Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5137
Title: อุปสรรคสำคัญของการใช้บังคับกฎหมายภาษีอากรของไทย
Other Titles: Obstacles to enforcement of the Thai revenue laws
Authors: แคทลียา โสภา
Advisors: อภิรัตน์ เพ็ชรศิริ
มานิต วิทยาเต็ม
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
Advisor's Email: Apirat.P@chula.ac.th
ไม่มีข้อมูล
Subjects: ภาษี -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ -- ไทย
อากร -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ -- ไทย
การบังคับใช้กฎหมาย -- ไทย
Issue Date: 2545
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ค้นคว้าวิจัยถึงอุปสรรคที่สำคัญของประสิทธิภาพการใช้บังคับ กฎหมายภาษีอากรของไทยเพื่อเสนอแนวทางในการแก้ไข ความด้อยประสิทธิภาพในการใช้บังคับกฎหมายภาษีอากรและการจัดเก็บภาษี ผลการวิจัยพบว่าอุปสรรคสำคัญที่เป็นปัญหาต่อการใช้บังคับกฎหมายประการแรกคือ อุปสรรคในการนิติบัญญัติที่ขาดความเป็นระบบ และมีความซ้ำซ้อนสับสนในบทบัญญัติของกฎหมายภาษีอากรในหลายจุด ทำให้เกิดปัญหาในการตีความบทบัญญัติของกฎหมาย ยิ่งไปกว่านั้น การขาดความเป็นระบบของบทบัญญัติกฎหมายภาษีอากร ยังทำให้ผู้ใช้บังคับกฎหมายมีความยุ่งยากในการอ้างอิง ประกอบกับจุดอ่อนในเนื้อหาของบทบัญญัติกฎหมาย ทำให้เกิดช่องว่างในการหลีกเลี่ยงการเสียภาษีอากรได้ง่าย และการแก้ปัญหาโดยสร้างบทบัญญัติของกฎหมาย ที่ให้อำนาจแก่เจ้าหน้าที่มากเกินไปมักก่อให้เกิดผลเสียมากกว่าผลดี ประการที่สองคือ อุปสรรคในส่วนของบุคลากรผู้ใช้บังคับกฎหมาย ซึ่งพบปัญหาและอุปสรรคในชั้นเจ้าพนักงานของหน่วยงานจัดเก็บภาษีอากร ปัญหาและอุปสรรคในชั้นพนักงานสอบสวน ปัญหาและอุปสรรคในชั้นพนักงานอัยการ ในกรณีการรวบรวมพยานหลักฐานเพื่อดำเนินคดีกับ ผู้มีพฤติการณ์ในการทุจริตภาษีอากร ปัญหาประการสุดท้ายที่สำคัญคือ อุปสรรคที่เกี่ยวเนื่องกับแนวนโยบายของรัฐบาล ที่มักมีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขบทบัญญัติของกฎหมายตามแนวนโยบาย โดยไม่คำนึงถึงการปฏิบัติทำให้เกิดปัญหาในการบังคับใช้กฎหมายภาษีอากร เช่น พระราชบัญญัติชดเชยภาษีอากรสินค้าส่งออกที่ผลิตในราชอาณาจักร พ.ศ. 2524 วิทยานิพนธ์เสนอว่าปัญหาและอุปสรรคดังกล่าวอาจแก้ไขได้ ด้วยวิธีการทางนิติศาสตร์ที่สามารถขจัดข้อบกพร่อง และเพิ่มประสิทธิภาพในการบังคับใช้กฎหมายได้ โดยการปฏิรูปและชำระเนื้อหาของกฎหมาย กฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับบทบัญญัติของกฎหมายภาษีอากร โดยการรวบรวมจัดหมวดหมู่กฎหมายให้มีความเป็นเอกภาพ สนับสนุนการประสานงานและร่วมมือกันระหว่างหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวกับการจัดเก็บภาษีอากร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการยกร่างบทบัญญัติของกฎหมาย ที่เกี่ยวข้องกับการบังคับใช้กฎหมาย ควรทบทวนบทบัญญัติที่ล้าสมัยหรือข้อบกพร่องของกฎหมาย ควรมีการแก้ไขให้เจ้าหน้าที่ในหน่วยงานในระดับต่างๆ รับผิดชอบใช้บังคับกฎหมายอย่างเต็มที่และมีประสิทธิภาพ ควรสร้างบทบัญญัติที่สนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชน เพื่อกระตุ้นให้เจ้าพนักงานไม่ละเลยการปฏิบัติหน้าที่ อีกทั้งควรมีการหาเครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่จะช่วยอำนวยความสะดวก ในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ที่จะใช้บังคับบทบัญญัติของกฎหมายทางภาษีอากร และควรเสริมมาตรการทางกฎหมายด้วยมาตรการทางบริหาร เช่น การยุบหรือรวมหน่วยงานที่มีภารกิจซ้ำซ้อนกันเอง เพื่อเกลี่ยกำลังคนนำบุคลากรไปเสริมหน่วยงานที่ขาดแคลน อันเป็นการเสริมประสิทธิภาพของการใช้บังคับกฎหมายได้เป็นอย่างดีอีกด้วย
Other Abstract: To focuse on major obstacles to the enforcement of the Thai revenue legislation. Its purpose is to present measures to alleviate the defects of revenue law enforcement and taxation. The outcome concluded that the first obstacle contributing to law enforcement problems is legislation, which lacks order and the content of the law tends to be complex and confusing. This cause difficulties in construing the law and in reference by law-enforcement officers. Such weakness of the law gives rise to tax evasion and too much empowerment to authorities resulting in negative outcomes. The second obstacle pertains to law-enforcement agencies. Problems prevail on the levels of officers in revenue-related agencies, investigating officers and attorneys in filing evidences against individuals with illegal behaviours. The next obstacle is the government's policies, which deliberately amend the law without any consideration to practicality, for example, Tax and Duty Compensation of Exported Goods Produced in the Kingdom Act BE. 2524 (AD. 1981). This thesis proposes that the abovementioned obstacles and problems can be solved by legislation measures. This could be done by innovating and correcting revenue-relevant laws, rules and regulations. Moreover, there should be more collaboration among revenue-related agencies. Most importantly, during legislation process, there should be revision of out-dated revenue laws or amendment on the part of the officer's consideration as incentive for them to efficiently enforce the law. There should also be laws supporting public participation in order to motivate officers not to abuse their duties. Moreover, proper tools or equipments should be provided to officers to facilitate their operation. However, legislation measures would not be successful without efficient executive measures such as organizational and personnel reengineering. This will eventually enhance the success in the enforcement of the laws
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5137
ISBN: 9741719914
Type: Thesis
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Cattaleya.pdf1.45 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.