Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51259
Title: | การพัฒนาเครื่องมือวัดการรับรู้ภาวะการเคลื่อนไหวของร่างกายเพื่อบ่งชี้ความเป็นเลิศทางด้านกีฬาของนักเรียนโรงเรียนกีฬาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 |
Other Titles: | DEVELOPMENT OF A MEASUREMENT INSTRUMENT ON THE BODILY-KINESTHETIC PERCEPTION TO INDICATE SPORTS TALENT OF THE SEVENTH GRADE STUDENTS IN SPORTS SCHOOLS |
Authors: | ไอยย์ศรัย พีรภาพรกุล |
Advisors: | รุ่งระวี สมะวรรธนะ สมบูรณ์ อินทร์ถมยา |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Advisor's Email: | Rungrawee.Sa@chula.ac.th,rungrawee.sa@chula.ac.th inthomya.s@gmail.com |
Issue Date: | 2558 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยในครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อพัฒนาเครื่องมือวัดการรับรู้ภาวะการเคลื่อนไหวของร่างกายเพื่อบ่งชี้ความเป็นเลิศทางด้านกีฬาของนักเรียนโรงเรียนกีฬาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และเพื่อสร้างเกณฑ์ปกติและเกณฑ์มาตรฐานของเครื่องมือวัดการรับรู้ภาวะการเคลื่อนไหวของร่างกายเพื่อบ่งชี้ความเป็นเลิศทางด้านกีฬาของนักเรียนโรงเรียนกีฬาระดับมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 1 ซึ่งขั้นตอนการวิจัยประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ (1) การศึกษาเอกสารงานวิจัยเพื่อกําหนดตัวบงชี้การรับรู้ภาวะการเคลื่อนไหวของร่างกายเพื่อบ่งชี้ความเป็นเลิศทางด้านกีฬาของนักเรียนโรงเรียนกีฬาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 (2) การสร้างเครื่องมือวิจัย (3) ศึกษาคุณภาพเครื่องมือวิจัย (4) การสรางเกณฑปกติคะแนนทีและเกณฑ์มาตรฐาน โดยกลุมตัวอยางเป็นนักเรียนโรงเรียนกีฬาระดับมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 1 จำนวน 335 คน ผลการวิจัยพบว่า เครื่องมือวัดการรับรู้ภาวะการเคลื่อนไหวของร่างกายเพื่อบ่งชี้ความเป็นเลิศทางด้านกีฬาของนักเรียนโรงเรียนกีฬาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ประกอบด้วย 5 รายการทดสอบ ได้แก่ (1) การขว้างรับสลับเตะ (2) การเรียงบล็อกภายในเวลาที่กำหนด (3) การวิ่งแตะตามคำสั่ง (4) การปิดตาเคลื่อนที่ตามทิศทางที่กำหนด และ(5) การจำแนกน้ำหนักของวัตถุ โดยเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมีคุณภาพสูงทั้งในด้านความตรงตามเนื้อหา (IOC=0.93) มีความตรงตามโครงสร้างอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 ทุกรายการทดสอบ มีความเที่ยงอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 ทุกรายการทดสอบ และได้เกณฑ์ปกติคะแนนทีนำมาสร้างเป็นเกณฑ์มาตรฐาน มีการแบ่งระดับความสามารถออกเป็น 5 ระดับคือ ดีมาก ดี ปานกลาง ต่ำ และต่ำมาก |
Other Abstract: | The purposes of this study were to develop a measurement instrument on the bodily-kinesthetic perception to indicate sports talent of the seventh grade students in sports schools and to construct the criteria of the norms of the T-score. The research procedures were composed four stages; (1) Conducting a content analysis and interviews for the purpose of evaluating attributes and indicators of sport talent among the seventh grade students in sports schools; (2) Constructing the research instruments; (3) Studying an efficacy of research instruments; (4) Constructing the norms of the test. The sample population consisted of 335 seventh grade students in sports schools. The research result showed that the measurement instrument on the bodily-kinesthetic perception to indicate sports talent of the seventh grade students in sports schools consisted of five test; (1) Throw-Hold and Kick-Hold the Ball test; (2) Block Sorting Test; (3) Run and Touch test; (4) Directionality Test and (5) Weight Discrimination Test. High quality of the research instruments were satisfied as the content validity (IOC= 0.93) and construct validity and reliability of the all test items (statistically significant at the level of 0.05). The standard criteria of the T-score has been constructed using five levels: very good, good, fair, low and very low. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558 |
Degree Name: | ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาเอก |
Degree Discipline: | สุขศึกษาและพลศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51259 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5584231327.pdf | 6.05 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.