แท่งเชื้อเพลิงที่อุณหภูมิ 300 องศาเซลเซียสเป็นเวลา 60 นาที ให้ค่าพลังงานความร้อนสูงสุดที่ 4,604.82 กิโลแคลอรี่ต่อกิโลกรัม และค่าร้อยละของผลิตภัณฑ์สูงสุดที่ร้อยละ 71.95 โดยมีปริมาณความชื้นและเถ้าต่ำสุดที่ร้อยละ 1.92 และร้อยละ 48.30 ตามลำดับ ขณะที่มีปริมาณของแข็งรวมและของแข็งระเหยง่ายสูงสุดที่ร้อยละ 98.08 และร้อยละ 50.05 ตามลำดับ จากผลการศึกษาเพื่อหาสภาวะที่เหมาะสมในการผลิตแท่งเชื้อเพลิงจากกากตะกอนน้ำเสียชุมชนร่วมกับแกลบด้วยเทคนิคพื้นผิวตอบสนองพบว่ามีความเป็นไปได้ในการนำเอาแท่งเชื้อเพลิงจากกากตะกอนน้ำเสียชุนชนไปใช้ในครัวเรือนและอุตสาหกรรมขนาดเล็ก |
Other Abstract: | This research is to study of briquettes from sewage sludge and rice husk using extrusion method. At present, Thailand has a lot wastewater treatment and Thailand is an agricultural country. The agricultural waste such as rice husks after harvest in large quantities. This research has taken rice husk mixed with sewage sludge to produce fuel briquettes for reducing sludge treatment and adding value to agricultural waste materials. The experiments were carried out into two parts. The first one was study the ratio of the sewage sludge, rice husk and binder from starch of cassava that gave the higher compressive strength of briquettes must be had the highest weight of sewage sludge but the weight for rice husk and binder was low. The second one was study about temperature and time of carbonization that gave the briquettes had heating value and percent yield were high, and the carbonization must be used lowest temperature and the time for saving energy. The results showed that the appropriate in ratio of sewage sludge, rice husk and binder by weight was 5 : 4 : 1. This ratio was give the highest compressive strength was 0.8337 MPa. And the appropriate of carbonization temperature was 300 degree Celsius and the time was 60 minute. That gave the briquettes has heating value 4,604.82 kcal/kg. and percent yield at 71.95 % , the moisture content and ash content were low at 1.92 % and 48.30 %. But the total solid and volatile solids were high at 98.08 % and 50.05 %. From the optimum condition for fuel briquettes produced from sewage sludge and rice husk using Response Surface Methodology (RSM). It was found that briquettes had the potential that could be developed for households and small industries. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50813 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2015.1361 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2015.1361 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5587247020.pdf | 5.65 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.