Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/53248
Title: เส้นเขตชั้นหินอายุเพอร์เมียน-ไทรแอสซิกและศิลาวรรณนาของหินคาร์บอเนต บริเวณดอยผากิ่ง อำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง
Other Titles: Permian-Triassic boundary and its carbonate petrography at Doi Pha King, Amphoe ChaeHom, Changwat Lampang
Authors: ชญานี วงศ์พิพัฒน์
Advisors: ฐาสิณีย์ เจริญฐิติรัตน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: thasineec@gmail.com
Subjects: หินคาร์บอเนต -- ไทย -- ลำปาง
ศิลาวิทยา -- ไทย -- ลำปาง
Carbonate rocks -- Thailand -- Lampang
Petrology -- Thailand -- Lampang
Issue Date: 2558
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาศิลาวรรณนา ซากดึกดำบรรพ์ สภาพแวดล้อมการสะสมตัวใน อดีต จากนั้นนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์และเทียบสัมพันธ์เพื่อหาศักยภาพของเส้นเขตชั้นหินอายุเพอร์เมียน- ไทรแอสซิกบริเวณดอยผากิ่ง อำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง โดยการศึกษาได้ดำเนินการเก็บข้อมูลและตัวอย่างหิน โผล่ในพื้นที่ทั้งหมด 32 จุดศึกษา เก็บตัวอย่างจำนวน 42 ตัวอย่าง จากการออกภาคสนามพบหินปูนสลับกับหิน โดโลไมต์ มีการวางตัวในแนวตะวันออกเฉียงเหนือตะวันตกเฉียงใต้ และทิศของการเอียงเทไปทางทิศตะวันตกเฉียง เหนือ พบแนวฟันในหิน (stylolite) ชัดเจน งานวิจัยนี้นำตัวอย่างหินทั้งหมดมาทำแผ่นหินบาง และศึกษาภายใต้กล้องจุลทรรรศน์พบว่าสามารถ จำแนกหินคาร์บอเนตจากพื้นที่ศึกษาได้ 5 ชนิดคือ มัดสโตน แวคสโตน แพคสโตน เกรนสโตน และโดโลสโตน ที่มี ตะกอนเป็นเนื้อพิซอยด์ อูอิด เพลลอยด์ พบซากดึกดำบรรพ์จำพวกฟอแรมินิเฟอรา เศษเปลือกหอย ไครนอยด์ และหอยฝาเดียว อีกทั้งยังพบว่าตัวอย่างแสดงการเปลี่ยนลักษณะการตกผลึกใหม่ของกลุ่มแร่แคลไซต์ และการถูก แทนที่ด้วยโดโลไมต์ จากการศึกษาศิลาวรรณนาของหินคาร์บอเนตบริเวณพื้นที่ศึกษาพบว่าการสะสมตัวของตะกอนอยู่ในเขต ทะเลตื้นในช่วงน้าขึ้นน้าลง (intertidal zone) ซึ่งบางบริเวณมีความเข้มข้นของคาร์บอเนตสูง และจากการศึกษา ซากดึกดาบรรพ์พบฟอแรมินิเฟอรา Glomospirella และ Postcladella ที่บ่งบอกอายุไทรแอสซิกตอนต้น ซึ่งบ่ง บอกศักยภาพในการหาเส้นเขตชั้นหินอายุเพอร์เมียน-ไทรแอสซิกในอนาคต หากมีการสำรวจและศึกษา รายละเอียดของลำดับชั้นหินที่วางตัวอยู่ด้านล่างของชั้นหินในพื้นที่ศึกษา
Other Abstract: The aim of this work is to study on petrography, fossils and paleoenvironment of carbonate exposured to demonstrate the Permian-Triassic boundary by evaluate the relative age and depositional environment at Doi Pha King, Amphoe Chae Hom, Changwat Lampang. The 42 thin sections from 32 samples have been determined the sedimentary rocks consist of limestone and dolomite with significantly stylolite. The strike of bedding plane is in NW-SW and dipping to north. The result from this study shows that there are various carbonate rock types including mudstone, wackestone, packstone, grainstone and dolostone with pisoids, ooids, peloids and bioclastic grains that are composed of foraminiferas, shell fragments, crinoids and gastropods. Based on carbonate petrography, these carbonate types are generally formed in intertidal environments. Foraminifera found in this study consist of Glomospirella and Postcladella. They indicate Early Triassic that means this study area have a potential to study Permian-Triassic boundary in the future if researched more on the lower strata of the study area.
Description: โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต ภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2558
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/53248
Type: Senior Project
Appears in Collections:Sci - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5532708923.pdf5.11 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.