Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/53067
Title: การย้ายถิ่นของแรงงานพม่า และผลกระทบต่อการพัฒนาในพื้นที่เขตเทศบาลเมืองแม่สอด อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก
Other Titles: Migration of Burmese workers and its impact on development in Mae-Sot Municipality, Tak Province
Authors: สุมาลี แซ่ว่อง
Advisors: สุภางค์ จันทวานิช
สมาน เหล่าดำรงชัย
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: supang.c@chula.ac.th
ไม่มีข้อมูล
Subjects: แรงงานต่างด้าวพม่า
การย้ายถิ่นของแรงงาน -- ไทย -- ตาก
ปัญหาสังคม -- ไทย -- ตาก
Foreign workers, Burmese
Migrant labor -- Thai -- Tak
Social problems -- Thai -- Tak
Issue Date: 2549
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสาเหตุ และรูปแบบต่างๆ ของการย้ายถิ่นของแรงงานพม่าที่เข้ามาอาศัย และทำงานในเขตเทศบาลเมืองแม่สอด 2) ศึกษาผลกระทบการย้ายถิ่นของแรงงานพม่า ด้านเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม ที่มีต่อการพัฒนาด้านต่างๆ ในเขตเทศบาลเมืองแม่สอด จากการศึกษาสามารถสรุปได้ว่า การย้ายถิ่นของแรงงานพม่าที่เข้ามาอาศัย และทำงานในเขตเทศบาลเมืองแม่สอด มีสาเหตุหลักมาจากปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจ และมีความขัดแย้งภายในประเทศพม่า ทำให้ประชาชนไม่มีที่ดินทำกิน รายได้ไม่เพียงพอต่อการยังชีพ และมีสภาพความเป็นอยู่ที่ยากลำบาก ประกอบกับประเทศไทยมีภาวะทางเศรษฐกิจที่ดีกว่า ทั้งในด้านรายได้ ค่าจ้าง โอกาสหารายได้ และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ทำให้แรงงานพม่าอพยพย้ายถิ่นเข้ามาทำงานเพื่อหาโอกาสที่ดีกว่าให้กับตนเอง และครอบครัว การย้ายถิ่นของแรงงานพม่ามีทั้งการข้ามพรมแดนโดยเดินข้ามช่องทางสะพานมิตรภาพไทย-พม่า ข้ามทางท่าเรือตามจุดผ่านปรนต่างๆ และช่องทางตามริมฝั่งแม่น้ำเมย หลังจากนั้นแรงงานพม่าก็จะเข้ามาทำงานอยู่ในสถานประกอบการต่างๆ ในเขตเทศบาลเมืองแม่สอด ที่มีความต้องการจ้างแรงงานพม่า การย้ายถิ่นของแรงงานพม่า ได้ส่งผลกระทบต่อชุมชนเทศบาลเมืองแม่สอด ทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ ก่อให้เกิดการขยายตัวทั้งในระดับประเทศ และระดับชุมชน เนื่องจากแรงงานพม่าเข้ามาตอบสนองความต้องการแรงงานจากการลงทุนที่เพิ่มมากขึ้น แรงงานพม่าเหล่านี้มีค่าแรงต่ำ ทำให้สามารถลดต้นทุนการผลิตลงได้ นอกจากนี้แรงงานพม่ายังอยู่ในฐานะผู้บริโภคสินค้าในชุมชน ซึ่งก่อให้เกิดสภาพคล่องตัวทางเศรษฐกิจในระดับชุมชนด้วย ส่วนผลกระทบด้านสังคม และวัฒนธรรม พบว่าในแง่ของที่พักอาศัยส่วนใหญ่นายจ้างเป็นผู้จัดที่พักอาศัยให้ในที่ทำงานมีลักษณะเป็นห้องแถว โดยอาศัยอยู่ร่วมกับเพื่อน และครอบครัวของตน และไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่พักของตนเอง ในแง่ความมั่นคง ปลอดภัย อาชญากรรมที่เกิดจากแรงงานพม่าส่วนใหญ่เป็นแรงงานผิดกฎหมาย ยากต่อการติดตามจับกุม ทำให้ผลการจับกุมน้อย ส่งผลให้คนไทยรู้สึกหวาดกลัวต่ออาชญากรรมที่เกิดจากแรงงานพม่า และต้องการให้มีการจับกุมแรงงานพม่าผิดกฎหมายเหล่านี้ ในแง่สาธารณสุข ทำให้เกิดปัญหาการแพร่ระบาดของโรคต่างๆ มากกว่าเดิม โดยเฉพาะโรคที่ไม่พบในประเทศไทยมาเป็นเวลานาน เมื่อแรงงานพม่าเจ็บป่วยก็จะใช้บริการรักษาจากโรงพยาบาล แต่เมื่อเทียบกับคนไทยแล้ว พบว่ายังมีจำนวนน้อยกว่าคนไทย แต่ก็ส่งผลกระทบต่องบประมาณรายรับ รายจ่ายของโรงพยาบาลที่มีอยู่อย่างจำกัดในแง่ศาสนา พบว่าส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ และมีการรวมตัวในการประกบพิธีกรรมทางศาสนา ในแง่ภาษา และอาหารพบว่า ยังคงสื่อสารกันด้วยภาษาพม่า และบริโภคอาหารที่ประกอบในแบบของพม่า ในแง่การปรับตัวพบว่าแรงงานพม่ามีการปรับตัวทางด้านภาษา คือมีการเรียนรู้ที่จะสื่อสารด้วยภาษาไทย รวมถึงเรียนรู้การใช้เทคโนโลยีต่างๆ ที่ทันสมัย เช่น โทรศัพท์มือถือ
