Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51297
Title: ปัจจัยการซื้อที่อยู่อาศัยในหมู่บ้านจัดสรร: กรณีศึกษาจังหวัดกาญจนบุรี
Other Titles: FACTORS IN HOUSING PURCHASE: A CASE STUDY OF HOUSING ESTATES IN KANCHANABURI PROVINCE
Authors: ศุภพล บุญทอง
Advisors: บัณฑิต จุลาสัย
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Bundit.C@Chula.ac.th,uan1950@hotmail.com,bunditchulasai@yahoo.com
Issue Date: 2558
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์จะศึกษา ปัจจัยการซื้อที่อยู่อาศัย ในจังหวัดกาญจนบุรีโดยการสอบถามผู้อยู่อาศัย ในหมู่บ้านจัดสรร และทำการคำนวณโดยใช้สูตรความเชื่อมั่นของทาโร่ ยามาเน่ โดยมีความคลาดเคลื่อนที่ ±5% พื้นที่จังหวัดกาญจนบุรีเกือบทั้งหมดเป็นป่าเขา และพื้นที่เกษตรกรรม รวมทั้งเป็นที่ตั้งของ หน่วยงานทหาร ชุมชนจะกระจุกตัวอยู่ในอำเภอเมืองกาญจนบุรี ซึ่งมีทั้งที่อยู่อาศัย ร้านค้า และสถานที่ราชการต่างๆ ส่วนอำเภอท่าม่วงจะเป็นที่ตั้งของโรงงานอุตสาหกรรมหลายแห่งจึงมีทางหลวงพาดผ่านสองอำเภอนี้ ได้แก่หมายเลข 323 หรือถนนแสงชูโต และหมายเลข 367 หรือถนนเลี่ยงเมือง และหมายเลข 324 หรือถนนอู่ทอง จากการศึกษา หมู่บ้านจัดสรร 6 โครงการที่อยู่ในอำเภอเมืองกาญจนบุรี และ 3 โครงการที่อยู่ในอำเภอท่าม่วง 1 นั้นพบว่าเหตุผลในการซื้อที่อยู่อาศัย ถือเป็นการลงทุน ให้ลูกให้หลาน และมีฐานะดีขึ้นตามลำดับ ผู้ซื้อที่อยู่อาศัยส่วนใหญ่ภูมิลำเนาเดิมอยู่ในจังหวัดกาญจนบุรี จบปริญญาตรี ใช้รถยนต์ส่วนบุคคลในการเดินทางไปทำงาน โดยใช้ระยะเวลาในการเดินทาง 15-30 นาที ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ ทำงานมานานกว่า 10 ปี จะพักร่วมกันกับคู่สมรส แฟน หรือเพื่อนที่มีรายได้ประจำ จึงทำให้มีรายได้ครัวเรือนอยู่ระหว่าง 25,001-50,000 บาทต่อเดือน สำหรับข้อพิจารณาในด้านสภาพแวดล้อม ผู้ซื้อที่อยู่อาศัยจะให้ความสำคัญกับสิ่งอำนวย ความสะดวก ในด้านทำเลที่ตั้ง จะให้ความสำคัญกับถนนสายหลัก คือถนนแสงชูโต ในด้านรูปแบบโครงการจะให้ความสำคัญกับเรื่องน้ำท่วม และในด้านรูปแบบบ้านนั้น ผู้ซื้อที่อยู่อาศัยให้ความสำคัญกับวัสดุ และการก่อสร้าง จึงเข้าใจได้ว่า เมื่อผู้ซื้อที่อยู่อาศัยต้องการอยู่อาศัยใกล้สิ่งอำนวยความสะดวก จึงพบหมู่บ้านจัดสรรในอำเภอเมือง ที่เป็นที่ตั้งของร้านค้า และสถานที่ราชการต่างๆ หรือในอำเภอท่าม่วงที่เป็นที่ตั้งของโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งทั้งสองอำเภอ ยังอยู่ในเส้นทางคมนาคมหลัก ที่เชื่อมต่อทั้งภายใน และภายนอกจังหวัด การศึกษาครั้งนี้พบประเด็นที่น่าสนใจที่ผู้ซื้อที่อยู่อาศัยให้ความสำคัญกับเรื่องน้ำท่วมมาก ทั้งๆที่พื้นที่จังหวัดกาญจนบุรีนั้นเป็นป่าเขาและไม่เคยมีประวัติประสบปัญหาอุทกภัยมาก่อน จึงเป็นเรื่องที่น่าจะมีการศึกษาเชิงลึกต่อไป
Other Abstract: The main purpose of this study was to investigate the factors that influenced customers to buy houses in Kanchanaburi Province. The participants living in Real Estate Housing were interviewed. Taro Yamane’s reliability formula was used to analyze the data and the errors were ±5%. Most of the hilly areas of Kanchanaburi Province are covered with forests and agricultural patches. Organizations, military bases and communities cluster in Kanchanaburi District while Tha Muang District accommodates factories. Highway 323 or Sang Chu To road, Highway 367 or Bypass Road and Highway 324 or U-thong Road run through these two districts. The findings revealed that, based on the data obtained from the residents living in the Real Estate Housing Project 6 in Kanchanaburi District and those in Project 3 in Tha Muang District, investment was the main factor in purchasing a house, followed by inheritance and more earnings. Most residents were born in this province, graduated with a Bachelor’s degree and commuted by passenger car which takes about 15-30 minutes to commute. They had been working for more than 10 years and lived as a couple or with their partner or friend. Both had regular income and their earnings were between 25,001 baht and 50,000 baht a month. As for the surrounding, location was ranked first. The projects were on Sang Chu To Road, a main road and in terms of the project, it is revealed that the customers are concerned about flooding. Regarding the floor plan, materials and construction work came first. Since customers consider the facilities as top priorities, most real estate housing projects are located in Muang District because there are shops and government offices or in Tha Muang District where many factories are situated. In addition, there are some main roads running through these two districts so they can serve as meeting points for the local residents and those from other provinces. An interesting point worth mentioning in this study is that the customers place flooding as a major factor even though Kanchanaburi Province has never experienced floods. This point should therefore be further explored.
Description: วิทยานิพนธ์ (คพ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558
Degree Name: เคหพัฒนศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การพัฒนาที่อยู่อาศัย
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51297
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5673580625.pdf7.9 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.