Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51184
Title: | รูปแบบห้องเรียนเสมือนที่ใช้ภารกิจปฏิบัติการอ้างเหตุผลเพื่อส่งเสริมความสามารถในการให้เหตุผลเชิงวิเคราะห์สำหรับผู้เรียนระดับบัณฑิตศึกษา |
Other Titles: | A virtual classroom model using argument performance task to enhance analytical reasoning ability for graduate students |
Authors: | ภัทราพร อมรไชย |
Advisors: | ใจทิพย์ ณ สงขลา ศิริเดช สุชีวะ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Advisor's Email: | Jaitip.N@Chula.ac.th,jaitipn@gmail.com,Jaitip.N@chula.ac.th Siridej.S@Chula.ac.th,sujiva.siridej@gmail.com |
Subjects: | การจัดการชั้นเรียน การอ้างเหตุผล Classroom management Reasoning |
Issue Date: | 2558 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบห้องเรียนเสมือนที่ใช้ภารกิจปฏิบัติการอ้างเหตุผลเพื่อส่งเสริมความสามารถในการให้เหตุผลเชิงวิเคราะห์ สำหรับผู้เรียนระดับบัณฑิตศึกษา และเพื่อศึกษาผลการใช้ห้องเรียนเสมือนที่ใช้ภารกิจปฏิบัติการอ้างเหตุผลเพื่อส่งเสริมความสามารถในการให้เหตุผลเชิงวิเคราะห์ สำหรับผู้เรียนระดับบัณฑิตศึกษา โดยมีขั้นตอนการวิจัยเป็น 4 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาและสังเคราะห์เอกสาร งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และสำรวจเทคนิคและลักษณะของการอ่านเอกสารของนักศึกษา ขั้นตอนที่ 2 สัมภาษณ์ความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับองค์ประกอบและขั้นตอนของรูปแบบ และสร้างรูปแบบห้องเรียนเสมือนที่ใช้ภารกิจปฎิบัติการอ้างเหตุผลเพื่อส่งเสริมความสามารถในการให้เหตุผลเชิงวิเคราะห์ สำหรับผู้เรียนระดับบัณฑิตศึกษา ขั้นตอนที่ 3 ศึกษาผลการใช้รูปแบบห้องเรียนเสมือนที่ใช้ภารกิจปฎิบัติการอ้างเหตุผลเพื่อส่งเสริมความสามารถในการให้เหตุผลเชิงวิเคราะห์ สำหรับผู้เรียนระดับบัณฑิตศึกษา ใช้เวลาดำเนินกิจกรรม 10 สัปดาห์ โดยสัปดาห์ที่ 1 เป็นการปฐมนิเทศ และเตรียมความพร้อมของผู้เรียน สัปดาห์ที่ 2-10 เป็นกิจกรรมภารกิจปฏิบัติการอ้างเหตุผล และขั้นตอนที่ 4 การนำเสนอและรับรองรูปแบบห้องเรียนเสมือนที่ใช้ภารกิจปฎิบัติการอ้างเหตุผลเพื่อส่งเสริมความสามารถในการให้เหตุผลเชิงวิเคราะห์ สำหรับผู้เรียนระดับบัณฑิตศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลองเป็นนิสิตระดับบัณฑิตศึกษา สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จำนวน 23 คน สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบทีแบบไม่เป็นอิสระต่อกัน (t-test Dependent) ผลการวิจัย พบว่า 1. รูปแบบห้องเรียนเสมือนที่ใช้ภารกิจปฏิบัติการอ้างเหตุผลเพื่อส่งเสริมความสามารถในการให้เหตุผลเชิงวิเคราะห์ สำหรับผู้เรียนระดับบัณฑิตศึกษา ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ คือ 1) กิจกรรมการเรียนการสอนแบบภารกิจปฏิบัติการอ้างเหตุผล 2) เอกสารหลักฐาน 3) ระบบจัดการเรียนรู้ห้องเรียนเสมือน 4) บทบาทผู้สอนและผู้เรียน และ 5) การวัดและประเมินผล และรูปแบบแบ่งออกเป็น 4 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การเตรียมห้องเรียน ระยะที่ 2 การนำเข้าสู่ห้องเรียน ระยะที่ 3 การจัดการเรียนการสอนในห้องเรียนเสมือน ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ บ่งชี้ประเด็น สนันสนุนการให้เหตุผล ค้นหาหลักฐาน และสร้างเหตุผล ระยะที่ 4 การวัดและประเมินผล 2. นิสิตที่เรียนตามรูปแบบการเรียนที่พัฒนาขึ้นมีคะแนนความสามารถในการให้เหตุผลเชิงวิเคราะห์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 |
Other Abstract: | The purpose of this research study were to develop and to explore the effectiveness of a virtual classroom model using argument performance task to enhance analytical reasoning ability for graduate students. The research and development (R&D) procedures were divided into four phases performance task to enhance analytical reasoning ability for 1) study and synthesize related documents and survey techniques of reading 2) interview the experts opinions concerning components and steps of model, develop a prototype of a virtual classroom model using argument performance task to enhance analytical reasoning ability for graduate students 3) study the effects of the process for ten weeks, first week for orientation and prepare learners, second-tenth weeks to practice argument performance task activities and 4) propose a virtual classroom model using argument performance task to enhance analytical reasoning ability for graduate students. The sample group in this study consisted of 23 graduate students who major in Educational Technology and Communications, Faculty of Education, Chulalongkorn University. Quantitative statistics used in this study were frequency, percentage, mean, standard deviation, and t-test Dependent The results of this research were as follows: 1.The virtual classroom model using argument performance task to enhance analytical reasoning ability for graduate students consisted of five components as follow: 1) argument performance task activities 2) document library 3) learning management system for virtual classroom 4) roles of teacher and learner, and 5) assessment and evaluation. The model include four phases: 1) preparing the classroom, 2) attending the classroom, 3) teaching and learning in a virtual classroom that divided four process: identify topic, support reasoning, search for document library and create reason and 4) evaluating analytical reasoning ability. 2.The graduate students’ post-test scores for analytical reasoning ability were significantly higher than pre-test sores for analytical reasoning ability at .05 significant level. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558 |
Degree Name: | ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาเอก |
Degree Discipline: | เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51184 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2015.1144 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2015.1144 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5484470927.pdf | 5.23 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.