Other Abstract: This research has the purpose to : 1) Study the causes and pattern of migration of the Burmese workers who came in to live and work in the Mae-Sot town municipality. 2) Study the impact of migration to the development of Mae-Sot municipality in terms of economic, social and cultural. The major cause of the migration of the Burmese workers is mainly economic with some political factors. Landlessness, low income and hardship are major economic reasons of migration. On the other hand, Thailand has better economical condition, higher income, higher wage, job opportunities for workers and their family. There are three major channels that workers use to come to Thailand; walking across the Thai-Myanmar Friendship bridge, taking a boat to cross the temporarily permitted area and crossing through illegal passes. Thereafter the Burmese workers came to work in the Mae-Sot municipality, hired by entrepreneurs who need Burmese laborers. Looking at the impact of this labor migration, Mae-sot economy boomed rapidly at both country and community levels. The Burmese workers come in to meet the labor demand caused by increasing investment. Businessmen can reduce the operation cost due to cheap labor. Besides, the Burmese workers increase the usage of consumer goods in the community, leading to better economical liquidity in Mae-Sot. Social and Cultural impacts can be seen in various aspects. Workers prefer to live with their friends and family or in dormitory provided by employers. Mae-Sot natives tend to feel insecure because of crimes committed by migrant workers although the latter are not the major criminal group. But because they are illegal immigrants. Local people want them to be arrested. In health care, a high rate of communicable deceases is found in Mae-Sot, linking to Burmese migrant workers. The migrants use Thai hospital health care services and put a burden on the hospital costs of care for in patients. Most workers who are Buddhists can continue to celebrate their religions ceremonies. They can also communicate to each other in Burmese language and eat Burmese food. However, migrants learn to adapt themselves to the new life through the learning of Thai language and the use of modern technology like mobile phone
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549
Degree Name: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พัฒนามนุษย์และสังคม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/53067
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.379
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2006.379
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
sumalee_sa_front.pdf1.39 MBAdobe PDFView/Open
sumalee_sa_ch1.pdf1.35 MBAdobe PDFView/Open
sumalee_sa_ch2.pdf2.7 MBAdobe PDFView/Open
sumalee_sa_ch3.pdf673.02 kBAdobe PDFView/Open
sumalee_sa_ch4.pdf3.02 MBAdobe PDFView/Open
sumalee_sa_ch5.pdf3.98 MBAdobe PDFView/Open
sumalee_sa_ch6.pdf2.3 MBAdobe PDFView/Open
sumalee_sa_back.pdf3.79 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.