Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51237
Title: | การศึกษาสภาพ ปัญหา และแนวทางการแก้ไขปัญหาในการประเมินการเรียนรู้ตามสภาพจริงของครูในกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น |
Other Titles: | A study of state, problems and guidelines for solving problems in mathematics authentic assessment of mathematics teachers at lower secondary schools level |
Authors: | ขนิษฐา พันธุ์ยิ้ม |
Advisors: | จิณดิษฐ์ ละออปักษิณ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Advisor's Email: | Jinnadit.L@Chula.ac.th,ljinnadit@hotmail.com,Jinnadit.L@Chula.ac.th |
Subjects: | การให้คะแนน (นักเรียนและนักศึกษา) นักเรียน -- การประเมิน การให้คะแนน (นักเรียนและนักศึกษา) Mathematics -- Study and teaching (Secondary) Students -- Rating of Grading and marking (Students) |
Issue Date: | 2558 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการประเมินการเรียนรู้ตามสภาพจริง และปัญหาการประเมินการเรียนรู้ตามสภาพจริงของครูในกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และเพื่อนำเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาการประเมินการเรียนรู้ตามสภาพจริงของครูในกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 273 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และแบบสังเกต วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ผลการวิจัยพบว่าแก้หลังปรับผลการวิจัย 1 สภาพการประเมินการเรียนรู้ตามสภาพจริงของครูคณิตศาสตร์ 5 ด้าน ได้แก่ 1.1) ด้านการมอบหมายภาระงานคณิตศาสตร์ พบว่า ครูส่วนใหญ่มอบหมายให้นักเรียนทำแบบฝึกหัดคณิตศาสตร์ที่ท้าทายความสามารถเพื่อให้นักเรียนฝึกทักษะเพิ่มเติม รองลงมาคือ การจัดทำแฟ้มสะสมผลงานทางคณิตศาสตร์ของนักเรียน และมอบหมายให้นักเรียนได้ทำการสำรวจและรวบรวมข้อมูลทางสถิติจากสถานการณ์จริง 1.2) ด้านวิธีการประเมินภาระงานคณิตศาสตร์ พบว่า ครูทุกคนใช้การทดสอบและการตรวจการบ้านที่ได้มอบหมาย รองลงมาคือ การประเมินการเรียนรู้จากชิ้นงานหรือภาระงานที่เกิดขึ้นในชีวิตจริง หรือคล้ายกับชีวิตจริงและการจัดกลุ่มนักเรียนเพื่อทำการอภิปรายในหัวข้อคำถามที่ครูกำหนดหรืออภิปรายในหัวข้อที่นักเรียนสนใจ 1.3) ด้านความต่อเนื่องในการประเมินการเรียนรู้ พบว่า ครูส่วนใหญ่จะทบทวนความรู้ที่เรียนมาแล้วหรือทบทวนความรู้เดิมที่ต้องใช้ในคาบเรียนนี้ให้นักเรียนด้วยการบอกหรือการเขียนบนกระดานรองลงมาคือ เมื่อสอนเสร็จครูให้การบ้านเป็นแบบฝึกหัดหรือสั่งงานที่มีความยากท้าทายให้แก่นักเรียนและครูประเมินการเรียนรู้และพัฒนาการของนักเรียนพร้อมทั้งแจ้งให้นักเรียนและผู้ปกครองทราบเป็นระยะ 1.4) ด้านการเปิดโอกาสให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการประเมินการเรียนรู้ พบว่า ครูส่วนใหญ่กำหนดคำอธิบายคุณภาพงานที่ชัดเจนและบ่งบอกคุณภาพงานในแต่ละระดับร่วมกับผู้เรียนรองลงมาคือ เปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในชั้นเรียนร่วมประเมินการเรียนรู้ให้นักเรียนประเมินตนเอง เพื่อนนักเรียนประเมินเพื่อน ผู้ปกครองประเมินผลงานหรือพฤติกรรมของบุตรและอันดับสุดท้าย คือ ครูแจ้งให้นักเรียนทราบล่วงหน้าถึงวิธีการประเมินการเรียนรู้รวมทั้งเกณฑ์การประเมินผลการเรียนรู้ 1.5) ด้านเกณฑ์การประเมินการเรียนรู้ พบว่า คือ ครูใช้เกณฑ์การประเมินผลงานหรือการปฏิบัติงานของนักเรียนแบบรูบริค รองลงมาคือ สร้างเกณฑ์การประเมินผลงานโดยให้คะแนนแบบแยกองค์ประกอบรายด้าน และเกณฑ์การประเมินการเรียนรู้ ที่มีความถี่ต่ำสุด คือเกณฑ์การประเมินผลงานหรือการปฏิบัติงานของนักเรียนแบบอิงเกณฑ์/อิงกลุ่มคิดเป็น 2 ปัญหาการประเมินการเรียนรู้ตามสภาพจริงของครูคณิตศาสตร์ 4 ด้าน ได้แก่ 2.1 ด้านนักเรียน พบว่า ปัญหาการประเมินการเรียนรู้ตามสภาพจริงของครูคณิตศาสตร์ ด้านนักเรียน อยู่ในระดับมาก โดยปัญหาที่พบมากที่สุด คือ ความพร้อมด้านทักษะกระบวนการในการเรียนและการทำชิ้นงานกระบวนการในการเรียนและการทำชิ้นงาน 2.2) ด้านบริบทในชั้นเรียน พบว่า ปัญหาการประเมินการเรียนรู้ตามสภาพจริงของครูคณิตศาสตร์ ด้านบริบทในชั้นเรียน อยู่ในระดับมาก โดยปัญหาที่พบมากที่สุด คือ จำนวนนักเรียนต่อหนึ่งชั้นเรียนที่มีมากเกินไปหรือน้อยเกินไปมีผลต่อการประเมินการรู้ตามสภาพจริง 2.3) ด้านครู พบว่า ปัญหาการประเมินการเรียนรู้ตามสภาพจริงของครูคณิตศาสตร์ ด้านครู อยู่ในระดับปานกลาง โดยปัญหาที่พบมากที่สุด คือ เนื้อหาที่ต้องสอนมีมากเป็นปัญหาในการประเมินการเรียนรู้ตามสภาพจริง 2.4) ด้านการสนับสนุนของผู้บริหารพบว่า ปัญหาการประเมินการเรียนรู้ตามสภาพจริงของครูคณิตศาสตร์ ด้านการสนับสนุนของผู้บริหาร อยู่ในระดับปานกลาง โดยปัญหาที่พบมากที่สุด คือ ปัญหาเกี่ยวกับการจัดงบประมาณสนับสนุนการประเมินการเรียนรู้ตามสภาพจริงสำหรับครู 3. แนวทางการแก้ไขปัญหาการประเมินการเรียนรู้ตามสภาพจริงที่เป็นประเด็นสำคัญ คือ ครูควรวิเคราะห์สภาพของนักเรียนของตนเองในแต่ละชั้นเรียนว่าจะใช้วิธีการประเมินอย่างไรจึงจะเหมาะสมกับสภาพของนักเรียนที่แตกต่างกันผู้บริหารควรจัดสรรครูคณิตศาสตร์ให้เพียงพอต่อจำนวนนักเรียน ให้ครูสามารถดูแลนักเรียนได้ทั่วถึงมากกว่านี้ครูควรศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับวิธีการประเมินการเรียนรู้ตามสภาพจริงและเครื่องมือในการประเมินการเรียนรู้ตามสภาพจริงให้เหมาะสมกับนักเรียนในชั้นเรียนและเพื่อปรับปรุงการเรียนการสอนของตนเอง และโรงเรียนควรจัดสรรงบประมาณในการจัดทำสื่อการประเมินการเรียนรู้ตามที่ครูต้องการและเป็นไปตามที่ผู้บริหารพิจารณาเห็นความสมควร |
