Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51375
Title: แนวทางการพัฒนาการบริหารโรงเรียนมาตรฐานสากลตามเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
Other Titles: GUIDELES FOR MANAGEMENT DEVELOPMENT OF INTERNATIONAL STANDARD SCHOOLS ACCORDING TO THE OFFICE OF THE BASIC EDUCATION COMMISSION QUALITY AWARD CRITERIA
Authors: ชนัตตา ปุยงาม
Advisors: ชญาพิมพ์ อุสาโห
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Chanyapim.U@Chula.ac.th,chayapim.u@chula.ac.th
Issue Date: 2558
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการบริหาร 2) เพื่อศึกษาปัญหาและแนวทางการแก้ไขปัญหาการบริหาร และ 3) เพื่อนำเสนอแนวทางพัฒนาการบริหารโรงเรียน วัตถุประสงค์ทั้ง 3 มีการศึกษาในโรงเรียนมาตรฐานสากลระดับมัธยมศึกษาตามเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประชากร คือ โรงเรียนมาตรฐานสากลระดับมัธยมศึกษา จำนวน 52 โรงเรียน ข้อมูลที่ได้จากประชากร จำนวน 46 โรงเรียน คิดเป็นร้อยละ 88.46 ของประชากรทั้งหมด ผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้อำนวยการ รองผู้อำนวยการ หัวหน้าโครงการการประเมินเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ครู ประธานคณะกรรมการสถานศึกษา และประธานนักเรียน รวมทั้งหมด 276 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามสภาพ ปัญหาและแนวทางการแก้ปัญหาในการบริหารโรงเรียนมาตรฐานสากลตามเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และ แบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของแนวทางการพัฒนาการบริหารโรงเรียนมาตรฐานสากล สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย ความถี่(Frequency) ร้อยละ (Percentile) ค่าเฉลี่ย (Means) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) ผลการวิจัยพบว่า สภาพการบริหารโรงเรียนมาตรฐานสากลตามเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ทั้ง 7 หมวด โดย สภาพการบริหารโรงเรียนมาตรฐานสากลตามเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ทั้ง 7 หมวด โดย หมวด 1 การนำองค์กร มีค่าเฉลี่ยสูงสุด (x= 4.39 , SD = 0.73) รองลงมา คือ หมวด 5 การมุ่งเน้นบุคลากร (x= 4.35, SD = 0.69) หมวด 7 ผลลัพธ์ (x= 4.34 , SD = 0.80) หมวด 2 การวางแผนเชิงกลยุทธ์ (x= 4.34 , SD = 0.77) หมวด 3 การมุ่งเน้นนักเรียน (x= 4.28, SD = 0.77) ตามลำดับ และหมวดที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุดเท่ากัน 2 หมวด คือ หมวด 6 การมุ่งเน้นการดำเนินการ (x= 4.27 , SD = 0.72) และ หมวด 4 การวัด การวิเคราะห์ และการจัดการความรู้ (x = 4.27, SD = 0.75) ปัญหาในภาพรวมทั้ง 6 หมวด อยู่ในระดับน้อย ปัญหาที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ หมวด 5 การมุ่งเน้นบุคลากร (x= 1.90 , SD = 1.25) รองลงมา คือ หมวด 6 การมุ่งเน้นการดำเนินการ (x= 1.82 , SD = 1.08) และหมวดที่มีปัญหาค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ หมวด 1 การนำองค์กร (x= 1.71 , SD = 1.02) และแนวทางการพัฒนาการบริหารโรงเรียนมาตรฐานสากลตามเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีการพิจารณาจากค่าเฉลี่ยของสภาพการบริหารและปัญหาการบริหาร มีทั้งหมด 19 แนวทาง โดยเรียงลำดับหมวดที่ต้องมีการแก้ไขโดยใช้ร่างแนวทางตามลำดับ ดังนี้ หมวด 5 การมุ่งเน้นบุคลากร จำนวน 4 ข้อ หมวด 4 การวัด การวิเคราะห์และการจัดการความรู้ 3 ข้อ หมวด 6 การมุ่งเน้นการดำเนินการ 4 ข้อ หมวด 3 การมุ่งเน้นนักเรียน 5 ข้อ หมวด 2 การวางแผนเชิงกลยุทธ์ 3 ข้อ
Other Abstract: The purposes of this research were to 1) study the state of the management. 2) study the problems and solution guidelines for management. 3) propose the guidelines for management development of the schools. Population consisted 52 International Standard Secondary Schools according to the Office of the Basic Education Commission Quality Award Criteria. The data were collected from 46 schools or 88.46 percent of the population. 276 respondents were directors, deputy directors, heads of Office of the Basic Education Commission Quality Award Criteria assessment program, teachers, chairmen of the school committee, and chairmen of student committee. The research tools were questionnaires and assessment forms. Data were analyzed by frequency, percentage, means, and standard deviation. The findings showed that overall , the state of management of International Standard Secondary Schools according to the Office of the Basic Education Commission Quality Award Criteria was high in 7 areas. According to the mean scores, the sorted aspects ranked from the highest to the lowest means were was criteria 1: Leaderships (x= 4.39, SD = 0.73), criteria 5: Human Resource Focus (x= 4.35, SD = 0.69), criteria 7: School Performance Results (x= 4.34, SD = 0.80), criteria 2: Strategic Planning (x= 4.34, SD = 0.77), criteria 3: Students Focus (x= 4.28, SD = 0.77), criteria 6: Process Management (x= 4.27, SD = 0.72) and criteria 4: Measurement, analysis, and knowledge management (x= 4.27, SD = 0.75). The overall problem was low. The problem that had the highest means was criteria 5: Human Resource Focus (x= 1.90, SD = 1.25), and criteria 6: Process Management (x= 1.82, SD = 1.08). The problem that had the lowest means was criteria 1: Leaderships (x= 1.74, SD = 1.02). The guidelines for management development of International Standard Schools According to the Office of the Basic Education Commission Quality Award Criteria were 19 guidelines. The guidelines sorted by the most critical criteria as follows criteria 5: Human Resource Focus 4 guidelines, criteria 4: Measurement, analysis, and knowledge management 3 guidelines, criteria 6: Process Management 4 guidelines, 3: Students Focus 5 guidelines, and criteria 2: Strategic Planning 3 guidelines.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: บริหารการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51375
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5783816527.pdf6.71 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.