Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52725
Title: ความชุกของการขาดหายของโปรตีนพีเทนในผู้ป่วยโรคมะเร็งเต้านมชนิดทริปเปิลเนกาติพ (ชนิดที่ไม่แสดงถึงฮอร์โมนเอสโตรเจน ฮอร์โมนโปรเจรเตอโรนและเฮอร์ทู) ในประชากรของประเทศไทย
Other Titles: Prevalence of pten loss in triple negative brest cancer, Thai population
Authors: ทิวา เกียรติปานอภิกุล
Advisors: วิโรจน์ ศรีอุฬารพงศ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: Virote.S@Chula.ac.th
Subjects: โปรตีน
เต้านม -- มะเร็ง
Proteins
Breast -- Cancer
Issue Date: 2554
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ที่มา : โรคมะเร็งเต้านมชนิดทริปเปิลเนกาติพ มีความรุนแรงมากกว่ากลุ่มเซลล์มะเร็งเต้านมชนิดอื่นๆ ปัจจุบันยังไม่พบข้อบ่งชี้ใดๆใช้เป็นการรักษาโดยเฉพาะ แต่พบว่าโปรตีนพีเทนมีส่วนสำคัญในมะเร็งเต้านม ซึ่งถ้าทำหน้าที่บกพร่องไปนั้นอาจทำให้การพยากรณ์ของโรคยิ่งเลวลงได้ วัตถุประสงค์ : การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์หลักและรองเพื่อหาความชุกของการขาดหายของโปรตีนพีเทนในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมชนิดทริปเปิลเนกาติพ และความสัมพันธ์ต่างๆในทางคลินิก วิธีการ : ผู้ป่วยหญิงที่เป็นโรคมะเร็งเต้านมชนิดทริปเปิลเนกาติพได้ตรวจชิ้นเนื้อมะเร็งถูกเตรียมด้วยวิธีไมโครแอเรย์เนื้อเยื่อและตรวจหาโปรตีนพีเทนด้วยวิธีอิมมูโนฮีสโตเคมี โดยใช้โมโนโคนอลแอนติบอดี้โคลน 28H6 ระหว่างมิถุนายน 2549 ถึงธันวาคม 2554 จำนวน 78 ราย ผลการวิจัย : ผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งเต้านมชนิดทริปเปิลเนกาติพที่มีการขาดหายของโปรตีนพีเทนทั้งหมด 24 รายคิดเป็นร้อยละ 30.8 โดยมีแนวโน้มว่าค่าเฉลี่ยของอายุมากกว่า ลักษณะทางพยาธิวิทยาที่รุนแรงกว่า และอัตราการกลับเป็นโรคซ้ำมากกว่ากลุ่มที่แสดงออกของโปรตีนพีเทน (odd ratio = 0.61, 95%CI=0.24-1.58,P = 0.22), มีค่ามัธยฐานการปลอดโรคประมาณ 30 เดือน สรุปผลการวิจัย : ความชุกของการขาดหายไปของโปรตีนพีเทนมะเร็งเต้านมชนิดทริปเปิลเนกาติพของประชากรไทยไม่ต่างกับมะเร็งเต้านมของการศึกษาอื่นๆ มีแนวโน้มการพยากรณ์ของโรครุนแรงกว่า การติดตามโรคที่นานขึ้นและจำนวนผู้ป่วยมากขึ้นจะช่วยยืนยันผลการศึกษาได้
Other Abstract: INTRODUCTION: Currently a definitive marker for positive selection of the triple-negative breast cancer (TNBC) remains unavailable. PTEN expression may play an important role in TNBC aggressive phenotype. We sought PTEN expression in TNBC in our institute. OBJECTIVE: The primary objective is to determine the prevalence of PTEN loss in TNBC tumor tissue. We found an association between clinical parameters and PTEN expression. METHODS: Female TNBC patients who received treatment were identified. Tissue microarrays were constructed and we used anti-PTEN clone 28H6 to determine the level of PTEN protein. RESULTS: There were 78 TNBC patients with adequate tumor tissue available. Our cohort found mostly grade 3, and Ki - 67 > 30% , which was not different from other studies. Thirty percent (24 of 78) had undetectable PTEN. In PTEN –negative patients, the average age was 50.3 years. Loss of PTEN expression was associated with tumor size (>2 cm) (79.3% vs 70.4%), lymphovascular invasion (52.6%vs46.8%), lymph node involvement (54.2% vs 35.1%). Time to recurrence was shorter in the PTEN negative group (30 months vs not reach) (Odd Ratio (OR) = 0.61, 95%CI = 0.24,1.58, P=0.22). CONCLUSION: One – third of Thai TNBC patients have PTEN loss. Our data indicates a poorer prognosis in TNBC with PTEN loss. Further study in larger population and longer time of follow up is warranted.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: อายุรศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52725
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.2177
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2011.2177
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
thiva_ki.pdf3.15 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.