Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52164
Title: การพัฒนาแบบวัดความสุขในงานของพยาบาลวิชาชีพ
Other Titles: A SCALE DEVELOPMENT OF WORK HAPPINESS FOR PROFESSIONAL NURSES
Authors: น้ำทิพย์ กุณา
Advisors: อารีย์วรรณ อ่วมตานี
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
Advisor's Email: Areewan.O@Chula.ac.th,areeday@yahoo.com
Subjects: พยาบาล -- ความพอใจในการทำงาน
การวัดทางจิตวิทยา
Nurses -- Job satisfaction
Psychometrics
Issue Date: 2559
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแบบวัดความสุขในงานของพยาบาลวิชาชีพและตรวจสอบคุณภาพของแบบวัดความสุขในงานของพยาบาลวิชาชีพที่พัฒนาขึ้น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยนี้คือ พยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยของรัฐ 2 กลุ่ม ได้แก่ พยาบาลที่มีประสบการณ์ในการทำงานมากกว่า 5 ปี เป็นผู้ที่ หัวหน้าฝ่าย/หัวหน้างานระบุว่ามีความสุขในงาน จำนวน 25 คน และพยาบาลที่มีประสบการณ์ในการทำงาน 1 ปีขึ้นไป จำนวน 345 คน ซึ่งได้จากการสุ่มหลายขั้นตอน เครื่องมือวิจัยมีทั้งหมด 2 ชุด ได้แก่ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างเพื่อศึกษาพฤติกรรมความสุขในงาน และแบบวัดความสุขในงานของพยาบาลวิชาชีพที่ได้จากการบูรณาการแนวคิดความสุขในงานและเนื้อหาที่ได้จากการสัมภาษณ์ที่ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหา จากผู้ทรงคุณวุฒิ ได้ค่า CVI เท่ากับ .82 และวิเคราะห์ความเที่ยงของเครื่องมือได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาค เท่ากับ .90 นำแบบวัดความสุขในงานของพยาบาลวิชาชีพไปใช้กับกลุ่มพยาบาลวิชาชีพ ข้อมูลที่ได้นำมาวิเคราะห์โครงสร้างของตัวแปรรายการข้อคำถามพฤติกรรมความสุขในงานของพยาบาลวิชาชีพ โดยวิเคราะห์องค์ประกอบด้วยวิธีการสกัดองค์ประกอบหลัก หมุนแกนด้วยวิธีไดเร็คอ็อบลิมิน นำรายการข้อคำถามที่ได้แต่ละด้านมาวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างข้อคำถาม พิจารณาการคงไว้หรือตัดข้อคำถาม จากนั้นนำรายการข้อคำถามที่เหลือไปหาค่าความเที่ยงของเครื่องมือโดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาคอีกครั้ง ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. แบบวัดความสุขในงานของพยาบาลวิชาชีพ ประกอบด้วย 5 ด้าน คือความรักในงาน ความมุ่งมั่นในงาน การมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น การทำงานด้วยความเต็มใจและความกระตือรือร้นในงาน มี 20 รายการตัวแปรย่อย องค์ประกอบ พบว่ามีค่าน้ำหนักปัจจัยระหว่าง .506-.892 สามารถอธิบายความแปรปรวนได้ร้อยละ 66.945 2. การตรวจสอบคุณภาพของแบบวัดโดยการวิเคราะห์ความเที่ยงและโครงสร้างของแบบวัดแต่ละรายด้านดังนี้ ความเที่ยงของแบบวัดความสุขในงานของพยาบาลวิชาชีพได้ค่าความเที่ยงโดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟา ครอนบาค ด้านความรักในงาน เท่ากับ .092 มีค่าความแปรปรวน 72.486 % ด้านความมุ่งมั่นในงาน เท่ากับ .790 ค่าความแปรปรวน 69.343 % ด้านการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น เท่ากับ .746 ค่าความแปรปรวน 67.533 % ด้านการทำงานด้วยความเต็มใจ เท่ากับ .847 ค่าความแปรปรวน 63.964 % และด้านความกระตือรือร้นในงานได้เท่ากับ .854 มีค่าความแปรปรวน 69.889 % ผลการตรวจสอบคุณภาพของแบบวัดความสุขในงานของพยาบาลวิชาชีพ สรุปได้ว่ามีความตรงตามโครงสร้างและมีความเที่ยง สามารถนำไปใช้ในการวัดความสุขในงานของพยาบาลวิชาชีพ
Other Abstract: The purposes of this study were to (1) develop work happiness scale and (2) examine psychometric properties of the work happiness scale. Two groups of study samples were recruited in this study. Group 1 sample for interviews were 25 professional nurses, working happily in public university hospitals, identified by head nurses or nursing directors. Group 2 sample for answering the tool were 345 professional nurses working in public university hospitals, selected by multi-stage sampling. The research instruments were 1) semi- structure interview about how nurses behave when working happily and 2) Work Happiness Scale (WHS) developed by integrating work happiness concepts and interview contents. The WHS was examined for content validity by a panel of experts. The content validity index of the WHS was .82. The WHS was tried out with 30 professional nurses and then analyzed reliability with alpha coefficient of .90. After data collection, data were analyzed by using the factor analysis with principle component and direct oblimin rotation, and reliability with alpha Cronbach method. Research findings were as follows: 1. The Work Happiness Scale was consisted 5 components including 1) Love of the work (LW), 2) Concentration at work (CW), 3) Inter-personal relationship (IR), 4) Willingness to work (WW), and 5) Work enthusiasm (WE). According to factor analysis, the scale included 20 items, accounted for 66.945% of total variance. 2. The psychometric properties of the Work Happiness Scale were used 2 methods including Alpha Cronbach’s coefficient and factor analysis. The Alpha Cronbach’s coefficient of LW, CW, IR, WW, and WE are .92, .79, .75, .85 and .85 respectively; and the overall of work happiness is .92. The percent of variance explained of LW, CW, IR, WW, and WE are 72.486 %, 69.343 %, 67.533 %, 63.964 and 69.889 % repectively. Conclusion: The research findings provide strong evidence of validity and reliability of the scale of work happiness for professional nurses and the research provides appropriated scale for use in professional nurses.
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559
Degree Name: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การบริหารการพยาบาล
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52164
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.149
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2016.149
Type: Thesis
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5577328536.pdf6.96 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.