Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51614
Title: | การพัฒนาโปรแกรมโยคะเพื่อพัฒนาความจำและสมรรถภาพทางกายสำหรับนักเรียนประถมศึกษา |
Other Titles: | Developement of a yoga program model to promote memory and physical fitness for elementary school students |
Authors: | เกษร อุทัยเวียนกุล |
Advisors: | ถนอมวงศ์ กฤษณ์เพ็ชร์ ศิลปชัย สุวรรณธาดา |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Advisor's Email: | tkritpet@yahoo.com Silpachai.Su@chula.ac.th |
Subjects: | โยคะ (กายบริหาร) สมรรถภาพทางกาย -- การทดสอบ ปริญญาดุษฎีบัณฑิต Hatha yoga Physical fitness -- Testing |
Issue Date: | 2554 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | พัฒนาโปรแกรมโยคะที่มีผลต่อความจำซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเชาวน์ปัญญา และสมรรถภาพทางกายสำหรับนักเรียนประถมศึกษา ซึ่งพัฒนาโปรแกรมโยคะโดยผู้วิจัย และนำไปใช้กับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักเรียนประถมศึกษาจำนวน 80 คน ที่สมัครเข้าร่วมการทดลองโดยผ่านเกณฑ์การคัดเข้า แบ่งออกเป็น 4 กลุ่มๆ ละ 20 คน เป็นชาย 10 คน หญิง 10 คน รวม 80 คน กลุ่มที่ 1 เชาวน์ปัญญาต่ำ-สมรรถภาพทางกายต่ำ กลุ่มที่ 2 เชาวน์ปัญญาปกติ-สมรรถภาพทางกายต่ำ กลุ่มที่ 3 เชาวน์ปัญญาต่ำ-สมรรถภาพทางกายปกติ กลุ่มที่ 4 เชาวน์ปัญญาปกติ-สมรรถภาพทางกายปกติ ดำเนินการทดลอง 12 สัปดาห์ ให้กลุ่มที่ 1, 2, 3 เข้ารับการฝึกโปรแกรมโยคะ กลุ่มที่ 4 ไม่ได้เข้ารับการฝึก ทำการเก็บข้อมูลก่อนทดลองและหลังการทดลอง นำข้อมูลที่ได้หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ความแปรปรวนร่วม (ANC0VA) และทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่ ด้วยวิธีบอนเฟอโรนี (Bonferroni) ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05 ผลการวิจัยพบว่า 1. โปรแกรมโยคะเพื่อพัฒนาความจำซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเชาวน์ปัญญา และสมรรถภาพทางกายสำหรับนักเรียนประถมศึกษา มีความตรงเชิงเนื้อหา โดยมีค่าดัชนีความสอดคล้องของการประเมินเชิงเนื้อหา ขั้นอบอุ่นร่างกาย เท่ากับ 0.91 ขั้นฝึกปฏิบัติ เท่ากับ 0.87 และขั้นผ่อนคลาย เท่ากับ 0.92 2. โปรแกรมโยคะเพื่อพัฒนาความจำซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเชาวน์ปัญญาของนักเรียนประถมศึกษาทั้ง 4 กลุ่ม พบว่าไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. โปรแกรมโยคะเพื่อพัฒนาสมรรถภาพทางกายของนักเรียนประถมศึกษาทั้ง 4 กลุ่ม พบว่ามีสมรรถภาพทางกายแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และจากการทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่ด้วยวิธีบอนเฟอโรนีพบว่าทั้ง 4 กลุ่มมีสมรรถภาพทางกายแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 คือ ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหน้าท้องแตกต่างกัน 2 คู่ คือ กลุ่มที่ 2 แข็งแรงกว่ากลุ่มที่ 1 และกลุ่มที่ 3 แข็งแรงกว่ากลุ่มที่ 1 ความแข็งแรงของ แขน ไหล่ หน้าอก แตกต่างกัน 2 คู่ คือ กลุ่มที่ 3 แข็งแรงกว่ากลุ่มที่ 1 กลุ่มที่ 2 และกลุ่มที่ 4 ด้านการทรงตัวแตกต่างกัน 1 คู่ กลุ่มที่ 2 ทรงตัวดีกว่ากลุ่มที่ 4 ด้านความสัมพันธ์ระหว่างมือกับตาแตกต่างกัน 2 คู่ คือ กลุ่มที่ 1 สูงกว่ากลุ่มที่ 2 และกลุ่มที่ 3 สูงกว่ากลุ่มที่ 2 สรุปได้ว่าโปรแกรมโยคะเพื่อพัฒนาความจำซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเชาวน์ปัญญาและสมรรถภาพทางกาย มีผลต่อสมรรถภาพทางกายอย่างชัดเจน ด้านความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหน้าท้อง ความแข็งแรงของแขน ไหล่ หน้าอก การทรงตัวและความสัมพันธ์ระหว่างมือกับตา ส่วนความจำมีการพัฒนาแต่ยังไม่ชัดเจนอันเนื่องมาจากวุฒิภาวะ ประสบการณ์การเรียนรู้เพิ่มขึ้นตามช่วงเวลาของการทดลองนาน 12 สัปดาห์ |
Other Abstract: | To develop a program yoga model to promote memory as a part of intelligence and physical fitness for elementary school students. Samples were 80 elementary school students volunteered to participate and met the specific criterion. They were divided into four group of 10 males and 10 females in each group. The first group was the low intelligence-low physical fitness, the second group was the normal intelligence-low physical fitness, the third group was the low intelligent-normal physical fitness and the fourth group was the normal intelligent-normal physical fitness. The experiment carried out for 12 weeks. The experimental groups 1,2,3 trained on the yoga program while the 4th group trained nothing. Data were collected at the pretest and posttest. They were analyzed interns of mean, standard deviations , analysis of co-variance, and Bonferroni method for post hoc, at the .05 significant level. The results were as follow : 1.The development program yoga model promoted memory and physical fitness for the elementary students possessed the index of congruence (IOC), as content validity, of the warm up, the practice and the warm down as to 0.92, 0.87 and 0.91, respectively. 2. There was no effect of the program yoga on facilitating the memory of all experimental groups, with the significant at the .05 level. 3. In comparing the effect of program yoga on physical fitness , the experimental groups 1, 2, 3 were significant higher than the 4nd group. In addition, there were significant difference among the experimental groups at the .05 level, as follow. 3.1 For the abdominal muscular strength, the 2nd group were stronger than the 1st group, the 3rd group were stronger than the 1st group, while the 2nd and 3rd groups were not difference significant. 3.2 For the strength of hand, shoulder and chest, the 3rd group were stronger than the 1st group, the 3rd group were stronger than the 2nd group, while the 1st group and the 2nd group were not significant difference. 3.3 For the body balance, the 2nd group were better than the 1st group, the 2nd group were better than the 3rd group, while the 1st group and the 2nd group were not difference significant. 3.4 For the eye-hand coordination, the 1st group were better than the 2nd group, the 3rd group were better than the 2nd group, while the 1st group and the 2nd group were not difference significant. In conclusion, Program Yoga was effectively for improving the physical fitness promote in the elementary, especially the abdominal musclular strength, the strength of hand, shoulder and chest, the body balance and the eye-hand coordination. But memory was not clear because of maturity, experience for learning had along time in 12 weeks. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554 |
Degree Name: | ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาเอก |
Degree Discipline: | พลศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51614 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.2076 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2011.2076 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
kasorn_ut.pdf | 2 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.