Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/527
Title: การพัฒนากลยุทธ์การจัดการโปรแกรมนานาชาติของสถาบันอุดมศึกษาไทย
Other Titles: The development of strategic management for international programs of Thai higher education institutions
Authors: ธเนศ จิตสุทธิภากร, 2508-
Advisors: สุชาติ ตันธนะเดชา
วราภรณ์ บวรศิริ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Suchart.T@Chula.ac.th
Varaporn.B@Chula.ac.th
Subjects: หลักสูตรนานาชาติ
สถาบันอุดมศึกษา--ไทย
Issue Date: 2547
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาวิเคราะห์สภาพปัจจุบันและปัญหาการจัดการโปรแกรมนานาชาติของสถาบันอุดมศึกษาไทย 2) ศึกษาวิเคราะห์รูปแบบการจัดการโปรแกรมนานาชาติของสถาบันอุดมศึกษาไทย 3) ศึกษาเชิงเปรียบเทียบปัจจัยแห่งความสำเร็จการจัดการโปรแกรมนานาชาติในแต่ละรูปแบบ และ 4) เพื่อนำเสนอกลยุทธ์ในการจัดการโปรแกรมนานาชาติตามประเภทรูปแบบของการจัดการโปรแกรมนานาชาติของสถาบันอุดมศึกษาไทย ผลการวิจัยพบว่า องค์ประกอบของโปรแกรมนานาชาติเพื่อสู่ความเป็นสากลมีองค์ประกอบด้วยกัน 6 ด้าน ประกอบด้วยนักศึกษา อาจารย์ กิจกรรมนานาชาติ ทรัพยากรสนับสนุนในการเรียนค้นคว้าหาข้อมูล การบริหารจัดการ และหลักสูตรนานาชาติ ปี 2547 มีโปรแกรมนานาชาติที่เปิดสอนอยู่ 520 หลักสูตร ในปี 2546 มีนักศึกษาต่างชาติ จำนวน 4,170 คน เป็นนักศึกษาจากประเทศจีนมากที่สุดคือเป็นร้อยละ 28.44 ของนักศึกษาต่างชาติทั้งหมด และนักศึกษาส่วนมากใช้ทุนส่วนตัวคิดเป็นร้อยละ 67.53 การจัดโปรแกรมนานาชาติมีการจัดอยู่ใน 4 รูปแบบคือ รูปแบบที่ 1 สถาบันอุดมศึกษาไทยจัดเอง รูปแบบที่ 2 สถาบันอุดมศึกษาไทยร่วมมือกันระหว่างสถาบันในประเทศ รูปแบบที่ 3 สถาบันอุดมศึกษาไทยร่วมมือกับต่างประเทศ รูปแบบที่ 4 สถาบันอุดมศึกษาไทยร่วมมือกับต่างประเทศ จัดเป็นสถาบันนานาชาติอยู่ในรูปแบบที่ 1 มีมากที่สุด รองลงมาคือรูปแบบที่ 3 ส่วนรูปแบบที่ 2 และรูปแบบที่ 4 มีเท่ากัน ปัญหาของการจัดโปรแกรมนานาชาติส่วนมากคือจำนวนนักศึกษาต่างชาติน้อย และไม่มีความหลากหลายขณะที่การจัดกิจกรรมนานาชาติมีน้อยเนื่องจากขาดแคลนงบประมาณ โปรแกรมนานาชาติ ประกอบด้วย 2 ส่วน คือหลักสูตรที่เป็นสากลและสภาพแวดล้อมที่เป็นนานาชาติ โครงสร้างการบริหารโปรแกรมนานาชาติมีอยู่ใน 2 ลักษณะคือ เป็นหน่วยงานเทียบเท่าภาควิชาภายใต้คณะหรือเป็นหน่วยงานเทียบเท่าคณะในรูปแบบของวิทยาลัยนานาชาติ ปัจจัยแห่งความสำเร็จของการจัดการโปรแกรมนานาชาติประกอบด้วย 13 ปัจจัยคือ วิสัยทัศน์ ภาวะความเป็นผู้นำความคล่องตัวในการบริหาร คุณภาพอาจารย์ หลักสูตรทันสมัย เว็บไซต์ทันสมัย การสื่อสารดี ประชาสัมพันธ์เชิงรุก ใช้ทรัพยากรร่วมกันให้เกิดประโยชน์สูงสุด มีแหล่งเงินทุนสนับสนุนภายนอก ความมีชื่อเสียงของสถาบัน ความสนใจร่วมกัน และการบอกต่อของศิษย์เก่า โดยใน 8 ปัจจัยแห่งความสำเร็จแรกมีอยู่ร่วมกันทุกโปรแกรมนานาชาติ ทั้ง 4 รูปแบบ กลยุทธ์ในการจัดการโปรแกรมนานาชาติประกอบด้วย 2 ส่วน คือ 1) กลยุทธ์ในการพัฒนาสู่ความเป็นนานาชาติ ประกอบด้วย กลยุทธ์ในการเพิ่มความหลากหลายของนักศึกษา กลยุทธ์การเพิ่มความหลากหลายของคณาจารย์ กลยุทธ์ในการพัฒนากิจกรรมนานาชาติ กลยุทธ์ในการจัดสรรทรัพยากรที่เอื้ออำนวยความสะดวกต่อผู้เรียนในการค้นคว้าหาข้อมูล กลยุทธ์ในการพัฒนาหลักสูตรให้มีความเป็นสากล และกลยุทธ์ในการบริหารจัดการโปรแกรมนานาชาติ 2) กลยุทธ์ในการเพิ่มศักยภาพทางการแข่งขันให้มีความได้เปรียบทางการแข่งขัน ประกอบด้วยกลยุทธ์ในการสร้างความร่วมมือและกลยุทธ์ในการสร้างความเป็นเอกลักษณ์ของเนื้อหาหลักสูตร
