Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5460
Title: การพัฒนาต้นแบบในการลดความสูญเปล่า 7 ประการสำหรับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม : กรณีศึกษาโรงงานผลิตเครื่องสำอาง
Other Titles: Development of a prototype for the 7-waste reduction in an SME : a cosmetics factory case study
Authors: ยุทธศักดิ์ บุญศิริเอื้อเฟื้อ
Advisors: ประเสริฐ อัครประถมพงศ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Prasert.A@chula.ac.th
Subjects: การควบคุมความสูญเปล่า
การควบคุมกระบวนการผลิต
การบำรุงรักษาโรงงาน
Issue Date: 2546
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: พัฒนาต้นแบบการลดความสูญเปล่าและสร้างมาตรฐานควบคุมความสูญเปล่าทั้งเจ็ดประการ อันได้แก่ การผลิตที่มากเกินไป การรอคอย การขนส่ง กระบวนการที่ไม่เหมาะสม สินค้าคงคลังที่ไม่จำเป็น การเคลื่อนไหวที่ไม่เหมาะสมและ ข้อบกพร่องของสินค้า ให้สามารถนำไปใช้กับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมได้ โดยใช้กรณีศึกษาโรงงานผลิตเครื่องสำอาง การพัฒนาต้นแบบในการลดความสูญเปล่าทั้งเจ็ดประการ จะเริ่มจากการศึกษาองค์ประกอบหรือปัจจัยที่ก่อให้เกิดความสูญเปล่า ในกระบวนการบรรจุน้ำยาทาเล็บโรงงาน กรณีศึกษา โดยใช้แนวทางของ Process Activity Mapping วิเคราะห์เปรียบเทียบกับทฤษฎีความสูญเปล่าทั้งเจ็ดประการพร้อมหาขั้นตอน และใช้เทคนิควิศวกรรมอุตสาหการ การบริหารพัสดุคงคลังและเครื่องมือคุณภาพ เป็นเครื่องมือช่วยในการจัดการเพื่อลดความสูญเปล่า นำไปทดสอบและปรับปรุงขั้นตอน และระบบเอกสารที่นำมาช่วยลดความสูญเปล่า เพื่อพัฒนาและออกแบบระบบเอกสารให้สามารถนำไปใช้ได้กับ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และนำขั้นตอนที่ปรับปรุงแล้วไปให้กับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมอื่นอีกจำนวน 2 แห่ง ประเมินผลเพื่อนำข้อเสนอแนะการปรับปรุง มาพัฒนาต้นแบบให้มีขั้นตอนการลดความสูญเปล่า และวิธีการใช้แบบฟอร์มเพื่อความเหมาะสม สะดวก และง่ายต่อการนำไปใช้ กับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และจากการนำต้นแบบไปทดสอบกับโรงงานกรณีศึกษา สามารถลดความสูญเปล่าทั้งเจ็ดประการได้ประมาณ 2.74-40.29% ภายในระยะเวลา 4 เดือน และได้มีมาตรฐานของวัตถุดิบขวด แปรงและฝาน้ำยาทาเล็บ แผนการตรวจสอบวัตถุดิบ ขั้นตอนการผลิตน้ำยาทาเล็บ แผนคุณภาพระหว่างกระบวนการผลิต เส้นทางการเคลื่อนย้ายระหว่างกระบวนการผลิต รอบเวลาการผลิต และเวลารับภาระของแต่ละขั้นตอน วิธีการบรรจุกล่อง วิธีการเคลื่อนย้ายขวด และจุดสั่งผลิต และจำนวนจัดเก็บ เพื่อควบคุมความสูญเปล่าทั้งเจ็ดประการ
Other Abstract: To develop a prototype of the 7-waste reduction method and control this 7-waste: over-production, waiting, transportation, inappropriate process, excess inventory, extra motion, and defect for SME by using cosmetic factory as a case study factory. The development of the 7-waste reduction prototype starts from the study of the factors that cause the 7 wastes using Process Activity Mapping in nail coating operations of the case study factory by comparing with the 7-waste theory. Techniques, Inventory Management and Quality Tools are used as management tools to reduce the wastes. After that, the prototype is verified and validated for further improvement, finally the working standards are documented for the SME. The improved methodology is evaluated at the other 2 SMEs to find a suggestion for the prototype improvement on both the waste reduction process and documents used in term of suitability and convenience. From the evaluated result in case study factory within 4 months, it shows that the wastes are reduced 2.74-40.29%. To control 7-waste, the standard of raw material, raw material inspection method, nail coating procedure, in process quality plan, between process moving route, production cycle time and each process work load time, packing method, bottle-moving and re-order point and min-max stock are also developed in this thesis.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมอุตสาหการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5460
ISBN: 9741736746
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Yutthasak.pdf5.58 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.