Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52866
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorไขศรี ภักดิ์สุขเจริญ-
dc.contributor.authorฉัฐวัฒน์ บุญรำไพ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์-
dc.date.accessioned2017-05-18T04:30:00Z-
dc.date.available2017-05-18T04:30:00Z-
dc.date.issued2551-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52866-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551en_US
dc.description.abstractวิทยานิพนธ์นี้มีจุดประสงค์เพื่อเสนอแนวทางการปรับปรุงพื้นที่เปลี่ยนถ่ายการสัญจรอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิโดยเน้นการปรับปรุง ให้เป็นทั้งจุดเชื่อมต่อการเดินทาง (node) ที่มีประสิทธิภาพ ควบคู่กับการเป็นสถานที่ (place) ที่สำคัญและมีความหมาย เป็นที่ตั้งของภูมิสัญลักษณ์ระดับเมือง รวมทั้งเป็นย่านพาณิชย์พักอาศัยที่มีเอกลักษณ์ โดยทำการศึกษาวิเคราะห์พื้นที่ในเชิงกายภาพ จินตภาพ เศรษฐกิจ และสังคม พื้นที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิเป็นศูนย์กลางการคมนาคมที่สำคัญแห่งหนึ่งของกรุงเทพฯ ตั้งอยู่บนถนนสายหลักที่เชื่อมโยงระหว่างกรุงเทพและปริมณฑล พื้นที่โดยรอบวงเวียนอนุสาวรีย์ฯ เป็นพื้นที่เปลี่ยนถ่ายการสัญจรของระบบขนส่งหลากหลายประเภท ในอนาคตบริเวณนี้ยังเป็นจุดเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าใต้ดิน (MRT) ส่งผลให้ดึงดูดพื้นที่การค้าและการบริการที่หลากหลาย แต่ในปัจจุบันและแนวโน้มในอนาคต พื้นที่ไม่สามารถรองรับสภาพการณ์ดังกล่าวได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันเนื่องจากขาดการเชื่อมต่อโครงข่ายการสัญจรที่เป็นระบบ ทำให้การผ่านและเข้าถึงของผู้คน และการพัฒนาพื้นที่ทำได้ไม่ทั่วถึงทุกบริเวณ เกิดเป็นพื้นที่ปิดล้อมขนาดต่างๆ ที่ขาดการเข้าถึง ทำให้เกิดการใช้พื้นที่อย่างหนาแน่นเฉพาะบริเวณแนวแกนถนนสายหลัก ในขณะที่พื้นที่ด้านในกลับมีกิจกรรมที่เบาบาง พื้นที่สาธารณะโดยรอบองค์อนุสาวรีย์ฯ กลายเป็นเกาะกลางถนนที่ไม่มีการใช้ประโยชน์น้อยเนื่องจากถูกปิดล้อมด้วยถนนที่มีการจราจรอย่างคับคั่ง ทั้งนี้สภาพการปิดล้อมที่ไม่เหมาะสมเป็นจำนวนมากในพื้นที่ ทำให้ผู้คนขาดการรับรู้ความเป็นย่านสำคัญในภาพรวม ไม่เกิดความสง่างามของบริเวณที่เป็นที่ตั้งของภูมิสัญลักษณ์ระดับเมือง จากการวิเคราะห์ปัญหาและศักยภาพของพื้นที่ นำไปสู่การนำเสนอแนวทางพัฒนาในการวางผังเพื่อปรับปรุงพื้นที่เปลี่ยนถ่ายการสัญจรอนุสาวรีย์ฯโดยจำแนกเป็น มิติเชิงสัณฐาน: โดยการเชื่อมต่อโครงข่ายการสัญจรเพื่อให้เกิดการเข้าถึงจากพื้นที่ด้านนอกไปสู่ด้านในอย่างมีลำดับศักย์ เอื้อให้เกิดการแทรกซึมเลื่อนไหลของผู้คนและกิจกรรม รวมทั้งเชื่อมโยงเส้นทางใต้ดินไปสู่พื้นที่สาธารณะโดยรอบองค์อนุสาวรีย์ฯ อย่างเหมาะสม/มิติเชิงจินตภาพ: โดยการปรับปรุงมวลอาคารและพื้นที่ว่างให้เกิดการรับรู้อย่างเป็นเอกภาพ ปรับปรุงองค์ประกอบทางภูมิทัศน์ ส่งเสริมความสง่างามของภูมิสัญลักษณ์ระดับเมือง มิติทางเศรษฐกิจและสังคม: โดยการผสมผสานพื้นที่กิจกรรมที่ดึงดูดการใช้งานทั้งผู้คนภายนอกและภายในพื้นที่เพื่อให้เกิดความหลากหลายของผู้คนและกิจกรรมตลอดวัน ประกอบกับวางแผนประโยชน์การใช้ที่ดินและอาคาร ให้สอดคล้องกับลำดับศักย์ของถนนและทางเดินเท้า เพื่อให้มีลำดับการเข้าถึงที่เหมาะสม เกิดการพัฒนาทั่วบริเวณพื้นที่ แนวคิดในการพัฒนานี้สามารถใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการนำไปประยุกต์ใช้กับพื้นที่อื่นๆที่มีปัญหาและศักยภาพใกล้เคียงกันได้en_US
