Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5360
Title: ผลของซีเมนต์ต่อความต้านทานการแตกหักของครอบฟันโลหะเคลือบพอร์ซเลนที่มีขอบแตกต่างกัน
Other Titles: Fracture resistance of metal-ceramic crowns : effect of cements and margin designs
Authors: สุกีรติ คุปตภากร
Advisors: กาญจนา กาญจนทวีวัฒน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: KKanchan@chula.ac.th
Subjects: พอร์ซเลนทางทันตกรรม
ครอบฟันเซรามิก
Issue Date: 2542
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การทำครอบฟันโลหะเคลือบพอร์ซเลน เป็นวิธีบูรณะที่ได้รับความนิยมวิธีหนึ่ง เนื่องจากได้ทั้งความแข็งแรงจากโครงโลหะภายในและความสวยงามจากพอร์ซเลนที่อยู่ภายนอก การทำครอบฟันขอบโลหะจะทำให้เห็นเส้นสีดำของโลหะบริเวณคอฟัน ดังนั้นในบริเวณที่ต้องการความสวยงามจึงควรทำครอบฟันขอบพอร์ซเลน แต่ก็ยังไม่สามารถแก้ปัญหาความขุ่นทึบบริเวณคอฟันเนื่องจากแสงไม่สามารถส่องผ่านไปยังเนื้อเยื่อรอบๆ ได้ การทำครอบฟันขอบพอร์ซเลนที่ร่นโครงโลหะด้านหน้าขึ้นไป จะช่วยแก้ปัญหานี้ได้ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความต้านทานต่อการแตกหักของครอบฟันโลหะเคลือบพอร์ซเลนที่มีของทางด้านหน้าแตกต่างกัน 3 แบบ คือชนิดขอบโลหะ ชนิดขอบพอร์ซเลน และชนิดขอบพอร์ซเลนที่ร่นโครงโลหะขึ้นไป 1 ม.ม. เพื่อให้มีการสะท้อนของแสงบริเวณนี้ได้ดีขึ้น และเพื่อศึกษาถึงอิทธิพลของซีเมนต์ชนิดต่างๆ คือ ซิงค์ฟอสเฟตซีเมนต์ พอลิคาร์บอกซิเลตซีเมนต์กลาสไอโอโนเมอร์ซีเมนต์ และเรซินซีเมนต์ ต่อความต้านทานการแตกหักของครอบฟันทั้ง 3 แบบ ทำการทดสอบโดย ใช้ฟันกรามน้อยบน ที่ไม่มีรอยผุ รอยอุด หรือพยาธิสภาพใดๆ และเก็บรักษาไว้ในสารละลายน้ำเกลือที่อุณหภูมิ 10 องศาเซลเซียสจนกระทั่งถึงเวลาทดลองจำนวน 120 ซี่ แบ่งออกเป็น 3 ส่วน ส่วนละ 40 ซี่ เพื่อทำครอบฟันโลหะเคลือบพอร์ซเลนที่มีขอบต่างกัน 3 แบบ โดยส่วนที่ 1 ทำเป็นครอบฟันขอบโลหะ ส่วนที่ 2 ทำเป็นครอบฟันขอบพอร์ซเลนที่มีโลหะรองรับ และส่วนที่ 3 เป็นครอบฟันขอบพอร์ซเลนที่ถูกร่นโครงโลหะขึ้นไป 1 ม.ม. จากนั้นแบ่งแต่ละส่วนเป็นกลุ่มย่อยๆ 4 กลุ่ม กลุ่มละ 10 ซี่ เพื่อนำมายึดด้วยซีเมนต์ 4 ชนิด คือ กลุ่ม 1ก 2ก และ 3ก ยึดด้วยซิงค์ฟอสเฟตซีเมนต์ กลุ่ม 1ข 2ข และ 3ข ยึดด้วยพอลิคาร์บอกซิเลตซีเมนต์ กลุ่ม 1ค 2ค และ 3ค ยึดด้วยกลาสไอโอโนเมอร์ซีเมนต์ ส่วนกลุ่ม 1ง 2ง และ 3ง ยึดด้วยเรซินซีเมนต์ จากนั้นนำมาทดสอบความต้านทานต่อการแตกหัก ได้ค่าเฉลี่ยดังนี้ (X+-S.D., N.) กลุ่ม 1ก) 2180.29+-388.98 กลุ่ม 1ข) 2024.45+-27915 กลุ่ม 1ค) 2170.95+-451.97 กลุ่ม 1ง) 2305.38+-234.56 กลุ่ม 2ก) 1508.22+-225.87 กลุ่ม 2ข) 1860.24+-246.52 กลุ่ม 2ค) 2360.37+-262.94 กลุ่ม 2ง) 2310.43+-440.58 กลุ่ม 3ก) 1367.47+-345.29 กลุ่ม 3ข) 1275.15+-258.34 กลุ่ม 3ค) 1752.85+-248.14 กลุ่ม 3ง) 2120.17+-530.58 นำข้อมูลไปวิเคราะห์ โดยใช้สถิติวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทิศทางเดียว และการทดสอบแบบทูกี สรุปได้ดังนี้ ครอบฟันขอบโลหะมีความต้านทานการแตกหักที่สูงโดยไม่ขึ้นกับชนิดของซีเมนต์ แต่ครอบฟันขอบพอร์ซเลนและขอบพอร์ซเลนแบบร่นโครงโลหะ 1 ม.ม. จะมีค่าความต้านทานการแตกหักเปลี่ยนแปลงไปตามชนิดของซีเมนต์ คือ ทั้งกลาสไอโอโนเมอร์ซีเมนต์และเรซินซีเมนต์ทำให้ความต้านทานการแตกหักของครอบฟันขอบพอร์ซเลนเพิ่มขึ้นได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) แต่เรซินซีเมนต์เพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่สามารถทำให้ความต้านทานการแตกหักของครอบฟันขอบพอร์ซเลนแบบร่นโครงโลหะ 1 ม.ม. สูงขึ้นได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05)
