Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/545
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอรชา ตุลานันท์-
dc.contributor.authorยุวรัตน์ จงใจรักษ์, 2522--
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2006-06-27T08:32:11Z-
dc.date.available2006-06-27T08:32:11Z-
dc.date.issued2547-
dc.identifier.isbn9745321567-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/545-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547en
dc.description.abstractศึกษาการมีส่วนร่วมของบ้าน โรงเรียนและชุมชน ในการจัดการศึกษาปฐมวัยในโรงเรียนรู้ปฏิรูปการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนใน 4 ด้านคือ ด้านการติดต่อสื่อสาร ด้านการเป็นผู้ประสานงานในการระดมทรัพยากร ด้านการอาสาสมัครเพื่อพัฒนาการศึกษา และด้านการเข้ามามีส่วนร่วมในการตัดสินใจของโรงเรียน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียนปฏิรูปการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน จำนวน 174 คน ครูอนุบาล 35 คน ผู้ปกครองเด็กวัยอนุบาล 105 คน ผู้นำชุมชน 8 คน และประชาชนในชุมชน 16 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามผู้บริหาร และแบบสัมภาษณ์ผู้บริหาร ครูอนุบาล ผู้ปกครองเด็กวัยอนุบาล ผู้นำชุมชน และประชาชนในชุมชน วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน พร้อมการบรรยายประกอบความเรียง ผลการวิจัยพบว่า 1) ด้านการติดต่อสื่อสาร ในการวางแผน โรงเรียนส่วนใหญ่มีการจัดทำนโยบาย การจัดตั้งบุคลากร ผู้รับผิดชอบ และมีการจัดสรรงบประมาณ ในวิธีการปฏิบัติสิ่งที่ทำเป็นประจำคือ การจัดทำป้ายประกาศข่าวสาร การประชุมผู้ปกครอง การจัดทำสมุดรายงานประจำตัวเด็ก และการมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีของครู 2) ด้านการเป็นผู้ประสานงานในการระดมทรัพยากร ในการวางแผน โรงเรียนส่วนใหญ่มีการจัดทำนโยบาย การจัดตั้งบุคลากรผู้รับผิดชอบ และมีการจัดสรรงบประมาณ ในวิธีการปฏิบัติสิ่งที่ทำเป็นประจำคือ การเข้าร่วมในกิจกรรมวันสำคัญต่างๆ ภายในชุมชน 3) ด้านการอาสาสมัครเพื่อพัฒนาการศึกษา ในการวางแผน โรงเรียนส่วนใหญ่ยังไม่มีการจัดทำนโยบาย การจัดตั้งบุคลากร และการจัดสรรงบประมาณ ในวิธีการปฏิบัติโรงเรียนส่วนใหญ่ มีการปฏิบัติอยู่ในระดับปฏิบัติบ้างไม่ปฏิบัติบ้าง และ 4) ด้านการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจของโรงเรียน ในการวางแผน โรงเรียนส่วนใหญ่มีการจัดทำนโยบาย การจัดตั้งบุคลากร ผู้รับผิดชอบและมีการจัดสรรงบประมาณ ในวิธีการปฏิบัติ โรงเรียนส่วนใหญ่มีการปฏิบัติอยู่ในระดับปฏิบัติบ้างไม่ปฏิบัติบ้าง ส่วนการประเมินผลของโรงเรียน พบว่าโรงเรียน ส่วนใหญ่มีการปฏิบัติอยู่ในระดับปฏิบัติบ้างไม่ปฏิบัติบ้างทั้ง 4 ด้าน ผลการวิจัยจากการสัมภาษณ์ตัวอย่างประชากรโรงเรียน 4 โรง พบว่า การมีส่วนร่วมระหว่างบ้าน โรงเรียนและชุมชนของโรงเรียนทั้ง 4 โรง มีความคล้ายคลึงกัน ในการสร้างความสัมพันธ์กับชุมชน แต่โรงเรียนที่มีขนาดใหญ่ที่ตั้งอยู่ในตัวเมือง จะมีความสัมพันธ์กับชุมชนในลักษณะเน้นตามแผนที่วางไว้ล่วงหน้า ส่วนโรงเรียนขนาดเล็กที่ตั้งอยู่ชานเมืองจะมีความสัมพันธ์กับชุมชนแบบวิถีธรรมชาติ แต่ขาดการวางแผนและการเสริมแรงจากปัจจัยภายนอกen
dc.description.abstractalternativeTo study four types of home, and community participation: Communication; Resource mobilization; Volunteer for educational development; and participation in school decision making, in early childhood education operation in the learning reform schools for developing quality of learners. The sample consisted of 174 administrators from the learning reform schools for developing quality of learners, 35 kindergarten teachers, 105 parents of young children, 8 community leaders and 16 people from the communities. The instruments used for gathering data were; a questionnaire for administrator; an interview form for administrator; an interview form for kindergarten teachers; an interview form for parent of young children; an interview form for community leaders, and an interview form for people from communities. The results of the study were as follewed: For communication, most school set a policy, assigned a responsible person, and set up the budget for it. They always had bulletin board, arranged school meeting with parents, had report card for students, and had friendly personal. For resource mobilization planning, most of schools had a policy, assigned a responsible person, and set up the budget of the activities. They also attended important community activities. For volunteer for educational development, most of the school did not had a policy, assigned a responsible person nor set a budget in this category. They sometime implemented activities in this categories, but not regularly. For participation in school' decision-making, most schools had policy, assigned a responsible person, and set up a budget in planning for these types of activity. Most schools irregularly performed activities in this category. In addition, most school sometime assess their performance in all types of participation. From the interviewed data of the sample from 4 schools: home, school, and community participation in these schools were similar in building relationship with the community. However the large schools, located in town, had a planned relationship with the community while the small schools, located out side of town, had a relationship that formed naturally, but lack of planing and outside reinforcement.en
dc.format.extent2479008 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothen
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2004.1493-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectโครงการโรงเรียนปฏิรูปการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนen
dc.subjectบ้านกับโรงเรียนen
dc.subjectชุมชนกับโรงเรียนen
dc.subjectการศึกษาปฐมวัยen
dc.titleการศึกษาการมีส่วนร่วมระหว่างบ้าน โรงเรียน และชุมชนในการจัดการศึกษาปฐมวัย ในโรงเรียนปฏิรูปการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนen
dc.title.alternativeA study of home, school, and community participation in early childhood education operation in the learning reform schools for developing quality of learnersen
dc.typeThesisen
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตen
dc.degree.levelปริญญาโทen
dc.degree.disciplineการศึกษาปฐมวัยen
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2004.1493-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Yuwarat.pdf6 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.