Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/53472
Title: การเคลื่อนที่ของสารละลายเกลือในเขตไม่อิ่มตัวด้วยน้ำในอำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร
Other Titles: Salt solution movement in unsaturated zone in Amphoe Wanon Niwat, Changwat Sakon Nakhon
Authors: จิรายุ แก่นจันทร์
Email: ไม่มีข้อมูล
Advisors: ศรีเลิศ โชติพันธรัตน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: lertc77@yahoo.com
Subjects: ดินเค็ม
ดินเค็ม -- ไทย
ดินเค็ม -- ไทย -- สกลนคร
ดินเค็ม -- ไทย -- วานรนิวาส (สกลนคร)
Soils, Salts in
Soils, Salts in -- Thailand
Soils, Salts in -- Thailand -- Sakon Nakhon
Soils, Salts in -- Thailand -- Wanon Niwat (Sakon Nakhon)
Issue Date: 2557
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ปัญหาดินเค็มนั้น เกิดจากหลายปัจจัยโดยกระบวนการหนึ่งที่ทำให้เกิด คือการเคลื่อนที่ของ สารละลายเกลือในเขตไม่อิ่มตัวด้วยน้ำ ซึ่งพบได้มากในพื้นที่บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือของ ประเทศไทย ทำให้ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และภาคการเกษตร จึงได้ทำการศึกษากระบวนการ เคลื่อนที่ของสารละลายเกลือในเขตไม่อิ่มตัวด้วยน้ำ ในห้องปฏิบัติการ โดยใช้แท่งดิน โดยการทดลอง นี้จะควบคุมค่าความเค็มของสารละลายเกลือเท่ากับ 180 มิลลิซีเมนต์ต่อเซนติเมตร การทดลองนี้ใช้ ตัวอย่างดินในบริเวณตำบลนาคำ อำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร โดยเป็นดินร่วนปนทรายแป้ง และทำการบรรจุตัวอย่างดินลงในแท่งดินขนาดความยาว 4 ขนาดด้วยกัน คือ 0.5, 1.0, 1.5 และ 2.0 เมตร ตั้งไว้ในอ่างสารละลายเกลือ แล้วทำการทดลองเป็นระยะเวลา 1, 3, 7, 14, 28, 56 และ 77 วัน ผลการศึกษาพบว่า ค่าความชื้น และค่าความเค็มมีค่าลดลงตามระยะทางและจำนวนวันที่ใช้ ในการทดลอง โดยเกิดจากแรงดึงน้ำ ในดินมีค่าลดลง ค่าความชื้น โดยปริมาตรของดินที่ใช้ในการ ทดลอง มีค่าในช่วง 0.003 - 0.503 ลูกบาศก์เซนติเมตรต่อลูกบาศก์เซนติเมตร ค่าความเค็มที่ได้จาก การทดลอง มีค่าในช่วง 0.486 - 185.25 มิลลิซีเมนต์ต่อเซนติเมตร และค่าความเร็วการไหลของ สารละลายเกลือในแท่งดินนั้น มีค่ามากที่สุดในบริเวณปลายท่อที่จุ่มในอ่างสารละลายเกลือของแท่ง ดินที่ใช้ระยะเวลาน้อยที่สุด โดยมีค่า 25.158 เซนติเมตรต่อวัน โดยความเร็วการไหลจะมีค่าลดลงตาม ระยะทางและจำนวนวันที่ใช้ในการทดลอง โดยมีปัจจัยมาจากค่าความชื้นในดินที่ทาให้ช่องว่างในดิน มีปริมาณของน้ำ สูงขึ้น ทำให้สารละลายเคลื่อนที่ไปได้น้อยลง
Other Abstract: The salinity problem in soils is due to several causes. One of the causes is that salt solution move upward in unsaturated zone, which is found in Northeast of Thailand. It causes negative impacts onto environment and agricultures. This research is the study of salt solution movement in unsaturated columns with various lengths. The experiment has been used soil columns and salt solution with concentration of 180 mS/cm. Soil sample was collectedfrom Amphoe Wanon Niwat, Changwat Sakon Nakhon. Soil sample, classified by sieve and pipette analysis, is silt loam. Soil sample was packed into soil column with the length of 4 different lengths of 0.5, 1.0, 1.5 and 2.0 meters. Water content and soil salinity were periodically measured at 1, 3, 7, 14, 28, 56 and 77 days. Moisture content and electrical conductivity were decreased with the distance when soil water tension is reduced. The volumetric water content of soil in this experiment varied from 0.003 to 0.503 cm3/cm3 and the electrical conductivity varied from 0.486 to 185.25 mS/cm. The maximum velocity was 25.16 cm/day in the shortest soil column (50 cm.) and velocity of salt solution flows in soil columns decrease as increasing distance of salty movement.
Description: โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต ภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2557
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/53472
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2014.1410
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2014.1410
Type: Senior Project
Appears in Collections:Sci - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5432705923 _JIRAYU KANDJAN.pdf4.99 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.