Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5323
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorรัตยา โตควณิชย์-
dc.contributor.authorเบญจมาภรณ์ เมฆรา-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์-
dc.coverage.spatialไทย (ภาคเหนือ)-
dc.coverage.spatialเชียงใหม่-
dc.date.accessioned2008-01-07T04:34:10Z-
dc.date.available2008-01-07T04:34:10Z-
dc.date.issued2543-
dc.identifier.isbn9741311192-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5323-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543en
dc.description.abstractศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง (1) รูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่กับลูก กับพฤติกรรมการซื้อสินค้าของเด็ก (2) รูปแบบความสัมพันธ์ของกลุ่มเพื่อนกับเด็ก กับพฤติกรรมการซื้อสินค้า และ (3) การเปิดรับโฆษณาทางโทรทัศน์ กับพฤติกรรมการซื้อสินค้าของเด็ก โดยใช้การวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่างเป็นเด็กวัย 9-12 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 จากโรงเรียนในเขตอำเภอเมืองที่อยู่ในสังกัดของ สำนักงานการประถมศึกษา และสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน จังหวัดเชียงใหม่จำนวน 400 คน ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่กับลูกสามารถแบ่งออกได้เป็น 7 แบบ ได้แก่ ความสัมพันธ์แบบเสมอภาค ความสัมพันธ์แบบเปิดโอกาส ความสัมพันธ์แบบปกป้องดูแล ความสัมพันธ์แบบละเลย ความสัมพันธ์แบบตำหนิติเตียน ความสัมพันธ์แบบเผด็จการ และความสัมพันธ์แบบเปรียบเทียบ รูปแบบความสัมพันธ์ที่มีความสัมพันธ์เชิงบวก กับพฤติกรรมการซื้อสินค้าของเด็ก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ ความสัมพันธ์แบบเสมอภาค ความสัมพันธ์แบบเปิดโอกาส ความสัมพันธ์แบบปกป้องดูแล และความสัมพันธ์แบบละเลย รูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มเพื่อนกับเด็ก สามารถแบ่งออกเป็น 6 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มเด็กกิจกรรม กลุ่มเด็กเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ กลุ่มเด็กติดเพื่อน กลุ่มเด็กอ่อนไหว กลุ่มเด็กสันโดษ และกลุ่มเด็กขาดความมั่นใจ โดยกลุ่มเด็กกิจกรรม กลุ่มเด็กเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ กลุ่มเด็กติดเพื่อน และกลุ่มเด็กละเอียดอ่อนมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับพฤติกรรมการซื้อสินค้าของเด็ก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ การเปิดรับโฆษณาทางโทรทัศน์มีความสัมพันธ์กับ พฤติกรรมการซื้อสินค้าของเด็ก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติen
dc.description.abstractalternativeTo study the relationship of: (1) parent-child relationship to children purchasing behavior, (2) friendship to children purchasing behavior, and (3) TV commercial exposure to children purchasing behavior. Questionnaires were used to collect data from 400 school children aged 9-12 years old in Chiangmai. Frequency, percentage, means, factor analysis and Pearson's product moment correlation coefficients were the statistics applied to analyze the data. The results showed that the parent-child relationships were divided into 7 groups: democratic, fair, over protect, neglect, blame, dictator, and compare. The first four groups had significant and positive relationship with children purchasing behavior. Friendship was divided into 6 groups: activity, generous, attach to friend, sensitive, solitude, and lack of confidence group. The activity, generous, attach to friend, and sensitive groups had significant and positive relationship with children purchasing behavior. Finally, significant and positive relationship between TV commercial exposure and children purchasing behavior was found.en
dc.format.extent1519491 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2000.337-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectสังคมประกิตen
dc.subjectจิตวิทยาพัฒนาการen
dc.subjectจิตวิทยาเด็กen
dc.subjectพฤติกรรมผู้บริโภคen
dc.subjectการเปิดรับสื่อมวลชนen
dc.titleกระบวนการสังคมกรณ์ของผู้บริโภคกับพฤติกรรมการซื้อสินค้าของเด็กในจังหวัดเชียงใหม่en
dc.title.alternativeConsumer socialization and purchasing behavior of children in chiangmaien
dc.typeThesises
dc.degree.nameนิเทศศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineการโฆษณาes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorRataya.t@chula.a.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2000.337-
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Benjamaporn.pdf1.48 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.