Other Abstract: Porcelain-fused-to-metal restorations (PFMs) have been successfully used in dental practice for decades. Metal substructure provides strength while veneering porcelain gives an esthetic appearance. The metal margin may show a dark line at the cervical area. In an esthetic zone, margin made of porcelain is rocommended. This study was to evaluate the compressive strengths of PFM crowns having metal margin (MM), porcelain margin (PM) and reduced-metal porcelain margin (RM) cemented with different cements. One hundred and twenty extracted of noncarious upper premolar teeth were prepared as a crown preparation, having 90ํ shoulder, 6ํ taper, 1.50 mm. axial reduction and 2.00 occlusal reduction. Duplication of each crown were made and used to fabricated crowns having three margin designs: Part 1, MM; Part 2, PM; and Part 3, RM. Ni-Cr alloy (Heranium NA) was used to fabricate substructure and followed with porcelain application (VITA VMK95) according to their manufacturers' recommendations. Crowns were then cemented on their respective teeth under a constant load of 25 N. using Group a) zinc phosphate cement (ZC, Hy-Bond, Shofu); Group b) polycarboxylate cement (PC, Durelon, ESPE); Group c) glass ionomer cement (GI, Fuji Plus, GC); Group d)resin cement (RC, Super-Bond C&B, Sun Medical). There were 10 crowns/group. Specimens were tested on a universal testing instrument in a compression mode (crosshead speed of 0.5 mm./min.). ANOVA and Tukey's statistical analyses (p<0.05) were performed on a data. Mean compressive strengths (X+-SD, N) are; Part 1 Group 1a) 2180.29+-388.98; Group 1b) 2024.45+-279.15; Group 1c) 2170.95+-451.97; Group 1d) 2305.38+-234.56; Part 2 Group 2a) 1508.22+-225.87; Group 2b) 1860.24+-246.52; Group 2c) 2360.37+-262.94; Group 2d) 2310.43+-440.58; Part 3 Group 3a) 1367.47+-345.29; Group 3b) 1275.15+-258.34; Group 3c) 1752.85+-248.14; Group 3d) 2120.17+-530.58. There was no significant difference among metal margin (MM) cemented with all tested cements. Porcelain margin (PM and RM) cemented with ZC either on PC showed less resistance to fracture (p<0.05). This study indicates that RC and GI and recommended for cementing PM but only RC is recommended for cementing RM
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ทันตกรรมประดิษฐ์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5360
ISBN: 9745593222
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
sukeerati.pdf7.7 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.