Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50929
Title: ผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สังคมศึกษาโดยใช้กระบวนการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ที่มีต่อความสามารถในการคิดสร้างสรรค์และการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
Other Titles: Effects of social studies learning activities using creative problem solving process on creative thinking and critical thinking abilities of ninth grade students
Authors: สิริลักษณ์ ตาณพันธุ์
Advisors: วลัย อิศรางกูร ณ อยุธยา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Walai.P@chula.ac.th,p_walai@hotmail.com
Subjects: สังคมศึกษา -- กิจกรรมการเรียนการสอน
สังคมศึกษา -- การศึกษาและการสอน
การแก้ปัญหาในเด็ก
Social studies -- Activity programs in education
Social studies -- Study and teaching
Problem solving in children
Issue Date: 2558
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการคิดสร้างสรรค์และการคิดอย่างมีวิจารณญาณระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนกลุ่มที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สังคมศึกษาโดยใช้กระบวนการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ และศึกษาประสิทธิผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สังคมศึกษาโดยใช้กระบวนการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 42 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบวัดความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.81 และแบบวัดความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.81 เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ แผนการจัดการเรียนรู้วิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมโดยใช้กระบวนการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ จำนวน 3 หน่วยการเรียนรู้ โดยทำการเปรียบเทียบผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติทดสอบค่าที (t - test) ผลการวิจัย พบว่า 1) นักเรียนที่ได้รับการเรียนรู้สังคมศึกษาโดยใช้กระบวนการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์มีความสามารถในการคิดสร้างสรรค์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 2) นักเรียนที่ได้รับการเรียนรู้สังคมศึกษาโดยใช้กระบวนการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์มีความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3) นักเรียนที่ได้รับการเรียนรู้สังคมศึกษาโดยใช้กระบวนการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์มีพัฒนาความสามารถในการคิดสร้างสรรค์และการคิดอย่างมีวิจารณญาณเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยมีคะแนนเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 3.27 และ 3.53 ตามลำดับ
Other Abstract: The purposes of this research were to compare between creative thinking and critical thinking abilities of ninth grade students, before and after participating of social studies learning activities using creative problem solving process. The sample was 42 students in ninth grade students. Research instrument used for data collection were creative thinking and critical thinking test with reliability of 0.81 and 0.81, respectively. The instrument used in the experiment was three social studies unit plans. Dependent t-test was applied for comparative data analysis. The results of this research were as follows that 1) The students attended social studies learning activities using creative problem solving process had higher scores in creative thinking abilities than before attending at 0.05 level of significant. 2) The students attended social studies learning activities using creative problem solving process had higher scores in critical thinking abilities than before attending at 0.05 level of significant. 3) The students attended social studies learning activities using creative problem solving process had higher scores of creative thinking and critical thinking abilities at average mean 0f 3.27 and 3.53 respectively
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การสอนสังคมศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50929
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2015.1184
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2015.1184
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5683451027.pdf6.04 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.