Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51296
Title: พัฒนาการวิธีการจัดทำแผนพัฒนาที่อยู่อาศัยของการเคหะแห่งชาติ
Other Titles: Housing development planning process of national housing authority
Authors: ณพลพัทธ์ เอี่ยวอ่องพัช
Advisors: กุณฑลทิพย พานิชภักดิ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Kundoldibya.P@Chula.ac.th,kpanitchpakdi@gmail.com
Subjects: เคหะ
การพัฒนาที่อยู่อาศัย
การพัฒนาอสังหาริมทรัพย์
Housing
Housing development
Real estate development
Issue Date: 2558
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์เรื่องพัฒนาการวิธีการจัดทำแผนพัฒนาที่อยู่อาศัยของการเคหะแห่งชาติ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษารวบรวมแผนพัฒนาที่อยู่อาศัยของการเคหะแห่งชาติ ตั้งแต่ฉบับแรกถึงฉบับปัจจุบัน ศึกษาวิธีการจัดทำและองค์ประกอบของแผนพัฒนาที่อยู่อาศัยของการเคหะแห่งชาติ 2) เพื่อศึกษาข้อดี ข้อจำกัดของวิธีการจัดทำแผนพัฒนาที่อยู่อาศัยของการเคหะแห่งชาติ 3) เพื่อวิเคราะห์สรุปบทเรียนการจัดทำแผนพัฒนาที่อยู่อาศัยของการเคหะแห่งชาติ และ 4) เพื่อเสนอแนวทางการจัดทำแผนพัฒนาที่อยู่อาศัยของการเคหะแห่งชาติในอนาคต ผลการศึกษาพบว่า วิธีการจัดทำแผนและองค์ประกอบของแผนพัฒนาที่อยู่อาศัยของการเคหะแห่งชาติ ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน สามารถแบ่งเป็น 4 ยุค ดังนี้ ยุคที่ 1 ยุคเริ่มก่อตั้ง การเคหะแห่งชาติ จัดทำแผนตามนโยบายรัฐบาล (Policy Driven) โดยที่รัฐบาลเป็นผู้กำหนดเป้าหมาย ยุคที่ 2 การเคหะแห่งชาติได้รับความรู้ตามหลักวิชาการจากธนาคารโลก (World Bank) นำวิธีการจัดทำแผนโดยใช้อุปสงค์เป็นตัวนำ (Demand Driven) มีการเก็บรวบรวมข้อมูลอุปสงค์และอุปทานของที่อยู่อาศัย และการกำหนดกลุ่มเป้าหมายโดยใช้การกระจายตามกลุ่มรายได้และคำนึงถึงความสามารถในการจ่ายของครัวเรือนเป็นเกณฑ์ แผนฯจึงครอบคลุมกลุ่มรายได้น้อยและรายได้ปานกลางหลายระดับ นอกจากนี้ยังมีการเริ่มจัดทำแผนวิสาหกิจระดับองค์กรควบคู่กันด้วย จึงเป็นยุคที่มีพัฒนาการการจัดทำแผนที่ก้าวหน้า ยุคที่ 3 แผนฯในยุคนี้ถูกกำหนดจำนวนเป้าหมายโดยนโยบายรัฐบาลรวมทั้งกำหนดกลุ่มเป้าหมายผู้มีรายได้น้อยกลุ่มเดียวเท่านั้น ยุคที่ 4 ยุคที่อยู่ในช่วงของการแก้ไขปัญหาและพลิกฟื้นองค์กร ซึ่งปัจจุบันการเคหะแห่งชาติมีการวางแผนเฉพาะแผนลงทุนรายปีและอยู่ระหว่างการวางแผนการลงทุนระยาว (5-10 ปี) บทเรียนที่ได้ คือ 1) ในช่วงแผนที่เกิดจากการมีนโยบายเป็นตัวนำ (Policy Driven) การเคหะแห่งชาติไม่สามารถดำเนินงานให้เป็นไปตามเป้าหมายได้ 2) การจัดทำแผนฯตามหลักวิชาการ โดยใช้อุปสงค์และอุปทานเป็นตัวนำ (Demand Driven) เป็นแผนที่มีความสมบูรณ์ เมื่อประกอบการมีคณะกรรมการที่อยู่อยู่อาศัยแห่งชาติด้วย ทำให้การเคหะแห่งชาติสามารถดำเนินงาน ได้ตามแผนที่วางไว้ในระดับดี 3) การมีการจัดทำแผนลงทุนที่ยังไม่สอดคล้องกับแผนวิสาหกิจอย่างสมบูรณ์อาจส่งผลให้การดำเนินงานไม่ประสบความสำเร็จตามเป้าหมายเท่าที่ควร ข้อเสนอแนะ คือ 1) การจัดทำแผนฯควรเป็นการวางแผนระยะยาว อาศัยหลักวิชาการและใช้หลักการของความต้องการที่อยู่อาศัยและอุปทานที่อยู่อาศัยเป็นหลัก (Demand Driven) และควรมีความสอดคล้องกับนโยบายที่อยู่อาศัยในระดับชาติ 2) การจัดทำแผนฯควรใช้หลักวิชาการในการจัดเก็บรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลทั้งด้านอุปสงค์อุปทานและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง และควรเปิดโอกาสให้มีการมีส่วนร่วมของทั้ง หน่วยงานส่วนกลาง หน่วยงานส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาที่อยู่อาศัย 3) ควรมีการจัดทำแผนยุทธศาสตร์องค์กรที่มีการประสานแผนลงทุนร่วมกับแผนวิสาหกิจเข้าด้วยกัน
Other Abstract: This research has objectives are: 1) study methods and components for formulating housing development plans (HDPs) of the National Housing Authority (NHA), commencing from the first Plan to the current one, 2) explore strength and limitations of those housing development plans, 3) analyze to obtain the lessons learned, and 4) provide suggestions as guidelines for formulation of the future HDPs. The results indicated that the development of the NHA’s HDPs were divided into 4 periods. The first period, when the NHA was established, the HDPs were formulated basing on the government policy, called as Policy-driven plan. The second period, HDPs were developed basing on the World Bank concept. They were the Demand-driven plans that were well-developed through scientific process starting from data collection, housing demand and supply data[WU1] forecasting, and determination of target groups by income level and affordability. In the third period, HDPs were[WU2] set in accordance with the government policy that has only one target group of the low-income. [WU3] In the fourth period, during the NHA financial restructuring, HDPs were developed separately[WU4] in consistent[WU5] with the corporate plan (annual investment plans). The lesson learnt from this research includes 1) the NHA was unable to achieve its goal when operated in accordance with the policy-driven plans, 2) the NHA was able to achieve its goal of housing development more[WU1] in line with the demand-driven plans, especially when the plans were operated under the National Housing Committee’s monitoring, and 3) separation of the corporate investment plan from the HDP are considered a factor to [WU2] obstruct NHA to fully achieve its goal of development. The recommendations are 1) the Housing Development Plan should be developed basing on the scientific process of the demand-driven and should be integrated as a part of the national housing policy, 2) development of the national housing plan should allow participation of the housing development related government agencies at both central and local levels, and 3) the corporate investment plan and the HDPs should be integrated into the strategic plan of the NHA.
Description: วิทยานิพนธ์ (คพ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558
Degree Name: เคหพัฒนศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การพัฒนาที่อยู่อาศัย
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51296
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2015.449
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2015.449
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5673575525.pdf5.25 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.