Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5156
Title: ความคิดเห็นของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำโรงเรียน (อสร.) ต่อบทบาทในการปฏิบัติงานสาธารณสุขมูลฐานของโรงเรียนและชุมชน จังหวัดนครราชสีมา
Other Titles: Opinions of student health volunteers regarding primary health care to schools and community in Nakhon Ratchasima
Authors: วาสนา วรเรียน
Advisors: องอาจ วิพุธศิริ
สมรัตน์ เลิศมหาฤทธิ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: Ong-arj.V@Chula.ac.th
ไม่มีข้อมูล
Subjects: อาสาสมัครสาธารณสุข -- ทัศนคติ
สาธารณสุขมูลฐาน
Issue Date: 2545
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ความสมบูรณ์ทั้งสุขภาพกายและจิตของเด็กและเยาวชน คือ ความหวังของทุกประเทศ การให้ความสำคัญและการฝึกปฏิบัติงานเพื่อพัฒนาสุขภาพของตนเอง เพื่อน ครอบครัวและชุมชนในขณะที่เป็นเด็กนักเรียนจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งในทุกประการ การศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นของ อสร.ต่อบทบาทในการปฏิบัติงานสาธารณสุขมูลฐานโรงเรียนและชุมชน จังหวัดนครราชสีมา โดยศึกษาถึงความสำคัญและปริมาณงานที่ได้ปฏิบัติตามดัชนีกิจกรรมตามบทบาทในงานสาธารณสุขมูลฐานโรงเรียนและชุมชน ความพึงพอใจต่อดัชนีกิจกรรมปัจจัยสู่ความสำเร็จและความต้องการความรู้เพิ่มตามบทบาท โดยใช้แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเก็บข้อมูลระหว่างเดือนมกราคม ถึงกุมภาพันธ์ 2546 ใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน โดยสุ่มเลือกได้ 4 โซน 4 อำเภอ 16 โรงเรียน มีจำนวน อสร. 710 คน กำลังศึกษาอยู่ในชั้น ประถมศึกษาปีที่4 ถึงมัธยมศึกษาปีที่ 6 ผลการศึกษาพบว่า อสร. ส่วนใหญ่เป็นหญิง ร้อยละ 57.3 อายุเฉลี่ย 12.8 ปี ระยะเวลาเป็น อสร.เฉลี่ย 1.6 ปี กำลังศึกษาอยู่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 ร้อยละ 56.6 รับผิดชอบดูแลนักเรียนเฉลี่ย 1:17คน ในภาพรวมพบว่าจากดัชนีกิจกรรมงานสาธารณสุขมูลฐานโรงเรียนและชุมชน 26 ข้อกิจกรรมใน 4 ด้านนั้น อสร. กว่า 50%ให้คะแนนความสำคัญมาก (มากถึงมากที่สุด) จำนวน 25 กิจกรรม โดย 3 อันดับแรก คือ แนะนำเพื่อนดูแลสุขภาพ ปรับปรุงสิ่งแวดล้อมในบ้าน และออกกำลังกาย แต่มีเพียง 15 กิจกรรมที่ อสร. ให้คะแนนการปฏิบัติมาก(มากถึงมากที่สุด) สำหรับปัจจัยสู่ความสำเร็จอีก 9 ข้อกิจกรรมพบว่า อสร. ให้คะแนนความสำคัญมากเกิน ร้อยละ 50 ทั้ง 9 ข้อ โดย 3 อันดับแรก ได้แก่ การจัดอบรมอย่างต่อเนื่อง ครูทุกคนสนับสนุน และโรงเรียนมีนโยบายและแผนงานอย่างชัดเจน(ร้อยละ70) ซึ่งตรงกับสิ่งที่ อสร.ระบุว่าต้องการสนับสนุนและความรู้เพิ่มมากที่สุด(ร้อยละ70.8) เมื่อเปรียบเทียบ อสร.ในเขตชนบท(อบต.) และเขตเทศบาล พบว่า อสร.ในเขตชนบท ให้คะแนนความสำคัญ และการปฏิบัติสูงกว่า อสร. เขตเทศบาล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(p<0.05) ในกิจกรรมทุกด้าน และยังพบว่า อสร. ในเขตชนบท มีความพึงพอใจต่อกิจกรรมปัจจัยสู่ความสำเร็จสูงกว่า เขตเทศบาล ทุกเรื่อง(9ข้อกิจกรรม)ยกเว้นเรื่องงบประมาณในการดำเนินงาน และ อสร.ที่สมัครใจ มีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่า อสร.ที่ถูกเลือกในทุกกิจกรรมทุกด้านอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(p<0.05) เช่นเดียวกัน การศึกษานี้ พบว่า ยังมีช่องว่างความสำเร็จระหว่างการให้ความสำคัญซึ่งสูงกว่าการปฏิบัติในทุกดัชนีกิจกรรม ดังนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและโรงเรียนควรให้การสนับสนุนในการจัดอบรมความรู้ให้กับ อสร.อย่างต่อเนื่อง อสร.ต้องการการสนับสนุนจากครูทุกคน และหากโรงเรียนกำหนดนโยบายชัดเจนในการดำเนินงานสาธารณสุขมูลฐาน ตลอดจนการคัดเลือก อสร.จากความสมัครใจเพื่อให้การทำงานของ อสร.มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
Other Abstract: The completeness of physical health and mental health of children and youth are the goal of every countries. Students' perception on the importance of primary health care and practice for self health development, involving friends, family and others in community are crucial and benefit in many aspects. The purpose of this cross- sectional descriptive study was to explore the opinion of student health volunteers (SHV) regarding primary health care (PHC) to schools and community in Nakhon Ratchasima province .The importance, real practice, satisfaction and continuing education of a set of key activities indicators specified were determined. The study was conducted during January to February 2003 using self-administered questionnaires with the multi-stage cluster sampling. A total of 710 students from 4th primary to 6th secondary schools from 16 schools 4 zone 4 districts. The majority of respondents were female 57.3%, mean age 12.8 years old, education was primary to secondary 56.6%, mean period of being SHV was 1.6 years and average of students in responsible 1:17 persons. The results indicated that 25 out of 26 activities specified were rated as high important (score 4 and 5) by > 50% of respondents, the top three were advise on self health care, good housing, and promoting exercise. There were only 15 out of 26 activities rated as high practice. For critical success factors listed, 9 activities were marked as high important by >50% and the top three were continuous training, support from all teachers, and schools' policy commitment. Further analysis revealed that SHVs in rural setting rated with higher mean scores than SHVs in urban setting statistically significant different (p<0.05) for both the importance and practice of all activities listed, and also more satisfied with those 9 activities specified. Moreover, higher mean scores were found statistically significant different (p<0.05) by dedicated SHV than those forced SHV in all aspects. The result revealed the gaps between the importance and real practice in activities mentioned should be closed through continuous training and support. Students who are willing to be SHV demonstrated more effective performance than those compulsory students.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เวชศาสตร์ชุมชน
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5156
ISBN: 9741730772
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
vasana.pdf1.16 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.