Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/53105
Title: การเปรียบเทียบลักษณะการแจกแจงความถี่และค่าความสามารถจริง ที่ประมาณตามแบบดั้งเดิมกับแบบคุณลักษณะแฝง
Other Titles: A comparison of frequency disiributions of eatimated true ability values derived from the classical and the latent trait models
Authors: วิรัช วรรณรัตน์
Advisors: เยาวดี วิบูลย์ศรี
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: การแจกแจง (ทฤษฎีความน่าจะเป็น)
วิทยาศาสตร์ -- การทดสอบความสามารถ
การวัดผลทางการศึกษา
ทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบ
Distribution (Probability theory)
Science -- Testing
Educational tests and measurements
Item response theory
Issue Date: 2533
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อเปรียบเทียบลักษณะการแจกแจงของค่าความสามารถจริงและหาค่าความสัมพันธ์ของค่าความสามารถจริงที่ประมาณตามแบบดั้งเดิมโดยสมการเส้นตรงกับแบบคุณลักษณะแฝง 1 พารามิเตอร์ 2 พารามิเตอร์ 3 พารามิเตอร์ จากคะแนนสอบทั้งหมด คะแนนสอบที่ได้จากกลุ่มข้อสอบง่าย กลุ่มข้อสอบยาก กลุ่มผู้สอบที่มีความสามารถต่ำและกลุ่มผู้สอบที่มีความสามารถต่ำและกลุ่มผู้สอบที่มีความสามารถสูง ในรายวิชาวิทยาศาสตร์ระดับชั้นมัธยมปีที่ 3 จากตัวอย่างที่สุ่มมาจำนวน 1,850 คน ผลการศึกษาพบว่า ค่าที่อธิบายลักษณะการแจกแจงของค่าความสามารถจริงที่ประมาณจากแบบดั้งเดิมและแบบคุณลักษณะแฝงในแต่ละกลุ่มมีค่าไม่เท่ากัน แต่รูปลักษณะการแจกแจงของแบบดั้งเดิมคล้ายกับแบบ 1 พารามิเตอร์ แต่แตกต่างจากแบบ 2 และ 3 พารามิเตอร์ทุกลักษณะกลุ่มที่ศึกษา โดยแบบ 2 พารามิเตอร์ มีลักษณะการแจกแจงเป็นแบบปกติ กรณีกลุ่มคะแนนสอบทั้งหมดและกลุ่มความสามารถสูงแบบ 3 พารามิเตอร์ มีลักษณะการแจกแจงเป็นแบบปกติกรณีกลุ่มความสามารถสูง ค่าเฉลี่ยของค่าความสามารถจริงที่ประมาณจากแบบดั้งเดิมต่างจากแบบ 1 พารามิเตอร์ในทุกลักษณะกลุ่มต่างจากแบบ 2 พารามิเตอร์กรณีกลุ่มข้อสอบง่าย กลุ่มข้อสอบยาก และกลุ่มความสามารถต่ำและต่างจากแบบ 3 พารามิเตอร์ กรณีกลุ่มข้อสอบยาก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ค่าความแปรปรวนของค่าความสามารถจริงที่ประมาณจากแบบดั้งเดิมต่างจากแบบ 1 พารามิเตอร์ในทุกลักษณะกลุ่ม ต่างจากแบบ 2 พารามิเตอร์กรณีกลุ่มข้อสอบยากและกลุ่มความสามารถต่ำ และต่างจากแบบ 3 พารามิเตอร์กรณีกลุ่มข้อสอบยากอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ค่าความสัมพันธ์ของความสามารถจริงที่ประมาณจากแบบดั้งเดิมกับแบบคุณลักษณะแฝง 1 พารามิเตอร์ 2 พารามิเตอร์และ 3 พารามิเตอร์ มีความสัมพันธ์กันสูงในทางบวกทุกลักษณะกลุ่ม (p = .627 - .999)
Other Abstract: The purpose of this study was to compare the frequency distributions and to find the relationship of estimated true ability values derived from the Classical namely linear equation and the Latent Trait models: 1-parameter, 2-parameter and 3-parameter by the case of the total test score, the easy item test score, the difficult item test score, the low ability test score and the high ability test score. The score was derived from science test of 1,850 Mathayom 3 students selected by stratified random sampling. It was found that the characteristic distribution values of the true ability derived from the Classical and the Latent Trait models were unequal but the characteristic distribution shape of the Classical and 1-parameter was the same but the Classical was different from 2-parameter and 3-parameter in all case. The characteristic distribution shape of 2-parameter was normal distribution in the case of total test score and high ability test score but 3-parameter was normal distribution in the case of high ability test score only. The mean of true ability value derived from the Classical was different from the one derived from 1-parameter in all case, the one derived from 2-parameter in the case of easy item test score, difficult item test score and low ability test score, and the one derived from 3-parameter in the case of difficult item test score at .01 level. The variance of true ability value derived from the Classical was different from the one derived from 1-parameter in all case, the one derived from 2-parameter in the case of difficult item test score and low ability test score, and the one derived from 3-parameter in the case of difficult item test score at .01 level. The linear relationship among true ability value estimated by the Classical and the Latent trait models: 1-parameter, 2-parameter and 3-parameter were found positive highly significant in all case. (p = .627 - .999)
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2533
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: การวัดและประเมินผลการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/53105
ISBN: 9745775134
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Virach_wa_front.pdf2.03 MBAdobe PDFView/Open
Virach_wa_ch1.pdf2.38 MBAdobe PDFView/Open
Virach_wa_ch2.pdf2.92 MBAdobe PDFView/Open
Virach_wa_ch3.pdf2.29 MBAdobe PDFView/Open
Virach_wa_ch4.pdf7.9 MBAdobe PDFView/Open
Virach_wa_ch5.pdf4.4 MBAdobe PDFView/Open
Virach_wa_back.pdf2.63 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.