Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52620
Title: | แนวทางการมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาโรงเรียนพระปริยัติธรรมในภาคใต้ |
Other Titles: | Guidelines for community participation to develop phrapariyatitham schools in Southern Thailand |
Authors: | ภัทรพร อุตพันธ์ |
Advisors: | อุบลวรรณ หงษ์วิทยากร |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Advisor's Email: | Ubonwan.H@Chula.ac.th |
Subjects: | โรงเรียนพระปริยัติธรรม -- ไทย (ภาคใต้) สงฆ์ -- การศึกษา -- การมีส่วนร่วมของประชาชน Phrapariyatitham schools -- Thailand, Southern. Priests, Buddhist -- Education -- Citizen participation Buddhist monks -- Education |
Issue Date: | 2550 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพและปัญหาการมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาโรงเรียนพระปริยัติธรรมในภาคใต้ 2) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาโรงเรียนพระปริยัติธรรมในภาคใต้ และ 3) นำเสนอแนวทางการมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาโรงเรียนพระปริยัติธรรมในภาคใต้ โดยผู้วิจัยได้คัดเลือกพื้นที่ โดยการคัดเลือกแบบเจาะจงและสุ่มอย่างง่าย ได้โรงเรียนมา 2 แห่ง คือ โรงเรียน ก และโรงเรียน ข การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ แบบลงพื้นที่ โดยการสัมภาษณ์ และการสนทนากลุ่ม โดยแต่ละโรงเรียนจะมีผู้ให้ข้อมูลแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มชุมชน เช่น ผู้นำชุมชน ประชาชน เป็นต้น กลุ่มโรงเรียน เช่น ผู้อำนวยการโรงเรียน ผู้จัดการโรงเรียน และครู ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาโรงเรียนพระปริยัติธรรม ในภาคใต้ ผู้ที่เข้ามามีส่วนร่วมคือ ผู้ปกครอง ผู้นำชุมชน คณะกรรมการสถานศึกษาและประชาชนทั่วไป โดยส่วนใหญ่ชุมชนจะไม่ค่อยได้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาโดยตรง แต่จะเข้ามาในลักษณะของการบริจาคเงิน และอุปกรณ์การเรียนการสอนต่างๆ 2) ปัญหาการมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาโรงเรียนพระปริยัติธรรม ในภาคใต้ คือ ระบบการบริหารงานด้านวิชาการของโรงเรียนไม่เอื้อต่อการเข้ามามีส่วนร่วมของชุมชน ระบบการบริหารงบประมาณไม่ดี ครูไม่มีคุณภาพ ช่วงเวลาที่โรงเรียนจัดกิจกรรมไม่เอื้อต่อการมีส่วนร่วมของชุมชน3) ปัจจัยที่ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาโรงเรียนพระปริยัติธรรม ในภาคใต้ ประกอบด้วย 3 กลุ่มใหญ่ คือ กลุ่มที่ 1 ปัจจัยเกี่ยวกับสภาพแวดล้อม ประกอบด้วย (1) ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ ได้แก่ สภาวะเศรษฐกิจดีส่งผลให้ชุมชนเข้ามามีส่วนสนับสนุนโรงเรียนมาก (2) ปัจจัยด้านสังคมและวัฒนธรรม ได้แก่ ความเชื่อและค่านิยมของคนไทยช่วยส่งเสริมการเข้ามามีส่วนร่วมของชุมชน (3) ปัจจัยด้านกายภาพ ได้แก่ การเดินทางที่สะดวกเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมกับโรงเรียน กลุ่มที่ 2 ปัจจัยเกี่ยวกับชุมชน กล่าวคือ คนในชุมชนบางส่วนศรัทธาต่อผู้จัดการโรงเรียน (เจ้าอาวาส ) และครูที่เป็นพระภิกษุที่เป็นคนดีมีความสามารถ คนในชุมชนศรัทธาต่ออดีตผู้จัดการโรงเรียน ชุมชนเห็นความสำคัญของโรงเรียนพระปริยัติธรรม กลุ่มที่ 3 ปัจจัยเกี่ยวกับโรงเรียน ประกอบด้วย (1) ปัจจัยด้านบุคลากรของโรงเรียน ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียนรุ่นเก่าสร้างความศรัทธาต่อคนในชุมชน ผู้บริหารต้องสะดวกต่อการติดต่อของชุมชน ผู้บริหารและครูมีความสัมพันธ์ที่ดีกับชุมชน ผู้บริหารและครูมีอัธยาศัยดี (2) ปัจจัยด้านการปฏิบัติงานของโรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนเป็นผู้ขอความร่วมมือจากชุมชน