Other Abstract: The purposes of this research are 1) to study present situation and analyze problem of international program management for Thai higher education institutions at present situation 2) to analyze administration model for international program in Thailand 3) to analyze and compare "Key Success Factors" for international program in Thailand 4) to introduce strategies for managing international programs in each model of Thai higher education institutions. The components of the international program in Thailand consist of the following: Student Diversity, Teacher Diversity, International Activities, Resources, Management and Curriculum. In year 2004, there are 520 international programs in Thailand. In year 2003, there are 4,170 foreign students, most of them from China, 28.44%. Most of the foreign students use personal funds, 67.53% of total foreign students. International programs classified into 4 models. Model 1 is offering by one Thai university, Model 2 is collaboration among Thai universities, Model 3 is collaboration between Thai and foreign universities, and Model 4 is collaboration of Thai and foreign universities by creating a new international institution. Most of international programs in Thailand fall into model 1, followed by model 3. Model 2 and model 4 are equal numbers of ranges. The component of international program is divided into 2 parts: Part 1 is international curriculum and Part 2 is international environment. There are two management structures of international program, 1) international programs under faculty 2) international programs under international college. The results of the research showed 13 key success factors for international programs: Vision, Leadership, Agility Organization, Quality of Teaching, Modern Curriculum, Attractive Website, Effective Communication, Proactive Promotion, Maximum Utilization Resources, External Sources of Fund, Reputation Name, Mutual Benefit and Word of Mouth. All 4 models shared the same first eight key success factors. It was found that the main strategies to be more successful and more internationalization for Thai higher education institutions were 1) components of strategic management to be international consist of: diversify students, diversify teachers, development of international activities, efficient used of resource management, development of curriculum to be more international and international management. 2) the components of strategic management consist of: collaboration and uniqueness.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: อุดมศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/527
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2004.785
ISBN: 9745322024
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2004.785
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Tanate.pdf3.45 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.