Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51272
Title: การเข้าสู่การค้าหาบเร่แผงลอยในเขตกรุงเทพมหานคร
Other Titles: Entry into Street Vending in Bangkok
Authors: กัญญ์กฤษณ์ ฤกษ์สิริพัฒน์
Advisors: ธานี ชัยวัฒน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเศรษฐศาสตร์
Advisor's Email: Thanee.C@Chula.ac.th,thanee.c@gmail.com
Subjects: แผงลอย -- ไทย -- กรุงเทพฯ
แผงลอย -- แง่เศรษฐกิจ -- ไทย -- กรุงเทพฯ
คนค้าขายริมถนน -- ไทย -- กรุงเทพฯ
คนค้าขายริมถนน -- แง่เศรษฐกิจ -- ไทย -- กรุงเทพฯ
Vending stands -- Thailand -- Bangkok
Vending stands -- Economic aspects -- Thailand -- Bangkok
Street vendors -- Thailand -- Bangkok
Street vendors -- Economic aspects -- Thailand -- Bangkok
Issue Date: 2558
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิกฤตการณ์เศรษฐกิจประเทศไทย พ.ศ. 2540 ส่งผลให้แรงงานในเศรษฐกิจภาคทางการถูกเลิกจ้างเป็นจำนวนมากและทำให้ขนาดของเศรษฐกิจนอกระบบขยายตัว แรงงานส่วนหนึ่งเข้าสู่การค้าหาบเร่แผงลอยในเขตกรุงเทพมหานครในฐานะผู้ค้าหน้าใหม่ แต่เมื่อเศรษฐกิจของประเทศปรับตัวดีขึ้น จำนวนของผู้ค้าหาบเร่แผงลอยก็ไม่ได้ลดลงตาม อีกทั้งปัจจุบันผู้ค้าหาบเร่แผงลอยยังถูกร้องเรียนเนื่องจากปัญหาต่างๆ เช่น ปัญหาการรุกล้ำพื้นที่สาธารณะ ปัญหาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง เป็นต้น เมื่อภาครัฐกำหนดนโยบายการจัดระเบียบการค้าหาบเร่แผงลอย ผู้ค้าก็มักจะอ้างว่าเป็นผู้ด้อยโอกาสและยากจน ทั้งๆที่มีผู้ค้าบางกลุ่มสามารถเข้าสู่การจ้างงานในเศรษฐกิจภาคทางการได้ งานวิจัยฉบับนี้มุ่งศึกษาคุณลักษณะผู้ค้าหาบเร่แผงลอยตามกรอบแนวคิดเศรษฐกิจนอกระบบของกลุ่มสำนักคิดทั้ง 4 คือ กลุ่มทวิลักษณ์ (Dualism),กลุ่มโครงสร้างนิยม (Structuralism), กลุ่มกฎหมายนิยม (Legalism) และกลุ่มเจตจำนงนิยม (Voluntarism) และศึกษาประเภทสินค้าที่จำหน่าย รวมถึงต้นทุนในการเข้าสู่การค้าหาบเร่แผงลอย ใน 3 พื้นที่ศึกษาแบ่งตามเขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร คือเขตกรุงเทพชั้นใน (เขตปทุมวัน), เขตกรุงเทพชั้นกลาง (เขตบางกะปิ) และเขตกรุงเทพชั้นนอก (เขตมีนบุรี) ผ่านรูปแบบการตอบแบบสอบถามและสัมภาษณ์ผู้ค้า ผลการศึกษาพบว่าผู้ค้าหาบเร่แผงลอยส่วนใหญ่ในกรุงเทพมหานครเป็นผู้ค้าที่สมัครใจเข้าสู่การค้าหาบเร่แผงลอยถึงแม้ว่าตนเองจะสามารถเข้าสู่การจ้างงานในเศรษฐกิจภาคทางการได้ ในขณะเดียวกันผู้ค้าไม่มีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนแปลงอาชีพและยังจะทำการค้าหาบเร่แผงลอยต่อไปเนื่องจากเหตุผลต่างๆ จากการศึกษายังพบความสัมพันธ์ที่สำคัญว่าระดับความเป็นเมือง (Urbanization) ส่งผลต่อประเภทสินค้าที่จำหน่ายและต้นทุนการเข้าสู่การค้าหาบเร่แผงลอยของผู้ค้าในแต่ละพื้นที่ ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าการค้าหาบเร่แผงลอยที่มีอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครไม่ได้เป็นอาชีพชั่วคราวเพื่อการอยู่รอดของแรงงานส่วนเกินที่ไม่สามารถอยู่ในเศรษฐกิจภาคทางการเหมือนในอดีต ดังนั้นภาครัฐต้องมีแนวนโยบายที่มุ่งเน้นการพัฒนาเศรษฐกิจและการวางผังการจัดการเมืองควบคู่กันไปเพื่อผู้ค้าหาบเร่แผงลอยและคนกลุ่มอื่นๆ ในสังคมที่ใช้พื้นที่สาธารณะร่วมกัน เช่น คนเดินเท้า เจ้าของธุรกิจ ฯลฯ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความขัดแย้งขึ้น และนโยบายจะต้องให้ความสำคัญต่อผู้ค้าหาบเร่แผงลอยที่ด้อยโอกาสที่อยู่ในตลาดการค้าอย่างแท้จริงเป็นอันดับแรกก่อน
Other Abstract: Thailand’s economic crisis in 1997 has caused many laid-off workers and they turned themselves into street vendors. Moreover, there are numerous problems complaints caused by street vendors such as encroachment of public space and city cleanliness. Meanwhile, the officials cannot enforce the policy to regulate street vending efficiently. This research attempts to study the characteristics of street vendors in Bangkok under informal economy framework. The study also focuses on types of products selling on sidewalks as well as cost of entry to street vending business. The survey conducted in three different areas of Bangkok: Inner zone (Pathumwan), Middle zone (Ramkhamhaeng) and Outer zone (Minburi). The results indicate that most of street vendors in Bangkok are voluntarily choose to make a living which considered as the informal business. Meanwhile, some vendors can grow further and exceed threshold of the informality but they choose to remain informal due to several factorss and they tend to take street vending as a long-term occupation. The study also finds the important relations between the level of urbanization, types of products and cost of entry into street vending business. The key policy should emphasize on the urban planning and economic development for street workers and other parties such as pedestrians and private business on public space to prevent collision as well as take into account on less vulnerable vendors in the market.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558
Degree Name: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เศรษฐศาสตร์การเมือง
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51272
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2015.1017
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2015.1017
Type: Thesis
Appears in Collections:Econ - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5585347729.pdf5.5 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.