การประชาสัมพันธ์ที่ดีส่งผลให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมกับโรงเรียนมากขึ้น โรงเรียนให้ความเอื้อเฟื้อชุมชน (3) ปัจจัย ด้านผลการปฏิบัติตนของโรงเรียน ได้แก่ ความสำเร็จของนักเรียนทำให้ชุมชนประทับใจ โรงเรียนสะอาดร่มรื่น4) ปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อการมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาโรงเรียนพระปริยัติธรรม ในภาคใต้ ประกอบด้วย 3 กลุ่มใหญ่ คือ กลุ่มที่ 1 ปัจจัยเกี่ยวกับสภาพแวดล้อม ประกอบด้วย (1) ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ ได้แก่ โครงสร้างอาชีพอยู่ในภาคการค้าขาย รับจ้าง และรับราชการทำให้ชุมชนไม่มีเวลาว่าง (2) ปัจจัยด้านความเชื่อค่านิยม ได้แก่ สถานภาพความเป็นพระสงฆ์เป็นข้อจำกัดในการเข้าร่วมกิจกรรมของชุมชน (3) ปัจจัยด้านการเมืองการปกครองท้องถิ่น ได้แก่ ความสัมพันธ์ระหว่างผู้นำท้องถิ่นกับโรงเรียนมีน้อยส่งผลให้ความร่วมมือต่างๆ ลดลง การแบ่งเขตเทศบาลที่แยกชุมชนออกจากบริเวณพื้นที่ของโรงเรียน ส่งผลให้ชุมชนเข้าร่วมน้อยลง กลุ่มที่ 2 ปัจจัยเกี่ยวกับชุมชน ประกอบด้วย ชุมชนเสื่อมความศรัทธาต่อพระสงฆ์และสามเณร การย้ายเข้าของประชาชนต่างพื้นที่ ชุมชนไม่เห็นความสำคัญของการศึกษา ชุมชนมีความรู้ไม่เพียงพอ กลุ่มที่ 3 ปัจจัยเกี่ยวกับโรงเรียน ประกอบด้วย (1) ปัจจัยด้านบุคลากร ได้แก่ การแต่งตั้งผู้บริหารไม่มีระบบที่ชัดเจน และไม่สอดคล้องกับความต้องการของชุมชนบางส่วน ไม่มีระบบการคัดเลือกและให้ความดีความชอบแก่ครู (2) ปัจจัยด้านวิธีปฏิบัติของโรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนไม่เปิดโอกาสให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วม ประชาสัมพันธ์น้อย โรงเรียนเป็นฝ่ายรับมากกว่าฝ่ายให้ (3) ปัจจัยด้านผลการปฏิบัติงานของโรงเรียน ได้แก่พฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมของสามเณร5) แนวทางการมีส่วนร่วมของชุมชน ในการพัฒนาโรงเรียนพระปริยัติธรรม ในภาคใต้ แบ่งออกเป็น 4 ด้านคือ (1) ด้านวิชาการ ได้แก่ การอบรมคณะกรรมการสถานศึกษาให้มีความรู้ ความเข้าใจในการจัดการศึกษา สร้างเครือข่ายด้านวิชาการกับโรงเรียนสังกัดอื่นๆ อบรมให้ความรู้แก่ชุมชนเกี่ยวกับการทำหลักสูตรท้องถิ่น (2) ด้านงบประมาณ ได้แก่ จัดตั้งคณะกรรมการที่เป็นตัวแทนจากชุมชนขึ้นมาดูแล (3) ด้านบุคลากร ได้แก่ การพัฒนาคุณลักษณะของผู้จัดการโรงเรียน การพัฒนาคุณลักษณะของพระสงฆ์และสามเณร สร้างเครือข่ายครูกับโรงเรียนอื่น (4) ด้านบริหารงานทั่วไป ได้แก่ สร้างเครืองข่ายกับ กศน.ร่วมกันจัดแหล่งเรียนรู้ให้ชุมชน โดยให้กศน. เข้ามาจัดกิจกรรมเสริมอาชีพให้ชุมชน จัดกิจกรรมเชื่อมสัมพันธ์กับชุมชน สร้างเครือข่ายการประชาสัมพันธ์ |
Other Abstract: | The purposes of this research were to 1) study the state and problem of community participation to develop Phrapariyatitham schools in southern Thailand 2) study factors which effect the community participation to develop Phrapariyatitham schools in southern Thailand 3) propose the guidelines for community participation to develop Phrapariyatitham schools in southern Thailand Researcher selected the two areas by purposive selection and simply sampling, from the selection , getting one medium school and one small school ( ก school and ข school). This research utilized a survey research methodology by field study method. Data collection used interview and the tachniques of focus-group discussion. Participants were divided in two groups ; community group such as community leader, community people, etc. and school group such as school administrator, school manager and teacher. Research findings were as follows: 1) The states of community participation to develop Phrapariyatitham schools in southern Thailand, the participants were parents, community leader and educational schools boards and people. Most of people did not participate directly in educational management but joined in terms of the money and instructional equipments contribution. 