Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/53571
Title: ระบบวิธีคำนวณพื้นที่-เวลา-ความยาวรอยเลื่อน ตามแนวระบบรอยเลื่อนตามแนวระดับ ชายแดนประเทศไทย-พม่า
Other Titles: Region-Time-Length Algorithm along the Strike-slip Fault System, Thailand-Myanmar Border
Authors: ภูริณัฐ พิพัฒนเจริญกุล
Email: ไม่มีข้อมูล
Advisors: สันติ ภัยหลบลี้
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: Pailoplee.S@hotmail.com
Subjects: เขตรอยเลื่อน
เขตรอยเลื่อน -- ไทย
เขตรอยเลื่อน -- พม่า
พยากรณ์แผ่นดินไหว
พยากรณ์แผ่นดินไหว -- ไทย
พยากรณ์แผ่นดินไหว -- พม่า
Fault zones
Fault zones -- Thailand
Fault zones -- Burma
Earthquake prediction
Earthquake prediction -- Thailand
Earthquake prediction -- Burma
Issue Date: 2557
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษานี้มีจุดมุ่งหมายในประเมินพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดแผ่นดินไหวในอนาคต ตาม ระบบรอยเลื่อนตามแนวระดับ บริเวณชายแดนประเทศไทย-พม่า โดยวิธีคำนวณพื้นที่-เวลา-ความ ยาวรอยเลื่อน ในการศึกษานี้จะใช้ข้อมูลแผ่นดินไหวจากฐานข้อมูลแผ่นดินไหว 3 ชนิด ได้แก่ Incorporated Research Institutions for Seismology (IRIS), The Global Centroid Moment Tensor (CMT) และกรมอุตุนิยมวิทยา (TMD) ซึ่งข้อมูลจะอยู่ในช่วงปี ค.ศ.1964-2015 ซึ่งหลังจาก ปรับปรุงคุณภาพฐานข้อมูลแผ่นดินไหว พบว่ามีข้อมูลแผ่นดินไหวทั้งสิ้น1,706 เหตุการณ์และมี ขนาดแผ่นดินไหวโมเมนต์ตั้งแต่ 4.8 ริกเตอร์ขึ้นไป ที่มีความสมบูรณ์และสื่อถึงพฤติกรรมทางธรณี สัณฐานอย่างแท้จริง และทำการคัดเลือกเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่มีขนาด 6.0 ริกเตอร์ขึ้นไป มาเป็น กรณีศึกษาจำนวน 14 เหตุการณ์ แล้วทำการทดสอบย้อนกลับเพื่อหาค่าตัวแปรอิสระต่างๆที่ เหมาะสมกับพื้นที่ศึกษาเมื่อได้เงื่อนไขที่เหมาะสมแล้ว จึงนำมาคำนวณกับฐานข้อมูลแผ่นดินไหว ที่มีการบันทึกไว้จนถึงปัจจุบัน เพื่อสร้างแผนที่แสดงการกระจายตัวของค่าความผิดปกติของภาวะ เงียบสงบของพื้นที่ศึกษา พบว่าบริเวณที่มีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดแผ่นดินไหวในอนาคตมี 2 บริเวณคือ ทางตอนเหนือซึ่งครอบคลมุ พื้นที่รอยเลื่อนพานหลวงและรอยเลื่อนเมย-ตองยี และทาง ตอนใต้ซึ่งครอบคลุมพื้นที่รอยเลื่อนทะวาย รอยเลื่อนเจดีย์สามองค์ และรอยเลื่อนศรีสวัสดิ์
Other Abstract: In this study, the prospective areas of the upcoming moderate-to-large earthquake were evaluated along the Strike-slip Fault System, Thailand-Myanmar Border. In order to investigate the precursory seismic quiescence of earthquake, a statistical method, called the Region-Time-Length (RTL) algorithm were used in this study. The main dataset are the completeness earthquake catalogue occupied by 3 data sources, i.e., i) Incorporated Research Institutions for Seismology (IRIS), ii) The Global Centroid Moment Tensor (CMT) and iii) Thai Meteorological Department (TMD). After improving the earthquake catalogue, i.e., homogenizing the earthquake magnitude, earthquake declustering of foreshock and aftershock, including eliminating the man-made seismicity, 1,706 events with MW>4.8 reported during 1964-2015 were defined as the completeness data meaningful for any seismicity investigation. Then, 14 available events of the MW>4.8 earthquakes were considered for the retrospective test. After the retrospective test, it is found that r0 = 170 km and t0 = 3.5 years are appropriate characteristic parameter for the Strike-slip Fault System. As a result, this study gives me a Seismic quiescence map of study area. It shows that there are 2 prospective areas might be risk for the upcoming moderate-large earthquakes are the Northern part and Southern part of the Strike-slip Fault System, Thailand-Myanmar Border.
Description: โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต ภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2557
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/53571
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2014.1422
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2014.1422
Type: Senior Project
Appears in Collections:Sci - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5432729023_ภูริณัฐ พิพัฒนเจริญกุล.pdf1.46 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.