Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/534
Title: | การพัฒนารูปแบบการพัฒนาครูในการจัดทำสาระหลักสูตร กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา |
Other Titles: | The development of a teacher development model in constructing curriculum content of health and physical education area of learning |
Authors: | วาสนา คุณาอภิสิทธิ์ |
Advisors: | รัชนี ขวัญบุญจัน สุวัฒนา สุวรรณเขตนิคม |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Advisor's Email: | Suwatana.S@Chula.ac.th |
Subjects: | การวางแผนหลักสูตร ครู--การฝึกอบรม สุขศึกษา--หลักสูตร พลศึกษา--หลักสูตร |
Issue Date: | 2547 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | พัฒนารูปแบบการพัฒนาครูและพัฒนารูปแบบการจัดทำสาระหลักสูตร กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 กลุ่มตัวอย่างได้มาแบบเจาะจงเลือกเป็นครูสอนสุขศึกษาและครูผู้สอนพลศึกษา ตั้งแต่ระดับชั้น ป.1-ม.6 จำนวน 65 คน จากกรุงเทพมหานครและจังหวัดเพชรบุรี โดยแบ่งออกเป็นกลุ่มควบคุม 4 โรงเรียน ประกอบด้วยโรงเรียนราชวินิต โรงเรียนอนุบาลเพชรบุรี โรงเรียนสายน้ำผึ้งและโรงเรียนเบญจมเทพอุทิศ กลุ่มทดลอง 4 โรงเรียนประกอบด้วย โรงเรียนพญาไท โรงเรียนวัดดอนไก่เตี้ย โรงเรียนบดินทรเดชา 1 และโรงเรียนพรหมาณุสรณ์ ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล 3 ช่วง ช่วงที่ 1 การอบรมเชิงปฏิบัติการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานโรงเรียนละ 3 วัน ด้วยการใช้รูปแบบการจัดทำสาระหลักสูตรที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น 5 ใบงาน 8 ขั้นตอน ช่วงที่ 2 การนิเทศติดตามผลหลังการอบรมเพื่อให้คำปรึกษาแนะนำ และประเมินพฤติกรรมการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอน ช่วงที่ 3 การประชุมสัมมนาสรุปผล และประเมินผลเจตคติของครูผู้สอนเกี่ยวกับรูปแบบการพัฒนาครู เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลมี 8 รายการ โดยที่ 7 รายการเป็นเครื่องมือที่ผู้วิจัยสร้างเอง ส่วนรายการที่ 8 เป็นเครื่องมือที่ใช้วิเคราะห์สาระหลักสูตรของกองวิจัย กรมวิชาการเครื่องมือ 7 รายการได้ผ่านการพิจารณาความตรงจากผู้เชี่ยวชาญ 6 คน โดยมิได้แก้ไข ความเที่ยงของเครื่องมือมีดังนี้ รายการที่ 1) และ 2) รูปแบบการจัดทำสาระหลักสูตร (9 ใบงาน 8 ขั้นตอน) ทดลองใช้กับครูผู้สอนโรงเรียนสันติราษฎร์วิทยาลัยและโรงเรียนเกษมพิทยา แล้วนำมาปรับป็นเครื่องมือรายการที่ 2 (5 ใบงาน 8 ขั้นตอน) 3) แบบประเมินความรู้ = .86 4) แบบประเมินความสามารถ = .98 5) แบบประเมินเจตคติ = .99 6) แบบบันทึกการสังเกตพฤติกรรมครู = .88 7) แบบประเมินเจตคติเกี่ยวกับรูปแบบการพัฒนาครู = .96 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วมสองทางแและทางเดียว การวิเคราะห์ค่าทีและเทดสอบความมีนัยสำคัญทางที่สถิติที่ระดับ .01 และ .05 ผลการวิจัยพบว่า 1. รูปแบบการจัดทำสาระหลักสูตร 5 ใบงาน 8 ขั้นตอน ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นมีประสิทธิผลต่อการพัฒนาครูผู้สอนสุขศึกษาและพลศึกษา ในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา ทั้งในกรุงเทพมหานครและจังหวัดเพชรบุรี ให้มีความรู้ความสามารถและเจตคติดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และทำให้ได้สาระหลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ของทุกโรงเรียนที่มีคุณภาพอยู่ในระดับดี 2. รูปแบบการพัฒนาครูในการจัดทำสาระหลักสูตร กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ซึ่งประกอบด้วย โปรแกรม 3 ช่วง คือ ช่วงที่ 1 การอบรมครูแบบใช้โรงเรียนเป็นฐาน โรงเรียนละ 3 วัน เพื่อการจัดทำสาระหลักสูตร ช่วงที่ 2 การนิเทศติดตามผลการหลักกัลยาณมิตรและการประเมินพฤติกรรมการจัดการเรียนรู้ของครู ช่วงที่ 3 การประชุมสัมมนา สรุปผล และการประเมินเจตคติเกี่ยวกับรูปแบบการพัฒนาครูในการจัดทำสาระหลักสูตรตามหลักกัลยาณมิตรและทฤษฎีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม มีประสิทธิผลที่เหมาะสมกับการนำไปใช้พัฒนาครูในสภาวการณ์ปัจจุบัน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสำนักงานการศึกษาขั้นพื้นฐานควรได้นำไปใช้พัฒนาครูต่อไป |
Other Abstract: | To develop a Teacher Development Model (TDM) and a constructing curriculum content model in Health and Physical Education Area of Learning (HPEAL) based on the Basic Education Curriculum 2001. The experimental design or the Teacher Development Model (TDM) was divided into 3 phases. The first was a 3-day workshop for constructing curriculum content using five worksheets -- 8 stages or the Constructing Curriculum Content Model (CCCM). The second phase was supervising, and evaluating teacher behaviors in classroom teaching and learning management. The last phase was a seminar and evaluation of teacher affective on TDM. Sixty-five purposive sampling subjects were teachers from Bangkok and Petchaburi Province. The seven research instruments used were designed by the researcher and another by Research Division of Academic Department, Ministry of Education. The data were analyzed into mean, standard deviation, two-way and one way ANCOVA, t-test and statistically determined the significant differences at the .01 and .05 levels. The major results revealed that 1) Based on results from the process of CCCM, teacher effectiveness pertaining to knowledge (K), performance (P), and affective (A) increased at the significant levels of .01 and .05 after a 3-day workshop using school-based training, and curriculum contents which were found to be of high quality, of all the schools. 2) Based on results from the process in 3 phases of TDM, teacher effectiveness in the first phase, increased at the significant levels of .01 and .05; in the second phase -- one semester supervision affected teacher behaviors effectiveness in classroom teaching and learning management at good and excellent levels; and in the last phase, teacher affective on TDM after one day seminar was at a high level |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547 |
Degree Name: | ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาเอก |
Degree Discipline: | พลศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/534 |
URI: | http://doi.org/ 10.14457/CU.the.2004.913 |
ISBN: | 9741766955 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2004.913 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
WasanaKu.pdf | 1.85 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.