2) The problems of community participation to develop Phrapariyatitham schools in southern Thailand was that school of academic administrative system did not support community participation, budget arranging system has not been good, non-quality teacher and period time for doing activities did not help community participation. 3) Factors enhancing community participation to develop Phrapariyatitham schools in southern Thailand consisted of three groups ; group 1 was divided in three factors such as economic condition, society and culture and physical environments ; group 2 consisted of the community relationship, the relation between community and school, the faith of community to school and school members, the community consistence between school and temple ; group 3 school factors such as school members, the performance of school and the performance effectiveness. 4) Obstacle factors to community to develop Phrapariyatitham schools in southern Thailand revealed that three groups ; group 1 was divided in three groups 1) economic factors such as economic construction 2) trust and value of society such as the status of monks is limitted in participation of school activity 3) local politic factors such as decline of relationship between a local leader and the school. Group 2 was community factors such as an imigration of different area people. Group 3 was divided in three groups ; the school members , the school performance and the school effectiveness . 5) The guidelines for community participation to develop Phrapariyatitham schools in southern Thailand were divided in 4 sides 1) Academy such as school committee training for educational arranging knowledge. 2) Budget such as settig up the committee representing community to supervise. 3) Personnel such as developing of the qualities of the person of school manager, monk and neophyte. 4) General administration such as making the connection with the commission of Non-formal education and arranging the activities enhancing the community relationship |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | พัฒนศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52620 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.131 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2007.131 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
phattaraporn_ut_front.pdf | 1 MB | Adobe PDF | View/Open | |
phattaraporn_ut_ch1.pdf | 1.46 MB | Adobe PDF | View/Open | |
phattaraporn_ut_ch2.pdf | 7.38 MB | Adobe PDF | View/Open | |
phattaraporn_ut_ch3.pdf | 876.53 kB | Adobe PDF | View/Open | |
phattaraporn_ut_ch4.pdf | 964.56 kB | Adobe PDF | View/Open | |
phattaraporn_ut_ch5.pdf | 8.8 MB | Adobe PDF | View/Open | |
phattaraporn_ut_ch6.pdf | 1.57 MB | Adobe PDF | View/Open | |
phattaraporn_ut_back.pdf | 2.48 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.