Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52938
Title: การศึกษาแนวโน้มการประสานสัมพันธ์ในการจัดการศึกษานอกระบบโรงเรียน ระหว่างสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ และกรมการศึกษานอกโรงเรียน กระทรวงศึกษาธิการ
Other Titles: Study of trends of linkage in the management of non-formal education between the office of the national primary education commission and the department of non-formal education, the ministry of education
Authors: สุชาติ บัณฑิตเขียน
Advisors: อุ่นตา นพคุณ
ทวีวัฒน์ ปิตยานนท์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
Subjects: การศึกษานอกระบบโรงเรียน
ความร่วมมือทางการศึกษา
การศึกษาต่อเนื่อง
การประสานงาน
Non-formal education
Continuing education
Issue Date: 2532
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาแนวโน้มของการประสานสัมพันธ์ในการจัดการศึกษานอกระบบโรงเรียน ระหว่างสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติและกรมการศึกษานอกโรงเรียนในช่วงปี พ.ศ. 2535-2539 โดยใช้เทคนิคเดลฟายถามความคิดเห็นจากผู้เชี่ยวชาญจำนวน 25 คน ผลการวิจัยสรุปได้คือ ผู้เชี่ยวชาญมีความคิดเห็นสอดคล้องกันในเรื่องต่อไปนี้ว่า 1.แนวโน้มของปรัชญาหรือนโยบายของการประสานสัมพันธ์ในการจัดการศึกษานอกระบบโรงเรียน พบว่าทั้งสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติและกรมการศึกษานอกโรงเรียนจะยึดหลักปรัชญาการศึกษาตลอดชีวิตโดยเน้นที่การพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนเป็นหลัก รวมทั้งจะมีการกำหนดเป้าหมายนโยบายและแนวทางปฏิบัติงานร่วมกันอย่างใกล้ชิด 2.แนวโน้มเนื้อหาสาระและกิจกรรมที่ทำร่วมกันของการประสานสัมพันธ์ในการจัดการศึกษานอกระบบโรงเรียนพบว่า จะมีการจัดกิจกรรมที่ทำให้ประชาชนมีความรู้พื้นฐานที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตสร้างเสริมนิสัยคุณธรรม ความมีวินัย ความซื่อสัตย์ และกิจกรรมนั้นจะเป็นการศึกษากิจกรรมจากชุมชนซึ่งจะทำให้ตอบสนองความต้องการของชุมชนอย่างแท้จริง 3.แนวโน้มยุทธวิธีของการประสานสัมพันธ์ในการจัดการศึกษานอกระบบโรงเรียนพบว่า จะมีการกำหนดนโยบายร่วมตั้งแต่ระดับกรมลงถึงระดับจังหวัดและระดับผู้ปฏิบัติงานในท้องที่ ผู้บริหารระดับสูงจะต้องมีความจริงใจในการดำเนินงานร่วมกัน มีการจัดตั้งคณะกรรมการร่วมกันเพื่อให้เกิดการประสานสัมพันธ์อย่างใกล้ชิด รวมทั้งจะนำทรัพยากรที่มีอยู่ทั้งหมดของทั้งสองหน่วยงานมาใช้ให้เกิดประโยชน์ร่วมกัน 4.แนวโน้มขอบข่ายของการประสานสัมพันธ์ในการจัดการศึกษานอกระบบโรงเรียนพบว่า จะมีการกำหนดหน้าที่และบทบาทให้ชัดเจนว่าอะไรคือกิจกรรมหลักของแต่ละกรมหรือกิจกรรมรองของแต่ละกรมเพื่อให้การดำเนินงานมีความคล่องตัว และมีองค์กรที่เป็นตัวเชื่อมประสานในระดับนโยบายและปฏิบัติการ เพื่อให้การดำเนินงานของทั้งสองหน่วยงานประสานเชื่อมโยงเป็นรูปงานเดียวกัน 5.แนวโน้มของการบริหารงานการประสานสัมพันธ์ในการจัดการศึกษานอกระบบโรงเรียนพบว่าทั้งสองหน่วยงานจะมีการเจรจาวางแผนในการปฏิบัติงาน ระบุปัญหาและอุปสรรคต่างๆ อย่างเปิดเผยและจริงใจ จัดตั้งคณะทำงานประกอบด้วยบุคลากรจากสองหน่วยงานภายใต้การวางแผนการดำเนินงานร่วมกันโดยทำหน้าที่กำกับติดตามและนิเทศการดำเนินงาน กำหนดภารกิจที่ต้องปฏิบัติงานร่วมกันและจะใช้งบประมาณมาเป็นตัวประสานควบคุมการปฏิบัติงานประสานสัมพันธ์ไปด้วย
Other Abstract: The purpose of this study was to explore trends of linkage in the management of Non – Formal Education between the office of the National Primary Education Commission and the Department of Non Formal Education, the Ministry of Education during the period from 2535 B.E. to 2539 B.E. the Delphi technique was used to gather the opinion of 25 experts The Major finding were as follows:- 1. The trend for philosophy or the policy for the linkage in the management between the Department of Non-Formal Education and the National Primary Education Commission was both Departments would adhere themselves to the philosophy of life-long Education, by emphasizing the development of the people’s quality of life, and closely co operate in sefting of their goals. 2. The trend in the area of material, content and activities be provided for the people would be that of co operative between the two Departments in processing basic knowledges necessary for their self-sufficient traits and embedding in their character the ethical, moral, self-control and honesty and in real need, community’s activities would be applied as learning basis 3. The trend for strategies of linkage in the management of Non-Formal Education between the two Departments was that they would co-operated decision-making from the department level down to provincial level and local Joint level the top administrator should sincerely co-operate in working together. A co-ordinating committee should be established for closed linkage mutually utilizing the entire resources possessed by both agencies. 4. The trend in limiting the scope of linkage in the management between the two Departments was that there should be a definition of the role and responsibility of each department in order to achieve flexibility and that a co-ordinating body be responsible for policy and implementation. 5. The trend for administration of linkage in the management between the two Departments was that both Departments would arrange to jointing abstacle, and establish a working group consisting of personnel from both agencies in order to joint working follow up, supervise, define activities and use their budget as a method in controlling the implementation in the linkage in the management between the two agencies.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2532
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การศึกษานอกระบบโรงเรียน
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52938
ISBN: 9745698407
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Suchart_bu_front.pdf1.56 MBAdobe PDFView/Open
Suchart_bu_ch1.pdf1.22 MBAdobe PDFView/Open
Suchart_bu_ch2.pdf3.32 MBAdobe PDFView/Open
Suchart_bu_ch3.pdf1.11 MBAdobe PDFView/Open
Suchart_bu_ch4.pdf3.22 MBAdobe PDFView/Open
Suchart_bu_ch5.pdf3.26 MBAdobe PDFView/Open
Suchart_bu_back.pdf10.83 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.