dc.description.abstractalternativeThe objective of this thesis is to propose area improvement guidelines for Victory Monument Transit Node Area to become an efficient transport node and a meaningful place where an important urban landmark and a unique commercial / residential district are situated. This is to be carried out by analyzing the area’s physical, perceptual and socio-economic characteristics. Victory Monument area is an important transit node in Bangkok, located on the intersection of major roads connecting between the city of Bangkok and its metropolitan areas. The area surrounded the main roundabout has become the transit area of major transportation means. In the near future, the node will also link with MRT underground train network, attracting more commercial and service facilities into the area. However, at present and in the future, the area cannot efficiently accommodate such expansion due to the lack of supporting road system thus consequently undermining the people’s accessibility and the overall urban redevelopment. This results in having so many dead-ended superblocks with heavily-used major roads but vacant inner blocks. Public open spaces around the Victory Monument are left underused as they are cut-off by the heavy traffic. The overall ‘superblock’ environment causes people to be less perceptible of their urban surroundings and undermines the integrity of the place. The analysis of the area’s problems and potentials leads to the proposal for area improvement which can be clarified into 3 dimensions. The morphological dimension emphasizes the hierarchical interconnectivity of the outer-inner urban blocks in order to allow the permeability of both people and activity to and from all public spaces. The perceptual dimension aims to rehabilitate both buildings and open spaces so they could be more visually unified and perceivable, to improve street furniture in order to enhance the beautification of the urban scape. The socio-economic dimension supports the mixing of activity areas to attract outsiders as well as local people. In addition, land use and building use planning strategies are to be applied in accordance with the hierarchy of road and pedestrian network in order to create the order of accessibility and to catalyze further urban rehabilitation. The concept shall be applied as a basic strategy for other similar cases which accommodate the same potentials and setbacks.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2008.145-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิen_US
dc.subjectการใช้ที่ดิน -- ไทย -- กรุงเทพฯen_US
dc.subjectการขนส่งในเมือง -- ไทย -- กรุงเทพฯen_US
dc.subjectการพัฒนาชุมชนเมือง -- ไทย -- กรุงเทพฯen_US
dc.subjectThe Victory Monument (Bangkok)en_US
dc.subjectLand use -- Thailand -- Bangkoken_US
dc.subjectUrban transportation -- Thailand -- Bangkoken_US
dc.subjectCommunity development, Urban -- Thailand -- Bangkoken_US
dc.titleแนวทางการปรับปรุงพื้นที่เปลี่ยนถ่ายการสัญจรอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ กรุงเทพมหานครen_US
dc.title.alternativeArea improvement guidelines of the victory monument transit node area, Bangkoken_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameสถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineการออกแบบชุมชนเมืองen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisormee2mee@hotmail.com-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2008.145-
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
chattawat_bo_front.pdf2.21 MBAdobe PDFView/Open
chattawat_bo_ch1.pdf1.83 MBAdobe PDFView/Open
chattawat_bo_ch2.pdf6.7 MBAdobe PDFView/Open
chattawat_bo_ch3.pdf900.16 kBAdobe PDFView/Open
chattawat_bo_ch4.pdf28.23 MBAdobe PDFView/Open
chattawat_bo_ch5.pdf4.53 MBAdobe PDFView/Open
chattawat_bo_ch6.pdf23.62 MBAdobe PDFView/Open
chattawat_bo_ch7.pdf1.31 MBAdobe PDFView/Open
chattawat_bo_back.pdf1.7 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.