Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51115
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorเผดิมศักดิ์ จารยะพันธุ์en_US
dc.contributor.advisorวชิรพร วงศ์นครสว่างen_US
dc.contributor.authorประวิทย์ แก้วใหญ่en_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัยen_US
dc.date.accessioned2016-12-02T02:11:04Z
dc.date.available2016-12-02T02:11:04Z
dc.date.issued2558en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51115
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558en_US
dc.description.abstractงานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงปัจจัย ข้อขัดข้อง รวมทั้งสาเหตุของข้อขัดข้องของการพัฒนาขีดความสามารถศูนย์สงครามทุ่นระเบิดของ ทร. ในปัจจุบัน ศึกษาถึงทฤษฎี หลักการ รวมทั้งตัวอย่างของศูนย์สงครามทุ่นระเบิดของกองทัพเรือต่างๆ ที่สามารถนำมาใช้เป็นตัวแบบในการพัฒนาขีดความสามารถฯ และศึกษาถึงแนวทางในการปรับปรุงพัฒนาขีดความสามารถฯ เพื่อให้ศูนย์สงครามทุ่นระเบิดของ ทร. สามารถรวบรวมข้อมูลทางยุทธการด้านสงครามทุ่นระเบิด วางแผน อำนวยการ สั่งการ ควบคุมบังคับบัญชากำลังที่ไปปฏิบัติการด้านสงครามทุ่นระเบิด และมีความสอดคล้องกับขีดความสามารถการปฏิบัติการสงครามทุ่นระเบิดของ ทร. ผลของการวิจัย จากการวิเคราะห์ขีดความสามารถของศูนย์สงครามทุ่นระเบิดของ ทร. และแนวทางการพัฒนาขีดความสามารถฯ ที่เคยดำเนินการมา ทำให้ทราบถึงปัญหาของศูนย์สงครามทุ่นระเบิดของ ทร. ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ประกอบด้วย ปัญหาด้านองค์วัตถุ ได้แก่ การขาดโปรแกรมที่มีความเป็นเฉพาะทางในงานสนับสนุนการปฏิบัติการด้านสงครามทุ่นระเบิด (Software) การขาดอุปกรณ์คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์เชื่อมโยง Data link ที่ทันสมัย (Hardware) รวมทั้งการขาดการบริหารจัดการที่ดี และปัญหาด้านองค์บุคคล ได้แก่ การไม่มีแนวทางการพัฒนาด้านกำลังพล ซึ่งเมื่อพิจารณาทฤษฎี หลักการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อใช้ในการแก้ปัญหาดังกล่าวข้างต้น พบว่าสามารถใช้ทฤษฎีซอฟต์แวร์เอ็นจิเนียริ่ง (Software engineering) หลักการทำสงครามทุ่นระเบิดของ ทร. การศึกษาศูนย์สงครามทุ่นระเบิดของ ทร. ออสเตรเลีย (MINTACS) และหลักการบริหาร มาใช้เป็นแนวทางการพัฒนาด้านองค์วัตถุ ซึ่งทำให้สามารถกำหนดแนวทาง รวมทั้งขั้นตอนต่างๆ ในการได้มาซึ่งโปรแกรมฯ ที่ต้องการได้อย่างชัดเจน ในส่วนของแนวทางการพัฒนาด้านองค์บุคคลสามารถนำกระบวนการกรรมวิธีของศูนย์สงครามทุ่นระเบิดมาใช้เป็นแนวทางในการกำหนดแนวทางการพัฒนา โดยมีความต้องการในการพัฒนาบุคลากรแบบรอบด้าน (ความรู้ ทัศนคติ และทักษะ) ในส่วนขั้นตอนการพัฒนานั้น สามารถกำหนดได้เป็น 7 ขั้นตอนตามหลักการจัดขั้นตอนการเรียนการสอนแบบโมเดลซิปปา โดยในแต่ละขั้นตอนสามารถระบุถึงวิธีการพัฒนาในแบบต่างๆ ที่มีความเหมาะสมในการนำไปประยุกต์ใช้อันได้แก่ หลักการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน แบบค้นพบ แบบนิรนัย แบบอุปนัย และแบบบรรยาย การพัฒนาขีดความสามารถศูนย์สงครามทุ่นระเบิดถือเป็นแนวทางที่สร้างประโยชน์ให้แก่กองทัพเรือและประเทศชาติได้อย่างมากมาย เนื่องจากงานของศูนย์สงครามทุ่นระเบิดจะสามารถสนับสนุนงานทางด้านความมั่นคงและด้านเศรษฐกิจของประเทศได้อย่างครอบคลุมทั้งทางตรงและทางอ้อม นอกจากนี้ยังเป็นแนวทางที่มีความคุ้มค่าเนื่องจากใช้งบประมาณดำเนินการไม่มากเมื่อเทียบกับการพิจารณาจัดหาระบบฯ เข้ามาใช้จากต่างประเทศen_US
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this research are to study the obstacles in the development of Royal Thai Navy mine warfare center including causes and effects. This research is performed by reviewing the implementations of other navies mine warfare centers in order to be able to specify capabilities required for a successful mine warfare center. These capabilities include the knowledge management for mine warfare operations, mine warfare planning capabilities, command control capabilities. This research finds that the main obstacles in developing successful mine warfare capabilities lies into two main categories 1) Technologies: due to the lack or out of date of necessary systems for mine warfare operations (including both software and hardware) and 2) People: the lack of reliable personal development plan. Using software engineering theory, RTN concept of mine warfare operations, study of Australian navy mine warfare center (MINTACS) and general management theory, this research is able to clearly define technology development approaches. For the people development approaches, this research reviews the operating processes and procedures in a mine warfare center and concludes that the personal development plan must cover knowledge, vision, and skills and can be defined into 7 steps according CIPPA development model. The development model for mine warfare center will greatly benefit the Royal Thai Navy and Thailand in general, since self-developed mine warfare center can increase national security capability with less cost compare to purchasing from abroad.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2015.916-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectศูนย์สงครามทุ่นระเบิด กองทัพเรือ -- การบริหาร
dc.subjectขีดความสามารถทางทหาร
dc.subjectทุ่นระเบิด
dc.subjectThai Navy's Mine Warfare Center -- Administration
dc.subjectMilitary readiness
dc.subjectMines (Military explosives)
dc.titleแนวทางการพัฒนาขีดความสามารถศูนย์สงครามทุ่นระเบิดของกองทัพเรือen_US
dc.title.alternativeApproach to enhance the capabilities of the royal Thai Navy's Mine Warfare Centeren_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineการบริหารกิจการทางทะเลen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorDirARRI@Chula.ac.th,Padermsak.J@Chula.ac.then_US
dc.email.advisornakorn911@hotmail.comen_US
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2015.916-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5787184220.pdf4.05 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.