Other Abstract: | The purposes of this research were to study the state and problems in authentic assessment of secondary school mathematics teachers. Moreover, this research propose solution guidelines for solving problems of secondary school mathematics teachers. The subjects were 448 mathematics teachers in secondary schools. The research instruments used for collecting information were the questionnaires, the interview form and observation form. Data analyzed by using frequency percentage, mean, standard deviation and quantity analyzation. The findings of the study can be summarized as follows: 1. The state of authentic assessment of mathematics teachers in 5 aspects 1.1) Mathematic assignation ; Most mathematic teachers assign challenge mathematic exercises for adding extra skilled to students. The other teachers assign students create mathematics portfolio of students and assign tasks to student to survey and collect statistic data in real situation. 1.2) Mathematics assessment method; all mathematics teachers use the test and homework checking. Second, many mathematics teachers assess from tasks or realistic assignments and organize students to have group discussion in the topics assigned by teachers or student’s interested. 1.3) Continuous learning assessment; More than half of 273 were 179 mathematics teachers use continuous authentic learning assessment. Almost mathematics teachers repeat prior knowledge by telling or writing on. Second, when the class finish, teachers assign homework or challenge tasks and assess student’s learning and development and provide the results to students and their parents 1.4) Giving opportunities to students to participate in learning assessment; More than half of 273 was 235 mathematics teachers giving opportunities to students, almost teachers and students define each level of quality assignment clearly. Second, all participant can assess others and self-assessment, parents assess their child’s works. Last, teachers forewarn students about assessment method and criterions. 1.5) Learning assessment criterion; 273 mathematics teachers using assessment criterion and performance of students in rubric score. Mathematics teachers decide score period for deciding quality level of works. Last, criterion referenced and norm reference for assignments and performance. 2. The problems were found in 4 aspects. 2.1) Students; authentic assessment problems of mathematics teachers are in high level. and the problems have founded at most were readiness of mathematical skill/process and performance of works. 2.2) Class context; authentic assessment problems of mathematics teachers in class context are in high level. and the problems have founded at most were the students, too much that affect an authentic assessment. 2.3) Teacher; authentic assessment problems of mathematics teachers in this aspect are in moderate level. and the problems have founded at most were the contents, too much that affect an authentic assessment. 2.4) Academic Administrators support; authentic assessment problems of mathematics teachers in this aspect are in moderate level. and the problems have founded at most were to allocate expenditure to support an authentic assessment for teachers. 3. The guidelines for solving authentic assessment problems of mathematics teachers are mathematics teachers should analyze state of students in each class level to decide assessment method which is suitable for different state of students. Academic administrators should be provide sufficient mathematics teachers. For huge numbers of students so teachers can focus all students thoroughly. Mathematics teachers should gain more knowledge about authentic assessment method and tool design for choosing suitable learning for students. Moreover teachers should improve their instruction. Schools should be provide budget for instructional medias. Relate to teacher assignment and approval academic administrators. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | การศึกษาคณิตศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51237 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2015.1119 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2015.1119 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5583305027.pdf | 5.01 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.